ระบบคุณค่าและบรรทัดฐานที่ดีที่ส่งผลต่อการสร้างทุนและการสมานฉันท์ในสังคมไทยชุมชน

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : -- ไม่ระบุ --
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 10 มกราคม 2555 ถึง 31 พฤษภาคม 2557
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : ระบบคุณค่าและบรรทัดฐานที่ดีที่ส่งผลต่อการสร้างทุนและการสมานฉันท์ในสังคมไทยชุมชน
บทคัดย่อ :

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1)เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของระบบคุณค่าและบรรทัดฐานที่มีความสำคัญหรือมีคุณค่าต่อดำรงชีวิตและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในสังคมไทย 2)เพื่อศึกษาอิทธิพลเชิงสาเหตุของผลกระทบจากปัญหาเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการพัฒนาตามแนวทางระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่มีโครงสร้างตลาดแบบผูกขาด ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ การคอรัปชั่นประชาธิปไตยในสังคมไทย การทำลายคุณค่าและบรรทัดฐานในสังคมไทย ทุนทางสังคม และการสมานฉันท์ในสังคมไทย และ 3)เพื่อศึกษาแนวทางในการสร้างทุนทางสังคมและการสมานฉันท์ในสังคมไทย

ในการวิจัยได้ประยุกต์ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมมาเป็นแนวทางการในการวิจัยโดยการวิจัยเชิงคุณภาพนำการเชิงปริมาณ ในการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มเป็นและการวิจัยเอกสารเครื่องมือในการวิจัย ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามแบบควบคู่กับการสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัย การวิจัยเชิงปริมาณแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกศึกองค์ประกอบของระบบคุณค่าและบรรทัดฐานในสังคมไทย เก็บข้อมูลจากประชาชนชาวไทย 2,400 ชุด และส่วนที่สองการวิเคราะห์อิทธิพลเชิงสาเหตุ จัดเก็บข้อมูลจากประชาชนชาวไทย 2,400 ชุด การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่เป็นข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ใช้สถิติพรรณนา การวิเคราะห์วิเคราะห์องค์ประกอบระบบคุณค่าและบรรทัดฐานในสังคมไทยส่วนการประมาณวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันแบบสองชั้นใช้สถิติอนุมานแบบมีพารามิเตอร์เทคนิคความเป็นไปได้สูงสุด และการประมาณค่าอิทธิพลเชิงสาเหตุในแบบจำลองใช้สถิติอนุมานแบบมีพารามิเตอร์เทคนิคกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน

ผลการวิจัย มีดังนี้

1. ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบของระบบคุณค่าในสังคมไทย เรียงตามน้ำหนักองค์ประกอบ จากมากไปหาน้อย คือ ทุนสถาบัน ทุนวัฒนธรรม ทุนทางสังคม ทุนธรรมชาติ ทุนมนุษย์ และทุนกายภาพ โดยมีน้ำหนักองค์ประกอบ คือ 0.734 ,0.629 , 0.541 ,0.523 , 0.515 และ 0.445 ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลปัจจัยที่ทำลายระบบทุนค่าในสังคมไทย คือ การคอรัปชั่นในสังคมไทย ปัญหาเชิงโครงสร้างที่เกิดจากระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่มีโครงสร้างตลาดแบบผูกขาด ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความขัดแย้งทางการเมือง และประชาธิปไตยแบบไทย ตามลำดับ

2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางบวกต่อการสมานฉันท์ในสังคมไทย คือ ทุนทางสังคมโดยมีค่าอิทธิพลเชิงสาเหตุ เท่ากับ 0.260 ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลทางลบต่อการสมานฉันท์ในสังคมไทย เรียงลำดับจากมากไปน้อย ตามค่าอิทธิพลเชิงสาเหตุ คือ ความขัดแย้งทางการเมือง การคอรัปชั่นในสังคมไทย ปัญหาเชิงโครงสร้างที่เกิดจากระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่มีโครงสร้างตลาดแบบผูกขาด ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ประชาธิปไตยในสังคมไทย และทุนมนุษย์ถูกทำลาย โดยมีค่าอิทธิพลเชิงสาเหตุ คือ -0.378 , -0.199 , -0.137 , –0.122 ,- 0.096 และ -0.091 ตามลำดับ

3. ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางลบต่อทุนทางสังคม เรียงลำดับจากมากไปน้อย ตามค่าอิทธิพลเชิงสาเหตุ คือ การคอรัปชั่นในสังคมไทย ปัญหาเชิงโครงสร้างที่เกิดจากระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่มีโครงสร้างตลาดแบบผูกขาด การทำลายทุนสถาบัน ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความขัดแย้งทางการเมือง การทำลายทุนวัฒนธรรม และประชาธิปไตยแบบไทยโดยมีค่าอิทธิพลเชิงสาเหตุ คือ -0.490 , -0.338 , -0.333, -0.300 ,- 0.235, - 0.091, -0.087, และ-0.060 ตามลำดับ

4. ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางบวกต่อการทำลายทุนสถาบันเรียงลำดับจากมากไปน้อย ตามค่าอิทธิพลเชิงสาเหตุ คือ การคอรัปชั่นในสังคมไทย ปัญหาเชิงโครงสร้างที่เกิดจากระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่มีโครงสร้างตลาดแบบผูกขาด ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ การทำลายทุนมนุษย์ และการทำลายทุนวัฒนธรรม โดยมีค่าอิทธิพลเชิงสาเหตุ เท่ากับ 0.376 , 0.260 , 0.230 , 0.172 และ 0.070 ตามลำดับ

5. ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางบวกต่อการทำลายทุนมนุษย์ เรียงลำดับจากมากไปน้อย ตามค่าอิทธิพลเชิงสาเหตุ คือ ปัญหาเชิงโครงสร้างที่เกิดจากระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่มีโครงสร้างตลาดแบบผูกขาด ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และการทำลายทุนวัฒนธรรม โดยมีค่าอิทธิพลเชิงสาเหตุ เท่ากับ 0.819 , 0.405, และ 0.343 ตามลำดับ

6. ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางบวกต่อการทำลายทุนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรียงลำดับจากมากไปน้อย ตามค่าอิทธิพลเชิงสาเหตุ คือ ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ปัญหาเชิงโครงสร้างที่เกิดจากระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่มีโครงสร้างตลาดแบบผูกขาด และความไม่เป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีของประเทศไทย โดยมีค่าอิทธิพลเชิงสาเหตุ เท่ากับ 0.517 , 0.359 และ 0.116 ตามลำดับ

ในการวิจัยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้

1. การบรรเทาปัญหาเชิงโครงสร้างทางการเมืองหรืออำนาจ มี 2 ประการ คือ 1) ฝ่ายการเมืองประชาธิปไตยเสรีนิยมแบบเลือกตั้งสากลต้องยอมรับระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบไทย คือ ต้องรับฟังผู้ใหญ่ในบ้านในเมือง 2)ฝ่ายการเมืองประชาธิปไตยอนุรักษ์นิยมสยามแบบเก่า ต้องลดการแทรกแซงกระบวนการประชาธิปไตย หันมาหาทางออกร่วมกัน และ 3)ทั้งสองฝ่ายร่วมมือกันเริ่มปฏิรูปประเทศ เริ่มจาก การให้อภัย การปรองดอง การนิรโทษกรรม เยียวยาผู้สูญเสีย การปราบคอรัปชั่น และการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม

2. การบรรเทาปัญหาเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ มี 6 ประการ คือ 1)ขจัดปัญหาคอรัปชั่นในสังคมไทย 2)ปรับโครงสร้างภาษีโดยให้เก็บจากคนรวยในสัดส่วนที่สูงกว่าคนจน 3)เปิดโอกาสในชุมชนหมู่บ้านเป็นเจ้าของมีอำนาจเหนือตลาดที่มีอยู่ในสังคมไทย 4)กระจายอำนาจทางการคลังไปสู่หมู่บ้านและชุมชน 5)ปฏิรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อคนจน และ 6)ควรปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าและบริการเพื่อคนจน

3. ควรจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อให้คนไทยเข้าใจ เข้าถึง และเล็งเห็นถึงความสำคัญของระบบคุณค่าและบรรทัดฐานในสังคมไทย โดยบรรจุเป็นวาระแห่งชาติให้มีผลบังคับให้หน่วยงานรัฐนำไปสู่การปฏิบัติ

คำสำคัญ : การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข , สมานฉันท์ , การคอรัปชั่น
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : The Value System and Good Social Norm effect to Social capital Creation and Reconciliation in Thailand Society
Abstract :

The objectives of research to explore 3 questions were : 1) to analyze the composition of the system of values and norms that are important or valuable to the livelihood and living together in peace in Thailand. 2)to study the influence of the causal impact of economic structural problems caused by the development of capitalist economy with a monopolistic market structure , economic disparity . Corruption of democracy in Thailand Destruction of social values and norms in Thailand social capital and social reconciliation in Thailand and 3) to study the creation of social capital and social reconciliation in Thailand

. In research were Use mixed methodology approach. With qualitative and quantitative research. In qualitative research used, interviews, Group discussion and Document research. The quantitative research used questionnaires. Quantitative research has been divided into 2 Part: the first was collected 2,400 people in Thailand and second was collected 2,400 people in Thailand. The analyze of qualitative data using content analysis techniques. The analysis basic quantitative data analysis used descriptive statistics. And were analysis component of Value System and Social norm in Thailand Society with The inference statistical by confirm second order factor analysis technical, with the maximum likelihood technical. And estimated the parameters of Structural Equation Modeling (SEM) used statistical inference parameters with Partial least squares technique (PLS)

The results of this research were as follows:

1. Factors as elements of social value system in Thailand. Composition by weight of descending the institutional cultural capital, social capital, natural capital, human capital and physical capital by the factor loading is 0.734, 0.629, 0.541, 0.523, 0.515, and 0.445, respectively.

