ความคาดหวังของเกษตรกรชาวสวนปาล์มที่มีต่อนโยบายของรัฐ กรณีศึกษา ตำบลทุ่งหลวง อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : ชพ.63-นศ.-002
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 สิงหาคม 2562 ถึง 31 มีนาคม 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : ความคาดหวังของเกษตรกรชาวสวนปาล์มที่มีต่อนโยบายของรัฐ กรณีศึกษา ตำบลทุ่งหลวง อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
บทคัดย่อ :

วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาระดับความคาดหวังของเกษตรกรชาวสวนปาล์ม เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีความคาดหวังของเกษตรกรชาวสวนปาล์ม และเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของ ชาวเกษตรกรชาวสวนปาล์ม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดพื้นที่ คือ ในเขตพื้นที่ตำบลทุ่งหลวง อำเภอละแม จังหวัดชุมพร ซึ่งมีขอบเขตการปกครองทั้งหมด 9 หมู่บ้าน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ตัวแทนเกษตรกรชาวสวนปาล์มที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ตำบล ทุ่งหลวง กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้จำนวน 250 คน โดยสุ่มอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ใน การศึกษาแบบสอบถามครั้งนี้เป็นแบบสอบถามสถิติใช้ในการวิจัยได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าเฉลี่ยสถิติด้วย (T-test) แบบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) โดยกำหนดในความสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถาม มากกว่าครึ่งเป็นเพศหญิง (คิดเป็นร้อยละ 57) โดยมีช่วง อายุระหว่าง 30-39 ปีมีจำนวนมากที่สุด (คิดเป็นร้อยละ 32) ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส (คิดเป็น ร้อยละ 80) มีช่วงระดับการศึกษามากที่สุดอยู่ในระดับประถมศึกษา (คิดเป็นร้อยละ 33) รายได้เฉลี่ย ต่อเดือน 10,001-20,000 บาทเป็นช่วงระดับรายได้ที่มีจำนวนมากที่สุด (คิดเป็นร้อยละ 37) ผลจาก การศึกษาพบว่า ความคาดหวังของเกษตรกรชาวสวนปาล์มต่อนโยบายการช่วยเหลือเกษตรกร

ชาวสวนปาล์มของภาครัฐ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก(คิดเป็นค่าเฉลี่ย = 3.67) โดยเรียงจากด้านที่ มีค่ามากไปหาค่าน้อย คือ ด้านการช่วยเหลือ ด้านการรับประกัน ด้านการชดเชย และด้านการส่งเสริม เป็นอันดับสุดท้าย จากการเปรียบเทียบระดับความคาดหวัง เป็นรายบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับ การศึกษา รายได้ของครัวเรือนต่อเดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในส่วน ของเพศ สถานภาพ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะ เกษตรกร ชาวสวนปาล์มต้องการให้ภาครัฐจัดหาต้นกล้าพันธุ์ปาล์มที่มีคุณภาพ และควรออกมาตรการมา ควบคุมการนำเข้าปาล์มน้ำมัน ซึ่งทำให้เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันมีรายได้ที่มากขึ้น

คำสำคัญ : ความคาดหวัง , เกษตรกรชาวสวนปาล์ม , นโยบายรัฐ
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : EXPECTATIONS OF PALM FARMERS ON GOVERNMENT POLICY: A CASE STUDY OF THUNG LUANG SUBDISTRICT, LAMAE DISTRICT, CHUMPHON PROVINCE
Abstract :

The research shows the expectation levels to compare the factors that effect to the expectation and the suggestion of Palm tree’s farmer. The support from the government’s policy, this research emphasized to the quantitative from the specific areas such as Tungluang, Lamae, Chumporn. This research included 9 villages. The population in this case study is the representative of Palm tree’s farmer that live in that area. The number of the representative is approximately 250 persons. By use the simple sampling tool to use education as a query. The statistics used in research include the distribution of the average percentage of frequency, standard deviation, and the average statistical (T-test) of a single variance (Oneway ANOVA) in a statistical significance at a level of 0.05 A group of respondents, rather than half is a female (as 57 percent), by the age between 30-39 years (as 32 percent), most of which the marital status (as 80 percent) has the most educational range in elementary (as 33 percent). Average revenue per month 10001-20000 baht is the largest revenue level range (as Percentage 37). The outcome of the study showed the expectations of Palm garden farmers in the government's Palm garden assistance policy. In a large scale (think of the average = 3.67), in descending order of the value of a low-value side, the insurance and compensation support. The final promotion of the comparison of individual expectations is that the age level of the household income of households is significantly different in statistical levels .05 In Health sex areas No significant difference in statistical level. Palm Farm recommendations require the government to supply a quality palm tree.

Keyword : expectation, Palm tree’s farmer, government policy
รูปแบบงานวิจัย : งานวิจัยเชิงปริมาณ
ประเภทงานวิจัย : การวิจัยพื้นฐาน
สาขางานวิจัย : สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 วรชาติ วังมี
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : สาขาวิชารัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
50 ไม่ระบุ
2 ภาณุพงศ์ จันทร์เพ็ญ
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : สาขาวิชารัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
50 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
1/10/2562 ถึง 30/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : ทุนส่วนตัว ส่วนตัวของผู้วิจัย
0.00
   รวมจำนวนเงิน : 0.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
20 พฤษภาคม 2563
วารสารที่ตีพิมพ์ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
ฉบับที่ :
หน้า :
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร :
0.2
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023