การวินิจฉัยโรคไวรัสของมันฝรั่งโดยเทคนิควิธีการระดับโมเลกุล

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-51-043/52-014
รหัสอ้างอิง วช. : 2552A11102109
สถานะการดำเนินการ : กำลังดำเนินการ
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2550 ถึง 30 กันยายน 2552
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การวินิจฉัยโรคไวรัสของมันฝรั่งโดยเทคนิควิธีการระดับโมเลกุล
บทคัดย่อ :

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ ก็เพื่อพัฒนาวิธีการตรวจสอบไวรัสสำคัญที่มีการติดเชื้อในมันฝรั่ง โดยอาศัยเทคนิควิธีการของ reverse transcription (RT) polymerase chain reaction (PCR) ซึ่งโครงการวิจัยฯ ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาการตรวจสอบ Potato virus A (PVA), Potato virus X (PVX), Potato virus Y (PVY) และ Potato leafroll virus (PLRV) โดยอาศัยเทคนิควิธีการระดับโมเลกุลของ RT-PCR

โครงการวิจัยฯ ได้ทำการเก็บรวบรวมตัวอย่างใบของมันฝรั่งที่แสดงลักษณะอาการที่คาดว่ามีการติดเชื้อไวรัสได้จำนวน 1,120 ตัวอย่าง จากแปลงเพาะปลูกของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และตาก ซึ่งเป็นจังหวัดในภาคเหนือ และจากโรงเรือนเพาะปลูกพืชทดลองของโครงการ ในช่วงเวลาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2550 ถึงเดือนกรกฎาคม 2552 โดยทำการตรวจวินิจฉัยในเบื้องต้นและตรวจสอบยืนยันการติดเชื้อไวรัส ด้วยดีเอ็นเอไพร์เมอร์ที่มีความจำเพาะต่อชนิดไวรัสในวิธีการ RT-PCR ในปีแรกของการศึกษา-วิจัย (ตค 2550 – กย 2551) นั้น โครงการวิจัยได้ดำเนินการศึกษา-วิจัย ระบบ RT-PCR ที่เหมาะสมและสามารถประยุกต์ใช้เพื่อการตรวจสอบไวรัส 5 ชนิด ของมันฝรั่ง โดยได้มีการพัฒนาขั้นตอน-วิธีการสกัดแยกกรดนิวคลีอิค (total nucleic acid extraction) จากใบมันฝรั่งที่สะดวกและเหมาะสมซึ่งสามารถใช้ได้กับการตรวจสอบไวรัสของมันฝรั่งทั้งชนิดที่มีสารพันธุกรรมเป็น RNA หรือ DNA และการพัฒนาระบบ RT-PCR เพื่อการตรวจสอบไวรัสที่มีหาง poly(A) ที่ปลาย 3’ ของ RNA ในปีที่สอง (ตค 2551 – กย 2552) โครงการวิจัยฯ ได้ทำการพัฒนาวิธีการตรวจสอบ PVA PVX PVY และ PLRV เพื่อให้ได้ระบบของ RT-PCR ที่เหมาะสม โดยทำการออกแบบดีเอ็นเอไพร์เมอร์ที่มีความจำเพาะหรือกึ่งจำเพาะต่อชนิดของไวรัสทั้งสี่ชนิด โดยอาศัยข้อมูลลำดับนิวคลีโอไทด์ของสารพันธุกรรมของไวรัสแต่ละชนิดจากฐานข้อมูลพันธุกรรม GenBank และนำมาใช้เป็นไพร์เมอร์ใน PCR เพื่อทดสอบความจำเพาะเจาะจง และความไวในการตรวจสอบไวรัสแต่ละชนิด จากการทดสอบ โครงการวิจัยฯได้คัดเลือกและพัฒนาระบบตรวจสอบ PVA PVX PVY และ PLRV ด้วยคู่ดีเอ็นเอไพร์เมอร์ A05F/A04R, X01F/X02R, Y02F/Y03R และ R38F/R32R ในวิธี RT-PCR ตามลำดับ นอกจากนี้ โครงการวิจัยฯ ได้ทำการพัฒนาระบบการตรวจวินิจฉัยโรคไวรัสของมันฝรั่งโดยการตรวจสอบ PVY และ PLRV จากเนื้อเยื่อใบ ในหลอดทดลองเดี่ยวในครั้งเดียว โดยวิธีการตรวจสอบไวรัสในลักษณะ duplex RT-PCR ด้วยคู่ไพร์เมอร์ Y02F และ Y03R ร่วมกับ R38F และ R32R โดยใช้ oligo (dT) และ R32R เป็น ไพร์เมอร์ ในปฏิกิริยาการถอดรหัสแบบย้อนกลับ (RT)

คำสำคัญ : โรคไวรัสของมันฝรั่ง
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Molecular Diagnosis of Potato Virus Diseases
Abstract :

The overall purpose of this research was to develop a reverse transcription (RT) polymerase chain reaction (PCR)-based method for detection of viruses in infected potato plant. Potato virus A (PVA), Potato virus X (PVX), Potato virus Y (PVY) and Potato leafroll virus (PLRV) are four different virus species of the most important viruses infecting cultivated potatoes. RT PCR-based methods for detecting the four potato viruses were successfully developed in this study.

A total of 1,120 symptomatic leaf samples from field and from greenhouse were collected from December 2007 to July 2009 in three Northern provinces, Chiang Mai, Chiang Rai and Tak, of Thailand. Samples of symptomatic plants were analyzed for virus infection by RT-PCR using specific oligonucleotide primers. In the first year of this research project (Oct 2007 – Sep 2008), optimization and application of a reverse transcription-polymerase chain reaction (RT-PCR) system have been studied for detection of five potato viruses. A nucleic acids extraction protocol was developed for both potato-infecting DNA and RNA viruses. By using an oligo(dT) as a common primer for RNA templates containing a poly(A) tract, a RT-PCR system have been developed for detection of four potato viruses (PVA, PVS, PVX and PVY) which contained a poly(A) tract at their 3’-end. In the second year (Oct 2008 – Sep 2009), three viral genera including four potato viruses, potyvirus (PVA and PVY), potexvirus (PVX) and polerovirus (PLRV) were used to develop manifold systems of RT-PCR. Several specific or degenerate oligonucleotide primers were designed on aligned virus sequences published in the GenBank covering the genome of different PVA, PVX, PVY and PLRV isolates, consensus regions were identified. These designed primers were used as either forward or reverse primers in PCR which were tested for their specificity and sensitivity. Four primer pairs, A05F/A04R, X01F/X02R, Y02F/Y03R and R38F/R32R, were preferred and used as a set of virus species-specific primer in PCR for development of RT-PCR methods for detecting PVA, PVX, PVY and PLRV, respectively. Furthermore, merging an oligo(dT) primer with the ‘R32R’ specific reverse primer can be used to simultaneously prime RT of both polyadenylated and non-polyadenylated RNAs, and PCR for simultaneous detection of two different viruses, PVY and PLRV with a mixture of primers Y02F, Y03R, R38F and R32R, is reported.

Keyword : Detection; diagnosis; potato viruses
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิภัทร เจียมพิริยะกุล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะผลิตกรรมการเกษตร
ผู้วิจัยหลัก
(2552)
100 นักวิจัยรุ่นเก่า
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2552
1/6/2552 ถึง 31/5/2553
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
440,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 440,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
1 พฤษภาคม 2562
วารสารที่ตีพิมพ์ : วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 
ฉบับที่ : ปีที่ 36 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2562
หน้า :
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
0.8
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023