การเสริมสร้างบทบาทแนวใหม่ สำหรับสัปเหร่อในเขตอำเภอละแม จังหวัดชุมพร

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : ชพ.63-นศ.-001
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 พฤษภาคม 2562 ถึง 31 มีนาคม 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การเสริมสร้างบทบาทแนวใหม่ สำหรับสัปเหร่อในเขตอำเภอละแม จังหวัดชุมพร
บทคัดย่อ :

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาท และความสำคัญ 2) เพื่อศึกษากระบวนการ และวิธีการ และ 3) เพื่อสร้างความเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ และความสำคัญของสัปเหร่อที่มีต่อสังคม ในเขตอำเภอละแม จังหวัดชุมพร งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ( Qualitative Research ) การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 23 คน ทั้งจากสัปเหร่อ ผู้รู้พิธีกรรม และประชาชนในเขตอำเภอละแม จังหวัดชุมพร ผลการวิจัยพบว่า สัปเหร่อเกิดขึ้นในสมัยครั้งพุทธกาล อาศัยความเชื่อ หลักคำสอนพิธีกรรม ทางศาสนาพุทธ และศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ผนวกเข้ากับการประกอบพิธีกรรม คนทั่วไป ๆ ปฏิบัติ ไม่ได้เพราะมีความเชื่อในเรื่องสิ่งลี้ลับที่มองไม่เห็น ผี วิญญาณต่าง ๆ การที่จะประกอบอาชีพนี้ได้ ต้องมีคุณสมบัติ กฎเกณฑ์ตามโบราณประเพณี ในขณะที่วิธีการปฏิบัติงานนั้นขึ้นอยู่กับการร่ำเรียน วิชา คาถาอาคมมาจากอาจารย์ท่านใด สัปเหร่อแต่ละคนมักมีขั้นตอนพิธีกรรมที่แตกต่างกันออกไป และในชุมชนก็ย่อมจะมีบุคคลผู้รู้พิธีกรรมการจัดการศพเข้ามาเกี่ยวข้อง ให้พิธีกรรมเป็นไปด้วย ความเรียบร้อยตามแบบอย่างของแต่ละชุมชน โดยสัปเหร่อมีบทบาทที่สำคัญในปัจจุบัน คือ การจัดการศพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวันเผาศพ และวันเก็บอัฐิในเช้าตรู่ของอีกวัน ในส่วนของ ขั้นตอนการทำงานนั้นมีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย และประยุกต์ใช้ให้เข้ากับยุคสมัยในปัจจุบัน

ความสำคัญของสัปเหร่อถือได้ว่าเป็นอาชีพที่ตั้งอยู่บนความเชื่อ และพิธีกรรม เพื่อความสบายใจ ปลอบประโลม ให้กำลังใจ แก่ญาติผู้เสียชีวิต โดยต้องไม่ขัดต่อหลักความเชื่อ และศีลธรรมของศาสนา บุคคลทั่ว ๆ ไปมองว่า อาชีพนี้ยังคงเป็นอาชีพที่สำคัญจะขาดเสียไม่ได้ในยุคสมัยปัจจุบัน

คำสำคัญ : สัปเหร่อ , ผู้รู้พิธีกรรม , พิธีกรรม , การจัดการศพ , ความเชื่อ
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : STRENGTHENING OF NEW ROLES FOR UNDERTAKER IN LAMAE DISTRICT, CHOMPHON PROVINCE
Abstract :

This research has objectives as 1) To study the role and importance of undertaker. 2) To study the processes and methods 3) To create an understanding of the role, duties and importance of the undertaker in society in Lamae District, Chumphon Province This research is qualitative data collection done by the in-depth interviews with a total of 23 informants, from the undertakers and people in Lamae District, Chumphon Province. The results of the research showed that the undertakers occurred in the modern era. Based on beliefs, doctrine, and rituals in Buddhism and Brahmanism- Hinduism Integrated into the ritual. People cannot do this duty because they believe in the mysteries of the invisible spirits. People who can work in this profession must be qualified. According to ancient traditions, the method of work depends on the source of the study. If the knowledge comes from any teachers, each undertaker often has different ritual procedures. In the community, there will be people who know the ritual of the funeral management. Those involved in letting the rituals done properly according to the pattern of each community. The main role of the undertakers today is to manage the body. It is especially during the cremation day and the next early morning day of collecting the bones. There are some changes in the work process to make it more suitable for the recent days. The importance of the undertakers can be considered as a career based on beliefs and rituals. They have to comfort and give supports to the relatives of those who have died, without violating religious doctrine

and morals. People still consider this profession as an important profession which cannot be missed in the modern times.

Keyword : undertaker, ritual Knowler, ritual, funeral management, belie
รูปแบบงานวิจัย : งานวิจัยเชิงคุณภาพ
ประเภทงานวิจัย : การวิจัยพื้นฐาน
สาขางานวิจัย : สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 รุ่งนภา จิ๋วประดิษฐกุล
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : สาขาวิชารัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
50 ไม่ระบุ
2 ศุภสิน เม่งช่วย
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : สาขาวิชารัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ผู้วิจัยร่วม
50 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
1/10/2562 ถึง 30/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : ทุนส่วนตัว ส่วนตัวของผู้วิจัย
0.00
   รวมจำนวนเงิน : 0.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
20 พฤษภาคม 2563
วารสารที่ตีพิมพ์ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
ฉบับที่ :
หน้า :
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร :
0.2
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023