ความเข้มแข็งของกลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านแหลมสันติ หมู่ที่ 5 ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : ชพ.63-นศ.-006
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 มีนาคม 2562 ถึง 31 มีนาคม 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : ความเข้มแข็งของกลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านแหลมสันติ หมู่ที่ 5 ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
บทคัดย่อ :

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงาน 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงาน 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็ง และ 4) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาของกลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อการผลิต บ้านแหลมสันติ หมู่ที่ 5 ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Method) การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 27 คน ทั้ง จากกลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อการผลิตและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อการผลิตมาจากการรวมตัวกันของสมาชิกในหมู่บ้านด้วยความสมัครใจ ซึ่งในด้านรูปแบบการดำเนินงานของกลุ่มมีคณะกรรมการมาจากการเลือกของสมาชิก และมีนายลบ เพชรโสม เข้ามามีส่วนร่วมในการก่อตั้งกลุ่ม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมพัฒนาชุมชนที่เข้ามาส่งเสริมให้ความรู้ และตรวจสอบ การดำเนินงานของกลุ่ม อีกทั้งสมาชิกยังสามารถตรวจสอบการดำเนินงานกลุ่มได้เอง สมาชิกและคณะกรรมการมีความซื่อสัตย์ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และมีคุณธรรม ซึ่งหลักทรัพย์ที่ใช้ในการค้าประกันของสมาชิกประกอบด้วย สมุดบัญชีฝาก เงินกลุ่มสัจจะและโฉนดที่ดิน ในด้านประสิทธิภาพการดำเนินงาน ผลการวิจัยพบว่าการดำเนินงานมีประสิทธิภาพเป็นที่ น่าพอใจ ซึ่งส่งผลให้มีจำนวนสมาชิก จำนวนเงิน จำนวนหุ้น จำนวนดอกเบี้ย และส่วนแบ่งสวัสดิการต่างๆเพิ่มขึ้น ใน ด้านของปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของกลุ่ม พบว่าการที่หน่วยงานภาครัฐเข้ามาส่งเสริมและสมาชิกมีส่วนร่วมใน กลุ่มด้วยความสมัครใจ ส่งผลให้การดำเนินงานของคณะกรรมการและกลุ่มมีความโปร่งใส ส่วนในด้านแนวทางการ พัฒนานั้น พบว่า กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ให้ชุมชนมีสว่นร่วมในการพัฒนา แก้ไขปัญหาทางการเงิน รับสมาชิกใหม่เพิ่ม รับ คณะกรรมการชุดใหม่เพิ่ม ทำให้กลุ่มเกิดความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

คำสำคัญ : ความเข้มแข็ง , การพัฒนา , การมีส่วนร่วม , กลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อการผลิต
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : The Strength of the Truth-Saving Group for Production at Ban Laem Santi, Village Mu 5, Lamae Sub-district, Lamae District, Chumphon Province
Abstract :

The objectives of this research were : Firstly, to study the operating model. Secondly, to study the effectiveness of group’s operation. Thirdly, to study factors that affects group strength. And lastly, to study the development guidelines of the Truth-Saving Group for Production, BanLaemSanti, Village mu 5, Lamae Sub-district, Lamae District, Chumphon Province. This research was a qualitative research and collected data by in-depth interviews of 27 people participated were from the Truth-Saving Group for Production and related government agencies. This research found that the Truth-Saving Group for Production originated from the voluntarily gathering of village members. The group's operating model had a committee selected by its members which Mr. Lob PetchSom was a founder of this group. The Community Development Department of Lamae Sub-district also helped promoting knowledge and inspect the operations of this group. Members also participated in the inspection which facilitated the group’s transparency, honestly and morality among its members and committees. Securities used as guarantees for each member involed a passbook (or Satcha Book) and a title deed. The result of the research, in terms of operational efficiency, showed that the operation was in satisfactory level and resulted in the increasing of members, amount of money, shares, interest rate and benefits. In terms of factors, that affect the strength of the group, it was found that the government agencies played a major role in creating group’s transparency. As for the development guidelines, it was found that the Truth-Saving Group for Production allowed communities to participate in many areas such as their development plan, financial aspect, member recruitment and board election. These participations by members played a crucial role in group strength.

Keyword : Strength, Development, Participation, Satcha Savings Group for Production
รูปแบบงานวิจัย : งานวิจัยเชิงคุณภาพ
ประเภทงานวิจัย : การวิจัยพื้นฐาน
สาขางานวิจัย : สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 จีรนันท์ พิกุลทอง
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
50 ไม่ระบุ
2 จุฑามาศ พรหมเรือง
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
50 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
1/10/2562 ถึง 30/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : ทุนส่วนตัว ส่วนตัวของผู้วิจัย
0.00
   รวมจำนวนเงิน : 0.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
4 กันยายน 2563
วารสารที่ตีพิมพ์ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
ฉบับที่ :
หน้า :
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร :
0.2
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023