2. The factors that influence the factors that destroy the capitalist system in Thailand is corruption in Thailand. Structural problems caused by capitalist economy with a monopolistic market structure. Economic inequality Political conflict Democracy and Thailand , respectively

3. Factors that influence positive social reconciliation in Thailand are social capital, with a value equal to 0.260. The influences causal factors with negative influence on the social reconciliation in Thailand. Sort by Descending By the causal influence is Corruption in Thailand Structural problems caused by capitalist economy with a monopolistic market structure. Economic inequality Thailand democratic and human capital destruction with the causal effect is -0.378, -0.199, -0.137, -0.122 ,-0.096 and -0.091, respectively.

4. Factors with negative influence on social capital. Sort by Descending By the causal influence is corruption in Thailand. Structural problems caused by capitalist economy with a monopolistic market structure. Destruction of Capital Institute Economic inequality Political conflict Breaking cultural capital Thailand democracy with the causal influence is -0.490 , -0.338 , -0.333 , -0.300 , - 0.235 , - 0.091, -0.087 , and -0.060 , respectively.

5. Factors that influence positively damaging institutional sort descending. By the causal influence is corruption in Thailand. Structural problems caused by capitalist economy with a monopolistic market structure. Economic inequality Destroying human capital and the destruction of cultural capital with the causal influence of 0.376, 0.260, 0.230, 0.172, and 0.070, respectively.

6. Factors with positive influence on destroying human capital. Sort by Descending By the causal influence is structural problems caused by capitalist economy with a monopolistic market structure. Economic inequality and the destruction of cultural capital with the causal influence of 0.819, 0.405, and 0.343, respectively. And Factors influence positively the destruction of natural capital and the environment. Sort by Descending By the causal influence is economic inequality. Structural problems caused by capitalist economy with a monopolistic market structure. And injustice in the imposition of Thailand. With the causal influence of 0.517, 0.359, and 0.116, respectively.

The suggestions of this research were as follows:

1. Alleviating structural problems or political power are two reasons: 1) Political parties of a liberal democratic of the universal popular election system must be recognizes Thailand democratic old system and listen to the adults or aristocracy in the Thailand Society with creatively. 2) Political parties Conservative Democratic old Siam system Interventions to reduce the democratic process Turned to find a solution together, and 3) both parties work together to reform the country of forgiveness, reconciliation and amnesty. The loss remedies, Suppression of corruption and judicial reform.

2. Alleviating economic structural problems, there are 6 reasons: 1) eliminating corruption. 2) Restructuring the tax to benefit the poor. 3) Open opportunities for community -owned village dominating the markets that are available in Thailand. 4) Fiscal decentralization to the village and community. 5) Progressive monopoly government Enterprises for poor and 6) should be restructured to produce goods and services to the poor.

3. Should be preparing a development strategy to allow people to access and understand Thailand recognizes the importance of social values and norms in Thailand, The national agenda has forced the government to practice.

Keyword : values, norms, Corruption
รูปแบบงานวิจัย : งานวิจัยเชิงคุณภาพ
ประเภทงานวิจัย : การวิจัยพื้นฐาน
สาขางานวิจัย : สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : กิจกรรมด้านการวิจัย
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : วิทยาลัยบริหารศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2555)
50 นักวิจัยรุ่นเก่า
2 อาจารย์ประเสริฐ ยังปากน้ำ
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง
ผู้วิจัยร่วม
(2555)
25 นักวิจัยรุ่นเก่า
3 อาจารย์จิตรกร แต้มคล่อง
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง
ผู้วิจัยร่วม
(2555)
25 นักวิจัยรุ่นเก่า
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2555
10/1/2555 ถึง 1/6/2556
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายนอกสถาบัน งานวิจัยระดับชาติ
มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง (งบประมาณแผ่นดิน)
200,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 200,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
31 ธันวาคม 2558
วารสารที่ตีพิมพ์ : วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 
ฉบับที่ : Vol. 10 No. 2 (2015): July - December 2015
หน้า :
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร : คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
0.8
27 มิถุนายน 2563
วารสารที่ตีพิมพ์ : วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ 
ฉบับที่ : ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (2020): เมษายน-มิถุนายน 2563
หน้า :
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร : วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
0.6
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023