แนวทางการจัดการทรัพยากรประมงเพื่อการพัฒนาสู่วิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษา ชุมชนประมงบริเวณเขื่อนกิ่วลม จังหวัดลำปาง

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-62-01-012.7
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : แนวทางการจัดการทรัพยากรประมงเพื่อการพัฒนาสู่วิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษา ชุมชนประมงบริเวณเขื่อนกิ่วลม จังหวัดลำปาง
บทคัดย่อ :

การศึกษาแนวทางการจัดการทรัพยากรประมงเพื่อการพัฒนาสู่วิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษาชุมชนประมง บริเวณเขื่อนกิ่วลม จังหวัดลำปาง ซึ่งศึกษาในเรื่องของรูปแบบการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมง โดยทำการสัมภาษณ์ชาวประมง จำนวน 75 ราย และศึกษาพฤติกรรมการบริโภคสัตว์นํ้าโดยการสัมภาษณ์ผู้บริโภคจำนวน 100 ราย ผลการศึกษา พบว่า ชาวประมงบริเวณเขื่อนกิ่วลม ส่วนมากเป็นเพศชาย (ร้อยละ 81.33) วัยทำงานตอนปลาย (ร้อยละ 68.00) ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 53.33) ชาวประมงเกือบทั้งหมดมีสถานภาพสมรส (ร้อยละ 98.67) ส่วนใหญ่จะเป็นหัวหน้าครอบครัว (ร้อยละ 66.67) เกือบทั้งหมดเป็นคนในพื้นจังหวัดลำปาง (ร้อยละ 98.67) และส่วนมากจะไม่มีตำแหน่งใดในชุมชน (ร้อยละ 92.00)

ในส่วนของการประกอบอาชีพประมงนั้น พบว่า ส่วนมากจะทำประมงเป็นอาชีพเสริม (ร้อยละ 82.67) มีส่วนน้อยที่ทำประมงเป็นอาชีพหลัก (ร้อยละ 9.33) ชาวประมงมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเท่ากับ 2,335.55 บาท รายได้เฉลี่ยต่อฤดูกาลเท่ากับ 7,896.07 บาท สำหรับการทำประมงนั้น พบว่า ชาวประมงออกทำประมงเฉลี่ย 12-14 วัน/เดือน โดยจะออกทำการประมงมากที่สุดในฤดูร้อน และฤดูหนาวเฉลี่ย 14 วัน/เดือนเท่ากัน และออกทำประมงน้อยที่สุดในช่วงฤดูฝนเฉลี่ย 12 วัน/เดือน ผลจับและชนิดสัตว์นํ้าในการศึกษาครั้งนี้ พบว่า เครื่องมือประมงที่จับสัตว์นํ้าได้มากที่สุด คือ ข่าย โดยมีผลจับสัตว์นํ้าเฉลี่ยเท่ากับ 10.08 กิโลกรัม/เที่ยว/วัน และชนิดปลาที่เครื่องมือข่ายจับได้มากที่สุด คือ ปลาในกลุ่มปลาตะเพียน

ในส่วนของการบริโภคสัตว์นํ้านั้น พบว่า ความถี่ในการบริโภคสัตว์นํ้า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะบริโภคสัตว์นํ้า 1-2 ครั้ง / สัปดาห์ (ร้อยละ 61.00) มีการบริโภคสัตว์นํ้าเฉลี่ย 1.24?0.37 กิโลกรัม/ครั้ง/ครอบคัว มากกว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างจะบริโภคสัตว์นํ้า 1-2 กิโลกรัม/ครั้ง (ร้อยละ 53.00) ชนิดปลาที่นิยมซื้อมาบริโภคในครัวเรือนมากที่สุด คือ ปลานิล (ร้อยละ 97.00) ในส่วนของความพึงพอใจในการบริโภคสินค้าสัตว์นํ้านั้น พบว่า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจในอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.36 ? 0.30 คะแนน)

คำสำคัญ : เขื่อนกิ่วลม ชุมชนประมง ลำปาง การจัดการทรัพยากรประมง
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : FISHERY RESOUECE MANAGEMENT FOR COMMUNITIES ENTERPRISE DEVELOPMENT: CASE STUDY ON FISHING COMMUNITY IN KEW LOM DAM, LAMPANG PROVINCE
Abstract :

The study on fishery resource management for communities enterprise development on fishing community in Kew Lom dam, Lampang province aimed to study the fishery resource utilization by interviewing 75 fishermen and the study of fish consumption by interviewing 100 consumers. The results showed that most fishermen were male (81.33%) and then were late working age (80.00%). The most highest education level was primary level (53.33%), almost of fishermen were married and were local people (98.67%), most of them were householders (66.67%). And most of them were not any committee in the community (92 %) only

As for the fisheries occupation, most of fishermen went to fishing as part-time job (82.67%), while there were a few of them did as the main occupation (9.33%). For their income, the average monthly income was 2,335.55 baht, the average income per season was 7,896.07 baht. For the fishing, it was found that the number of fishing day were average 12-14 days/month; namely 14 days/month in summer and winter but 12 days/month in rainy season rainy (). Moreover, net was found that was the fishing gear which could catch the high number of catch per unit effort that was 10.08 kg./trip/ day. And the fish species that the most caught was Cyprinidae specie.

Regarding to the fish consumption, it was found that the most of consumers consumed fish 1-2 times/week (61.00%) with an average consumption of 1.24? 0.37 kg/time/family. More than half of the samples consumed 1-2 kg/time (53.00%). The most popular type of fish for household consumption was tilapia (97.00%). Finally, the satisfaction of fish was found that the consumers had a high level of satisfaction (X??=2.36 ? 0.30 points).

Keyword : Lom Dam, Fishery community, Lumpang Province, Fishery Management.
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ชุดโครงการ : โครงการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยภายใต้งานวิจัย มจ.1-62-01-012 : การผลิตสัตว์น้าเศรษฐกิจในชุมชนเพื่อพัฒนาสู่วิสาหกิจชุมชน
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 อาจารย์กานต์ ทิพยาไกรศรี
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยหลัก
(2562)
80 ไม่ระบุ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.อานุภาพ วรรณคนาพล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดารชาต์ เทียมเมือง
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2562
1/10/2561 ถึง 30/9/2562
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
191,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 191,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
2 สิงหาคม 2563
วารสารที่ตีพิมพ์ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
ฉบับที่ : 1
หน้า :
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร :
0.2
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
วันที่ดำเนินการรายละเอียด
30 กรกฎาคม 2564
ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์ : การพัฒนาสาธารณะ
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023