ผลของระบบการเลี้ยงและคุณภาพน้ำต่อผลผลิตกุ้งฝอย

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-52-031
รหัสอ้างอิง วช. : 2552A11102158
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2551 ถึง 30 กันยายน 2552
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : ผลของระบบการเลี้ยงและคุณภาพน้ำต่อผลผลิตกุ้งฝอย
บทคัดย่อ :

การศึกษาผลของระบบการเลี้ยงและคุณภาพน้ำต่อผลผลิตกุ้งฝอย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการเลี้ยงรวมทั้งความหนาแน่นที่เหมาะสมในการเพิ่มผลผลิตของกุ้งฝอย แบ่งการทดลองออกเป็น 2 การทดลองย่อย การทดลองย่อยที่ 1 ศึกษาผลผลิตของกุ้งฝอยที่ให้และไม่ให้อาหารในบ่อดินที่ไม่ใส่ปุ๋ยและใส่ปุ๋ยมูลไก่ที่ระดับปุ๋ย 30, 60, 90, 120 และ 150 กิโลกรัมต่อไร่ต่อสัปดาห์ วางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 12 ชุดการทดลอง การทดลองย่อยที่ 2 ศึกษาผลของความหนาแน่นของกุ้งฝอยต่อผลผลิตของกุ้งฝอยในบ่อดิน โดยปล่อยกุ้งฝอยในอัตรา 25,50, 100, 150, 200 และ 250 ตัวต่อตารางเมตร วางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 3 ซ้ำ ทั้งสองการทดลองย่อย ทำการทดลองเป็นระยะเวลา 60 วัน ที่คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ในการทดลองย่อยที่ 1 พบว่าการให้และไม่ให้อาหารกุ้งฝอยในบ่อที่มีระดับปุ๋ยที่แตกต่างกันมีผลทำให้ผลผลิตของกุ้งฝอยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) โดยผลผลิตของกุ้งฝอยในชุดการทดลองที่ให้อาหารและใส่ปุ๋ยมูลไก่ที่ระดับ 120 กิโลกรัมต่อไร่ต่อสัปดาห์ มีผลผลิตสูงสุด และมีแนวโน้มว่าผลผลิตของชุดการทดลองที่ให้อาหารจะมีผลผลิตที่สูงกว่าและแตกต่างจากชุดการทดลองที่ไม่ให้อาหารมากขึ้นเมื่อใส่ปุ๋ยในระดับที่สูงขึ้น ชนิดและปริมาณแพลงก์ตอนพืชและสัตว์จะเพิ่มมากขึ้นตามระดับปุ๋ยที่ใส่ ในบ่อที่ใส่ปุ๋ยที่ระดับ 150 กิโลกรัมต่อไร่ต่อสัปดาห์พบชนิดและปริมาณแพลงก์ตอนพืชและสัตว์ และค่าของคุณภาพน้ำเช่นแอมโมเนีย ไนไตรท์ ไนโตรเจน ไนเตรท ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำสูงกว่าในชุดการทดลองอื่นๆ และยังพบว่าในบ่อที่ให้อาหารจะมีปริมาณแพลงก์ตอนพืชและสัตว์สูงกว่าในบ่อที่ไม่ให้อาหาร ในการทดลองย่อยที่ 2 พบว่าที่ระดับความหนาแน่นของกุ้งฝอยที่แตกต่างกันมีผลทำให้ผลผลิตกุ้งฝอยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) ความหนาแน่นของกุ้งฝอยที่เพิ่มขึ้นทำให้ได้ผลผลิตและผลตอบแทน(กำไร) ที่สูงขึ้น โดยที่ความหนาแน่นที่ 250 ตัวต่อตารางเมตรมีผลผลิตและผลตอบแทน (กำไร) สูงสุด ผลสรุปจากการวิจัย การใส่ปุ๋ยสามารถเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ภายในบ่อกุ้งฝอย ทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น เป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตลง การเพิ่มความหนาแน่นของกุ้งฝอยถึงแม้ว่าเปอร์เซ็นต์น้ำหนักเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นจะลดลงตามความหนาแน่นแต่เมื่อคำนวณต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์แล้วพบว่ามีความคุ้มทุนมากกว่า

คำสำคัญ : กุ้งฝอย
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : The effects of green water system, water quality andstocking density on the production of Lanchester’ freshwater prawn (Macrobrachium lanchesteri de Man)
Abstract :

The objectives of this research were to study the effects of culture system and water quality on Lanchester’s freshwater prawn, Macrobrachium lanchesteri, production. This experiment was divided into 2 trials. Experiment 1 was conducted to determine the effect of manure application (0, 30, 60, 90, 120, and 150 kg/rai/week) in prawn production. A CRD (completely randomized design) of 12 treatments with 3 replication each was applied. Experiment 2 was set to examine the effect of prawn densities (50, 100, 150, 200, and 250 prawn/m2) on its production. Each treatment was replicated 3 times. Each trial was run for 60 days at the Faculty of Fisheries Technology and Aquatic Resources, Maejo University. Prawn production caused by different amounts of manure application was significantly different among treatments (P?0.05). Maximum yield was found in treatment applied with 120 kg of manure/rai/week. Higher application of manure tended to increase prawn production. A number and species diversity of plankton increased when higher manure was applied. A better water quality including ammonia, nitrite, nitrate, phosphorus, and dissolved oxygen as well as the number and species diversity of phytoplankton and zooplankton was observed in the pond with 150 kg of manure/rai/week. Moreover, feeding ponds showed higher phytoplankton and zooplankton than non-feeding ponds. In Experiment 2, different stock densities showed a significant difference in prawn production (P?0.05). Higher stocking densities generated higher production and improved profit. A stocking density of 250 prawn/m2 provided the maximum production and profit. In summary, manure application enhances nutrients and plankton in prawn pond leading to higher production and lower cost. Although higher stocking density provided the decreased in individual average weight gain, there was higher benefit in term of higher production and economic achievement.

Keyword : Riceland prawn, Lanchester’ freshwater prawn, production, green water system, Macrobrachium lanchesteri
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัญชา ทองมี
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยหลัก
(2552)
100 นักวิจัยรุ่นเก่า
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2552
1/6/2552 ถึง 31/5/2553
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
120,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 120,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
1 เมษายน 2564
วารสารที่ตีพิมพ์ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
ฉบับที่ : 1
หน้า :
ระดับการนำเสนอ :
เจ้าของวารสาร :
0.4
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023