ศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ พนักงาน และข้าราชการในส่วนท้องถิ่น อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : ชพ.63-นศ.-004
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 สิงหาคม 2562 ถึง 31 มีนาคม 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : ศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ พนักงาน และข้าราชการในส่วนท้องถิ่น อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
บทคัดย่อ :

งานวิจัยชิ้นนี้มีขึ้น เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ และรวบรวมวิเคราะห์ ข้อเสนอแนะที่ส่งผลต่อ ปัจจัยในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ พนักงาน และข้าราชการในส่วนท้องถิ่น อำเภอละแม จังหวัด ชุมพร การวิจัยครั้งนี้เป็นเชิงปริมาณ พื้นที่ในการทำวิจัย คือ องค์การบริหารส่วนตำบลละแม ตำบล สวนแตง ตำบลทุ่งหลวง และตำบลทุ่งคาวัด ประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เจ้าหน้าที่ พนักงาน และข้าราชการที่ปฏิบัติงานในส่วนท้องถิ่น จำนวน 116 คน ใช้การสุ่มตัวอย่าง แบบง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม สถิติใช้ในการวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าเฉลี่ยสถิติด้วย (T-test) แบบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) โดยกำหนดในความสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 61) ช่วงอายุระหว่าง 31-40 ปี (ร้อยละ 63) มีสถานภาพสมรส (ร้อยละ 49) ระดับการศึกษาในระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 48) อยู่ในตำแหน่งข้าราชการ (ร้อยละ 48) มีรายได้เฉลี่ย ต่อเดือน 15,001-20,000 บาท (ร้อยละ 38) ผลจากการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่ พนักงาน และข้าราชการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย (??? = 3.89) โดยเรียงจาก ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในที่ทำงาน ด้านสวัสดิการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ในการปฏิบัติงาน ด้านผู้บังคับบัญชา และด้านความก้าวหน้าในงานเป็นอันดับสุดท้าย จากการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็น เป็นรายบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน รายได้เฉลี่ย ต่อเดือน มีความไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในส่วนของเพศ สถานภาพมี ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เจ้าหน้าที่ พนักงาน และข้าราชการมีความ ต้องการให้พัฒนาหรือปรับปรุงในด้านสิ่งอำนวยความสะดวก มีการพิจารณาในการเลื่อนตำแหน่งตาม ความเหมาะสม และเพิ่มสิทธิสวัสดิการในการรักษาพยาบาลให้มากขึ้น

คำสำคัญ : ปัจจัยที่ส่งผล , การปฏิบัติงาน , หน่วยงานส่วนท้องถิ่น
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : THE COMPARATIVE STUDY OF FACTORS IMPACTED TO WORKING PERFORMANCE OF STAFFS AND GOVERNMENT OFFICERSIN MUNICIPAL AREA OF LAMAEDISTRICT, CHUMPHON PROVINCE
Abstract :

This research aims to investigate, compare, and analyze suggestions impacting working performance factors of staffs and government officers in the municipal area of Lamae District, Chumphon Province. This research is Quantitative research which its data comes from Subdistrict Administration Organization of Lamae, SuanTaeng, Thungluang and Thung Kha Wat. 116 participants of staffs and government officers are selected as a population and sample under simple random sampling method, which questionnaires are used as a research tool. The research statistic consists of the distribution of frequency, percentage, mean, and standard deviation. At the same time, T-test and One-way ANOVA are used to examine statistical mean by determining the statistical significance level at .05. According to the study, the majority of participants are: female (61 %), aged between 31-40 years old (63 %), married (49 %), bachelor's degree (48 %), government official (48 %), and earned 15,001-20,000 baht (38 %). The results show that the factors impacting working performance of staffs and government officers are mostly in high level (??? = 3.89), respectively considering an aspect of interpersonal relation, welfare, facility in operation, commander, and advancement in work. In terms of comparison of individual suggestion, age, educational level, working position and monthly income are not significantly difference at level .05, on the other hand, sex and status are significantly different at level .05. The staffs and government officers require an improvement of facilities, proper consideration for promotion, and additional medical welfare.

Keyword : factor impacted, operation, local authority
รูปแบบงานวิจัย : งานวิจัยเชิงปริมาณ
ประเภทงานวิจัย : การวิจัยพื้นฐาน
สาขางานวิจัย : สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 นัฐณิชา โมกหอม
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : สาขาวิชารัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
50 ไม่ระบุ
2 สาธิดา อินทการ
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : สาขาวิชารัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
50 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
1/10/2562 ถึง 30/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : ทุนส่วนตัว ส่วนตัวของผู้วิจัย
0.00
   รวมจำนวนเงิน : 0.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
20 พฤษภาคม 2563
วารสารที่ตีพิมพ์ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
ฉบับที่ :
หน้า :
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร :
0.2
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023