ศึกษาการใช้สารสกัดจากพืช มะขามป้อม (Phyllanthus emblica) หอมแดง (Allium
ascalonicum)และ ดอกแค (Sesbania grandiflora) และการใช้ Lactobacillus acidophilus และ ยีสต์
Saccharomyces cerevisiae เสริมในอาหารทดลอง ต่อประสิทธิภาพการเติบโต องค์ประกอบทางเคมีใน
เนื้อปลา และภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ ในการเลี้ยงปลานิล การทดลองแรก ใช้อาหารทดลอง 4 สูตร
ได้แก่ อาหารเสริมวิตามินซี (VC) เป็นอาหารควบคุม, อาหารเสริมด้วยมะขามป้อม (MP), อาหารเสริม
ด้วยหอมแดง (HD) และ อาหารเสริมด้วยดอกแค (DK) เลี้ยงปลานิลขนาดเริ่มต้นเฉลี่ย 53 ก จำนวน 3
ซ้ำ ในกระชัง ระยะเวลาทดลอง 90 วัน ผลการทดลองพบว่า ปลานิลที่เลี้ยงด้วย VC, MP และ HD มี
น้ำหนักสุดท้าย, น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น, อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน (ADG) สูงกว่าปลาที่เลี้ยงด้วย DK อย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อัตราการแลกเนื้อ (FCR) ของปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริม DK และ HD มี
ค่าต่ำกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารควบคุม VC อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่ไม่แตกต่างกับปลาที่
เลี้ยงด้วยอาหารเสริม MP (p>0.05) อัตราการรอดตาย ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในอาหาร
ทดลองทุกสูตรกับชุดควบคุม (p>0.05) หลังเสร็จสิ้นการทดลอง พบว่า ปริมาณโปรตีนในเนื้อปลาที่
เลี้ยงด้วยอาหาร HD มีค่าต่ำสุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเทียบกับปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร
สูตรอื่น แต่ปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร MP มีปริมาณโปรตีนในเนื้อปลาไม่แตกต่างจากอาหารควบคุม (VC)
นอกจากนี้ยังพบว่า ปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหาร MP มีปริมาณฮีมาโตครีต และปริมาณโปรตีนในซีรัม สูง
กว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร DK อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่ไม่แตกต่าง (p>0.05) จากชุดควบคุม (VC) สูตรอาหารที่ต่างกันในการทดลองครั้งนี้ไม่ส่งผลต่อ ปริมาณ ซีรัมไลโซไซม์ ปริมาณเม็ด
เลือดแดง และปริมาณเม็ดเลือดขาว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) การทดลองที่สอง ใช้อาหาร
ทดลอง 4 สูตร ได้แก่ อาหารเสริมวิตามินซี (VC) เป็นอาหารควบคุม, อาหารเสริมด้วย L. acidophilus
0.2% (LB) อาหารที่เสริมด้วยยีสต์ (S. cerevisiae) 0.2% (YS) และอาหารที่เสริมด้วย L. acidophilus
0.2% ผสม ยีสต์ (S. cerevisiae) 0.2% (LY) ตามลำดับ เลี้ยงปลานิลขนาดเริ่มต้นเฉลี่ย 54.4 กรัม จำนวน
3 ซ้ำ ในกระชัง ระยะเวลาทดลอง 90 วัน ผลการทดลองพบว่า ปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหาร YS และ LY มี
น้ำหนักสุดท้ายเพิ่มขึ้น และอัตราการเจริญเติบโตต่อวัน (ADG) สูงกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร VC และ
LB อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อัตราการแลกเนื้อ (FCR) และ อัตราการรอดตาย ของปลาที่เลี้ยง
ด้วยอาหารทดลองในการทดลองครั้งนี้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) หลังเสร็จสิ้น
การทดลอง พบว่า ปริมาณโปรตีนและไขมันในเนื้อปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหาร LY มีค่าสูงกว่าปลาที่เลี้ยง
ด้วยอาหารควบคุม (VC) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่ไม่แตกต่างจากปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร
LB และ YS (p>0.05) และปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหาร YS และ LY มีปริมาณฮีมาโตครีต และปริมาณ
โปรตีนในซีรัม สูงกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร VC อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) นอกจากนี้ยังพบว่า
สูตรอาหารที่ต่างกันในการทดลองครั้งนี้ไม่ส่งผลต่อปริมาณ ซีรัมไลโซไซม์ ปริมาณเม็ดเลือดแดง และ
ปริมาณเม็ดเลือดขาว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ผลการทดลองในครั้งนี้สรุปได้ว่า สามารถใช้
สารสกัดจากมะขามป้อม (MD) เสริมในอาหารทดลองเลี้ยงปลานิลแทนการใช้วิตามินซี และ การใช้
ยีสต์ S. cerevisiae และ การใช้ S. cerevisiae ร่วมกับ L. acidophilus ผสมในอาหารทดลอง ช่วยเสริม
ประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะในการเลี้ยงปลานิลโดยไม่ส่งผลกระทบต่อ
การเจริญเติบโต องค์ประกอบทางเคมีในเนื้อปลา และภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