การวิเคราะห์เส้นทางปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนับ ตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : EC-2562-04
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : กำลังดำเนินการ
วันที่ดำเนินการ : 1 มกราคม 2562 ถึง 31 ธันวาคม 2562
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การวิเคราะห์เส้นทางปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนับ ตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว
บทคัดย่อ :

ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา และอาจกล่าวได้ว่าเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดตามธรรมชาติของมนุษย์ มนุษย์ไม่ต้องการอะไรนอกจากความสุข การกระทำใด ๆ ล้วนต้องเป็นไปเพื่อตอบสนองความสุขเสมอ (พระมหาจรัญ คมฺภีโร (อับแสง),2547) ความสุข คือ กิจกรรมของจิตที่สอดคล้องกับความดีงาม (ทิพย์วัลย์ ศรีจันทร์, 2547) เป็นความรู้สึกที่ดี เรียกว่า สุขภาวะ ซึ่งเป็นความพอใจในชีวิต ที่มีความพึงพอใจต่อเป้าหมายหลักของชีวิตรวมถึงประสบการณ์ที่ได้รับ การกระทำในสิ่งต่างๆ เป็นสิ่งนำมาซึ่งความดีงาม รับรู้ว่าดี มีอารมณ์ทางด้านบวกสูง และมีอารมณ์ทางด้านลบตํ่า คนที่มีความสุขจะแสดงออกให้เห็นทั้งทางร่างกายและคำพูด การแสดงออกเต็มไปด้วยพลังและความตื่นเต้นมีอารมณ์ที่ร่าเริงและเบิกบาน ความสุขเป็นความรู้สึกที่ดีที่สุด การมีชีวิตที่มีความสุขสนุกสนานเป็นความปรารถนาที่อยากคงไว้ให้ยาวนาน คนที่มีความสุขจะคิดทำแต่ในสิ่งที่ดี ซึ่งจะตรงกันข้ามกับความรู้สึกไม่มีความสุข (Layard, 2005) ซึ่งความสุขนั้นเป็นการสร้างสมดุลทางอารมณ์ในด้านบวกและด้านลบในแต่ละบุคคลจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ที่มากระทบทั้งภายในและภายนอก (ทิพย์วัลย์ ศรีจันทร์, 2547) ส่วนความสุขในการทำงานเป็นเรื่องของจิตใจ หากมีความพึงพอใจต่องาน ไม่ว่างานนั้นจะมีลักษณะอย่างไรก็รักและพอใจที่จะทำอย่างเต็มความสามารถ หากเริ่มต้นด้วยความพึงพอใจก็จะทำงานได้ดีไม่เบื่องานแม้มีอุปสรรค ก็ไม่ท้อถอย (เกษม ตันติผลาชีวะ, 2546)

ในการที่องค์กรจะประสบความสำเร็จมีความเจริญก้าวหน้าบุคลากรผู้ปฏิบัติงานนับเป็นหัวใจหลักสำคัญที่สุดขององค์กร (ชีวนันท์ พืชสะกะ, 2544) ซึ่งบุคลากรมีความเกี่ยวข้องกับงานมากที่สุด งานมีความหมายและเป็นสิ่งสำคัญ เพราะงานเป็นแหล่งของรายได้หรือเงินที่จะนำไปใช้จ่ายเพื่อจัดหาสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีช่วยให้มีความสุขสบาย (พวงเพ็ญ ชุนหปราน, 2549) แต่เงินไม่ใช่ปัจจัยหลักในการส่งเสริมความสุขให้แก่มนุษย์เสมอไป การสร้างความพึงพอใจ รู้สึกถึงคุณค่าของงาน มีเจตคติที่ดีต่องาน เกิดความภาคภูมิใจต่อความสำเร็จ และการได้รับการยอมรับจากสังคม ล้วนส่งเสริมให้มนุษย์รับรู้ถึงคุณค่าของชีวิตจากการทำงานทั้งสิ้น ที่สำคัญการมีความสุขในการทำงานก็คือการได้เลือกทำงานที่ชอบ ก็จะมีการหาวิธีทำงานให้มีความสุขและพึงพอใจ กำหนดเป้าหมายเพื่อให้หนทางสู่ความสำเร็จ แล้วลงมือปฏิบัติงานด้วยความสุขความสำเร็จในงานก็จะตามมา (จิรา เติมจิตรอารีย์, 2550) และหากองค์กรใดแสวงหาคนที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาปฏิบัติงานและสามารถดึงดูดสร้างแรงจูงใจในงานให้เกิดการคงอยู่นานที่สุดย่อมทำให้องค์กรมีความมั่นคง และประสบความสำเร็จได้ง่าย ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานมีความต้องการเหมือนกันคือ ความสุขในการทำงาน และองค์กรที่ต้องการให้บุคลากรมีความสุขในการทำงาน จะต้องส่งเสริมปัจจัยทางบวก และสกัดกั้นปัจจัยทางลบ ถ้าบุคลากรมีความสุขในการทำงาน ผลผลิตขององค์กรก็จะเพิ่มขึ้นและทำให้สังคมโดยรวมดีขึ้นด้วย (พวงเพ็ญ ชุนหปราน, 2549) หากองค์กรใดมีนโยบายในการเสริมสร้างความสุขในการทำงานให้เกิดขึ้นกับบุคลากร ย่อมทำให้เขาเหล่านั้นปฏิบัติงานอย่างเต็มศักยภาพด้วยความรักมีความสุข กระตือรือร้น ทุ่มเทต่อการทำงาน รู้สึกสนุกที่ได้ทำงานมีความ ยึดมั่นผูกพัน เกิดการคงอยู่ และไม่คิดหนีออกจากงาน (ทองคำ สรวมศิริ, 2546)

