ศึกษาการใช้สารสกัดจากพืช มะขามป้อม (Phyllanthus emblica) หอมแดง (Allium
ascalonicum)และ ดอกแค (Sesbania grandiflora) และ สารสกัดจากพืชสมุนไพร เกสรบัวหลวง
(Nelumbo nucifera) ชะเอมเทศ (Glycyrrhiza glabra) และมะแข่วน (Zanthoxylum Limonella) ร่วมกับ
การใช้ Lactobacillus acidophilus และ ยีสต์ Saccharomyces cerevisiae เสริมในอาหารทดลอง ต่อ
ประสิทธิภาพการเติบโต องค์ประกอบทางเคมีในเนื้อปลา และภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ ในการเลี้ยงปลา
นิล การทดลองแรก ใช้อาหารทดลอง 4 สูตร ได้แก่ อาหารเสริมวิตามินซี (VC) เป็นอาหารควบคุม,
อาหารเสริมด้วยมะขามป้อม (MP), อาหารเสริมด้วยหอมแดง (HD) และ อาหารเสริมด้วยดอกแค (DK)
เลี้ยงปลานิลขนาดเริ่มต้นเฉลี่ย 53 ก จำนวน 3 ซ้ำ ในกระชัง ระยะเวลาทดลอง 90 วัน ผลการทดลอง
พบว่า ปลานิลที่เลี้ยงด้วย VC, MP และ HD มีน้ำหนักสุดท้าย, น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น, อัตราการเจริญเติบโต
ต่อวัน (ADG) สูงกว่าปลาที่เลี้ยงด้วย DK อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อัตราการแลกเนื้อ (FCR)
ของปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริม DK และ HD มีค่าต่ำกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารควบคุม VC อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่ไม่แตกต่างกับปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริม MP (p>0.05) อัตราการรอด
ตาย ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในอาหารทดลองทุกสูตรกับชุดควบคุม (p>0.05) หลังเสร็จสิ้น
การทดลอง พบว่า ปริมาณโปรตีนในเนื้อปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร HD มีค่าต่ำสุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(p<0.05) เมื่อเทียบกับปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรอื่น แต่ปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร MP มีปริมาณโปรตีนใน
เนื้อปลาไม่แตกต่างจากอาหารควบคุม (VC) นอกจากนี้ยังพบว่า ปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหาร MP มีปริมาณฮีมาโตครีต และปริมาณโปรตีนในซีรัม สูงกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร DK อย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติ (p<0.05) แต่ไม่แตกต่าง (p>0.05) จากชุดควบคุม (VC) สูตรอาหารที่ต่างกันในการทดลองครั้งนี้ไม่
ส่งผลต่อ ปริมาณ ซีรัมไลโซไซม์ ปริมาณเม็ดเลือดแดง และปริมาณเม็ดเลือดขาว อย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติ (p>0.05) การทดลองที่สอง ศึกษาการใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพร เกสรบัวหลวง (Nelumbo
nucifera) ชะเอมเทศ (Glycyrrhiza glabra) และมะแข่วน (Zanthoxylum Limonella) เสริมในอาหาร
ทดลอง ต่อประสิทธิภาพการเติบโต และภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ ในการเลี้ยงปลานิล ใช้อาหารทดลอง
4 สูตร ได้แก่ อาหารเสริมวิตามินซี เป็นอาหารควบคุม (CT), อาหารเสริมด้วยเกสรบัวหลวง 0.05%
(NN) , อาหารเสริมด้วยชะเอมเทศ 0.05% (GG) และ อาหารเสริมด้วยมะแข่วน 0.05% (ZL) เลี้ยงปลานิล
ขนาดเริ่มต้นเฉลี่ย 46.4 ก จำนวน 3 ซ้ำ ในกระชัง ระยะเวลาทดลอง 90 วัน ผลการทดลองพบว่า ปลา
นิลที่เลี้ยงด้วย NN มีน้ำหนักสุดท้าย, น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น, อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน (ADG) สูงกว่าปลา
ที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตร CT และ ZL อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อัตราการแลกเนื้อ (FCR) และ
อัตราการรอดตาย ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในอาหารทดลองทุกสูตร (p>0.05) หลังเสร็จสิ้น
การทดลอง พบว่า เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่า ปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหารทดลองทุกสูตร (NN, GG และ
ZL) มีปริมาณโปรตีนสูงกว่า CT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และ ปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหาร NN
และ GG มีปริมาณฮีมาโตครีต สูงกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร ZL อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่
ไม่แตกต่าง (p>0.05) จากชุดควบคุม (CT) ปริมาณ ซีรัม ไลโซไซม์ และเม็ดเลือดแดง ในปลาที่เลี้ยงด้วย
อาหาร GG มีค่าสูงกว่า CT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่ไม่แตกต่าง (p>0.05) จาก NN และ ZL
สูตรอาหารที่ต่างกันในการทดลองครั้งนี้ไม่ส่งผลต่อ ปริมาณ พลาสมา โปรตีน และปริมาณเม็ดเลือด
ขาว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) การทดลองที่สาม ใช้อาหารทดลอง 4 สูตร โดยใช้อาหารเสริม
เกสรบัวหลวง (NN) และอาหารเกสรบัวหลวงผสมกับ L. acidophilus 0.2% (LA) อาหารเกสรบัวหลวง
ผสมกับ ยีสต์ (S. cerevisiae) 0.2% (SC) และอาหารเกสรบัวหลวงผสมกับ L. acidophilus 0.2% ร่วมกับ
ยีสต์ (S. cerevisiae) 0.2% (LS) ตามลำดับ เลี้ยงปลานิลขนาดเริ่มต้นเฉลี่ย 47.5 กรัม จำนวน 3 ซ้ำ ใน
กระชัง ระยะเวลาทดลอง 90 วัน ผลการทดลองพบว่า ปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหาร SC มีน้ำหนักสุดท้าย
น้ำหนักเพิ่ม และอัตราการเจริญเติบโตต่อวัน (ADG) สูงกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร NN อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ (p<0.05) แต่ไม่แตกต่างจากปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร LA และ LS ผลของอาหารทดลองต่อ FCR
และอัตรารอด ของปลานิลในการทดลองครั้งนี้ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p>0.05) หลัง
เสร็จสิ้นการทดลอง พบว่า ปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหาร LA และ SC ปริมาณโปรตีนในเนื้อสูงกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร CT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหาร SC มีปริมาณ
hematocrit (Ht) serum lysozyme และปริมาณ red blood cell (RBC) สูงกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร NN
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อย่างไรก็ตาม สูตรอาหารที่ต่างกันในการทดลองครั้งนี้ไม่ส่งผลต่อ
ปริมาณ plasma protein และ white blood cell (WBC) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ผลการทดลอง
ในครั้งนี้สรุปได้ว่า สามารถใช้สารสกัดจากมะขามป้อม เสริมในอาหารทดลองเลี้ยงปลานิลแทนการใช้
วิตามินซี โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต องค์ประกอบทางเคมีในเนื้อปลา และภูมิคุ้มกันแบบ
ไม่จำเพาะ และการใช้เกสรบัวหลวง ร่วมกับยีสต์ S. cerevisiae เสริมในอาหารทดลองส่งผลให้ปลานิลมี
อัตราการเจริญเติบโต ดีกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารควบคุม