โครงการการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth)

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : -- ไม่ระบุ --
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : กำลังดำเนินการ
วันที่ดำเนินการ : 26 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : โครงการการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth)
บทคัดย่อ :

ปัจจุบันโลกกำลังประสบกับวิกฤตทางด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาโลกร้อนที่เกิดจากการเผาทำลาย รวมถึงการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ จึงได้มีการรณรงค์เพื่อบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมดังกล่าว ซึ่งได้มีการตระหนักถึงการลดการใช้พลาสติกที่ย่อยสลายได้ยาก แต่ปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นไม่เพียงแต่สาเหตุมาจากพลาสติกเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ขยะอินทร์ต่าง ๆ ถ้าหากไม่มีการกำจัดอย่างถูกวิธี หรือกำจัดด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสม เช่น การเผาทำลาย ก็อาจนำมาซึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อมในเรื่องของหมอกควัน PM 2.5 ปกคลุมพื้นที่ และเกิดปัญหาโลกร้อนตามมาเช่นเดียวกัน

ภายในมหาวิทยาลัยมีการเพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วยวิธีการปลูกต้นไม้ในเขตพื้นที่ของมหาวิทยาลัย แต่เมื่อถึงฤดูกาลใบไม้ผลัดใบหรือใบไม้ร่วง จะมีปริมาณของใบไม้ที่ร่วงบริเวณโดยรอบ รวมถึงเศษกิ่งไม้ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ที่ร่วงหล่น และจากการตัดตกแต่งกิ่ง ทำให้กลายเป็นขยะในปริมาณมาก ซึ่งในปัจจุบันยังไม่ได้รับการกำจัดที่เหมาะสม ทำให้ขยะประเภทดังกล่าวกองรวมกันและเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อย ๆ (แสดงดังรูปที่ 1) ทำให้กองใบไม้กิ่งไม้ดังกล่าว กลายเป็นของเสียเหลือทิ้งที่ทำลายทัศนียภาพของพื้นที่

กิ่งไม้ใบไม้ที่ร่วงหล่น ผุพัง จัดเป็นของเสียหรือขยะมูลฝอยประเภทอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ และมีสารอาหารหรือธาตุที่จำเป็นต่อพืช สามารถนำของเสียดังกล่าวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ดังนั้นชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติจึงมีแนวความคิดในการเปลี่ยนของเสียประเภทกิ่งไม้ใบไม้ให้เป็นวัสดุปลูกหรือดินปลูก ภายใต้กรอบแนวคิดการจัดการของเสียภายในมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นการลดของเสียประเภทอินทรีย์ และช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวและสร้างทัศนียภาพที่ดีในเขตพื้นที่ อีกทั้งเป็นการปลูกจิตสำนึกการรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักศึกษาให้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้วัสดุปลูกที่ผลิตขึ้นสามารถไปแจกจ่าย หรือจำหน่วยสร้างรายได้ในอนาคต

นอกจากนี้ยังได้มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการรักษ์สิ่งแวดล้อม ในรูปแบบของการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างจิตสำนึกในการรักษ์สิ่งแวดล้อม กระตุ้นให้ทุกคนหันมาใส่ใจและตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ลดปริมาณขยะในเขตพื้นที่ของมหาวิทยาลัย โดยการรณรงค์ส่งเสริมการใช้ application “ZERO WASTE MJU” ให้ทุกคนหันมาสนใจการใช้ application เพื่อสะสมแต้มสำหรับคนรักษ์โลก โดยมีส่วนลดในการซื้อสินค้าเมื่อนำภาชนะมาใส่สินค้าแทนภาชนะบรรจุจากร้านค้า เป็นการสร้างแรงจูงใจในการลดปริมาณของขยะ ส่งผลให้ปริมาณของขยะที่ไม่จำเป็นในเขตมหาวิทยาลัยลดน้อยลง

คำสำคัญ : ปัจจุบันโลกกำลังประสบกับวิกฤตทางด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาโลกร้อนที่เกิดจากการเผาทำลาย รวมถึงการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ จึงได้มีการรณรงค์เพื่อบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมดังกล่าว ซึ่งได้มีการตระหนักถึงการลดการใช้พลาสติกที่ย่อยสลายได้ยาก แต่ปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นไม่เพียงแต่สาเหตุมาจากพลาสติกเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ขยะอินทร์ต่าง ๆ ถ้าหากไม่มีการกำจัดอย่างถูกวิธี หรือกำจัดด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสม เช่น การเผาทำลาย ก็อาจนำมาซึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อมในเรื่องของหมอกควัน PM 2.5 ปกคลุมพื้นที่ และเกิดปัญหาโลก
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : (Green Youth)
Abstract :

โครงการการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth)

Keyword : โครงการการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth)
รูปแบบงานวิจัย : งานวิจัยเชิงปริมาณ
ประเภทงานวิจัย : การวิจัยพื้นฐาน
สาขางานวิจัย : สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : กิจกรรมด้านการวิจัย
Road map : Green
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฑาภรณ์ ชนะถาวร
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : วิทยาลัยพลังงานทดแทน
ผู้วิจัยหลัก
(2564)
100 นักวิจัยรุ่นเก่า
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2564
26/3/2564 ถึง 30/9/2564
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายนอกสถาบัน งานวิจัยระดับชาติ
ได้รับงบประมาณจากกรมส่งเสริมคุณภาพและสิ่งแวดล้อม
18,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 18,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023