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้เล้งเห็นความสำคัญของการทำอย่างมีความสุขของบุคลากรโดยเฉพาะสายสนับสนุนในการทำร่วมกันมุ่งไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะ 15 ปี (พ.ศ. 2555-2569) โดยมีทิศทางการพัฒนา คือ 1) การเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ (organic university) 2) การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (green university) และ 3) การเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ (eco university) ซึ่ง ณ ปัจจุบันอยู่ในช่วงการพัฒนาการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (green university) โดยมุ่งหวังการพัฒนาสู่ความถูกต้อง โดยสร้างความสมดุลกับธรรมชาติและการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (green university) ต้องเน้นทั้งเรื่องการรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมที่ดีงาม ตัวอย่างเช่นด้านกายภาพและการบริหาร มหาวิทยาลัยจะดำเนินการในด้านต่างๆ ได้แก่ 1) การมีโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับ green university เช่น พื้นที่ทางเท้า เส้นทางจักรยาน ที่จอดรถรวม การออกแบบอาคารสีเขียว 2) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจนในทุกห่วงโซ่อุปทาน 3) มีการใช้พลังงานทดแทนภายในมหาวิทยาลัย 4) ลดปริมาณของเสียให้เหลือน้อยที่สุด และ 5) มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2559: ระบบออนไลน์) บุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้นำนโยบาย ยุทธศาสตร์การพัฒนา ระยะ 15 ปี มาปฏิบัติและได้ให้ความสำคัญเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่กล่าวถึงการเป็น มหาวิทยาลัยสีเขียว (green University) ให้ชัดเจนเป็นรูปธรรม

จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษา เรื่องการวิเคราะห์เส้นทางปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน ตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ทำให้ทราบถึงข้อมูลทั่วไปที่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) การวิเคราะห์เส้นทางปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน ตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ไปสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว และระดับปัญหาอุปสรรคในการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอย่างเป็นระบบเป็นขั้นตอนและสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับนโยบายการบริหารบุคคลและการพัฒนาการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนางานตลอดจนการพัฒนาองค์กร และสามารถทำการเสริมสร้างหรือกำหนดกลยุทธ์ในการทำงานอย่างมีความสุขอันจะส่งผลต่อคุณภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามยุทธศาสตร์ของการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอย่างแท้จริง

คำสำคัญ : การวิเคราะห์เส้นทาง ความสุข เศรษฐศาสตร์สีเขียว
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : A Structural Equation Model of Factors Affecting Happiness in Working of Supporting Staff at Maejo University Roadmap Go Green University
Abstract :
Keyword :
รูปแบบงานวิจัย : งานวิจัยเชิงคุณภาพ
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Green
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.สุรชัย กังวล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเศรษฐศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2562)
100 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2562
1/1/2562 ถึง 31/12/2562
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในหน่วยงาน
กองทุนสนับสนุนวิชาการฯ คณะเศรษฐศาสตร์
35,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 35,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023