การศึกษาปัญหาและแนวทางการจัดการขยะ กรณีศึกษา : การจัดการเปลือกทุเรียนในพื้นที่ตำบลวังตะกอ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : ชพ.63-นศ.-005
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 มีนาคม 2562 ถึง 31 มีนาคม 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การศึกษาปัญหาและแนวทางการจัดการขยะ กรณีศึกษา : การจัดการเปลือกทุเรียนในพื้นที่ตำบลวังตะกอ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
บทคัดย่อ :

งานวิจัยชิ้นนี้มีขึ้นเพื่อศึกษาสภาพปัญหาขยะเปลือกทุเรียน, เพื่อศึกษาผลกระทบจากขยะเปลือกทุเรียนที่มีต่อ ชุมชน และเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการขยะเปลือกทุเรียน ในพื้นที่ต าบลวังตะกอ อ าเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Method) มีการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 27 คน ประกอบไปด้วย ประชาชนในพื้นที่ ผู้ประกอบการ และหน่วยงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาวิจัยพบว่าสภาพปัญหาขยะเปลือกทุเรียนในพื้นที่ ยังคงสร้างปัญหาและผลกระทบต่อชุมชน สืบเนื่องมาจากเทศบาลตำบลวังตะกอมีงบประมาณที่ไม่เพียงพอต่อการบริหารจัดการในการแก้ไขปัญหาเรื่องขยะ เปลือกทุเรียนในพื้นที่ อีกทั้งคนในพื้นที่ไม่ให้ความร่วมมือในการแก้ไข ทำให้ปัญหาขยะเปลือกทุเรียนในพื้นที่ยังคงเป็น ปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ในส่วนของผลกระทบจากขยะเปลือกทุเรียนที่มีต่อชุมชน จากการศึกษาพบว่าผลกระทบมี หลายด้านไม่ว่าจะเป็นในด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม น้ำเสีย มลพิษทางอากาศ เกิดการเน่าเหม็น และยังเป็นบ่อเกิด ของพาหะนำโรค ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคนในชุมชนที่ทำการเกษตรโดยตรง ในขณะที่แนวทางการแก้ไขและ ข้อเสนอแนะของคนในชุมชนพบว่า ในพื้นที่ตำบลวังตะกอจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นคนใน ชุมชน ผู้ประกอบการ รวมไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งจะต้องประชุมกัน หารือเพื่อหาทางออกในการแก้ไขปัญหา ดังกล่าว เพื่อให้เกิดการจัดการขยะเปลือกทุเรียนได้อย่างยั่งยืน

คำสำคัญ : แผงทุเรียน (ล้ง) , การจัดการเปลือกทุเรียน , วังตะกอ ชุมพร
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Study of Problems and Guidelines for Organic Waste Management : A case Study of the Management of Durian Rubbish Waste in Wang Tako Subdistrict, Lang Suan District, Chumphon Province.
Abstract :

The objectives of this research were to study the problem of waste from durian peel and its impacts on the local community, and to study the solutions and suggestions regarding to this problems in the Wang Tako Sub-district, Lang Suan District, Chumphon Province. This research was a qualitative research using an in-depth interview method. There were 27 people provided information, including local people, entrepreneurs and government agencies. This research found that the Wang Tako Sub-district Municipality had an insufficient budget to solve the problem of durian peel waste in the area. Moreover, there were no cooperation among local people to solve the problem. As for the impact of durian peel waste on the community from the study, it was found that the impact had many aspects such as the deteriorate communities’ environment, water pollution, air pollution, rotten scent, and became a source of carriers for many diseases. It was directly affected the people in this farming community. In terms of solutions and suggestions, this research found that, in the area of Wang Tako Sub-district, cooperation from all parties was required. People in the community including entrepreneurs and relevant government agencies must work together to find a solution to the problem and to achieve a sustainable way of waste management.

Keyword : Durian panel, Management of Durian Rind, Wang Tako Chumphon
รูปแบบงานวิจัย : งานวิจัยเชิงคุณภาพ
ประเภทงานวิจัย : การวิจัยพื้นฐาน
สาขางานวิจัย : สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 วรรณวิศา นุ้ยเอียด
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
50 ไม่ระบุ
2 วิภาวี ศรีวัง
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
50 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
1/10/2562 ถึง 30/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : ทุนส่วนตัว ส่วนตัวของผู้วิจัย
0.00
   รวมจำนวนเงิน : 0.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
4 กันยายน 2563
วารสารที่ตีพิมพ์ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
ฉบับที่ :
หน้า :
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร :
0.2
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023