การศึกษาชีววิทยาและสภาวะที่เหมาะสมในการเก็บรักษาฝักและเมล็ดกล้วยไม้ สมุนไพรนกคุ้มไฟ (Anoectochilus burmanicus Rolfe) เพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-62-01-009
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การศึกษาชีววิทยาและสภาวะที่เหมาะสมในการเก็บรักษาฝักและเมล็ดกล้วยไม้ สมุนไพรนกคุ้มไฟ (Anoectochilus burmanicus Rolfe) เพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
บทคัดย่อ :

การศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมและแสง LED ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของกล้วยไม้ดินนกคุ้มไฟ (Anoectochilus burmanicus Rolfe) มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) สารวจและศึกษาสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ดินนกคุ้มไฟ 2) ศึกษาผลของแสง LED ที่มีต่อการเจริญเติบโตและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของกล้วยไม้ดินนกคุ้มไฟ การสารวจและศึกษาสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ดินนกคุ้มไฟดาเนินการในพื้นที่ป่าบ้านปงไคร้ ตาบลโป่งแยง อาเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยทาการวางแปลงศึกษา แบบเจาะจง 2 แบบ คือ ขนาด 2 x 2 เมตร จานวน 9 แปลง และขนาด 10 x 10 เมตร จานวน 1 แปลง ที่ความสูง 1,000 เมตร จากระดับน้าทะเลปานกลางขึ้นไป ทาการวัดความสูงจากระดับน้าทะเล วัดอุณหภูมิของดิน วัดความเข้มแสง ทาการเก็บดินที่ความลึก 0-30 เซนติเมตร นามาวิเคราะห์คุณสมบัติของดิน สารวจจานวนต้นที่พบในแต่ละแปลง หาค่าความหนาแน่น (Density) ของจานวนต้นต่อหน่วยพื้นที่ บันทึกลักษณะสัณฐานวิทยา จากนั้นนามาหาค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าปัจจัยสภาพแวดล้อมของป่าดิบเขาที่ไม่ถูกรบกวน ที่ความสูง 1,000 เมตร จากระดับน้าทะเลปานกลางขึ้นไป ดินมีความเป็นกรด-ด่าง ปานกลาง ปริมาณอินทรียวัตถุในดินสูง ธาตุอาหารในดินอยู่ในระดับปานกลางไปถึงสูง และความเข้มแสงต่า มีผลต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ดินนกคุ้มไฟ

ส่วนการศึกษาผลของแสง LED ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต และสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของกล้วยไม้ดิน นกคุ้มไฟ ทาการวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design : CRD) โดยเพาะเลี้ยงต้นกล้วยไม้ดินนกคุ้มไฟในสภาพปลอดเชื้อ ภายใต้การให้คุณภาพแสงต่าง ๆ 5 กรรมวิธี คือ แสงจากหลอด LED สีแดงร่วมกับสีน้าเงินในอัตราส่วน 3:1 1:1 1:3 แสงจากหลอด LED สีขาว และแสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ ให้แสง 12 ชั่วโมงต่อวัน ที่ความเข้มแสง 20 ?molm-2s-1 เป็นเวลา 24 สัปดาห์ สุ่มเก็บตัวอย่างกรรมวิธีละ 10 ต้น เพื่อวัดการเจริญเติบโต ปริมาณคลอโรฟิลล์ จานวนปากใบต่อพื้นที่ และประมาณสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ พบว่า แสงจากหลอด LED สีแดงต่อสีน้าเงินอัตราส่วน 1:3 ทาให้กล้วยไม้ดินนกคุ้มไฟมีจานวนใบ ความกว้างใบ ความยาวใบ จานวนราก ความยาวราก ปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ บี คลอโรฟิลล์รวมสูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีอื่น ขณะที่แสงจากหลอด LED สีแดงต่อสีน้าเงินอัตราส่วน 1:1 ส่งผลให้ลาต้นของกล้วยไม้ดินนกคุ้มไฟมีความหนาของลาต้นสูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีอื่น ส่วนต้นที่เพาะเลี้ยงภายใต้แสงจากหลอด LED สีขาว ให้ความกว้างทรงพุ่ม น้าหนักสด และน้าหนักแห้งสูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีอื่น และต้นที่เพาะเลี้ยงภายใต้แสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ มีความสูงมากสูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีอื่น จากการวิเคราะห์สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ พบว่า ต้นกล้วยไม้ดินนกคุ้มไฟที่เพาะเลี้ยงภายใต้แสงจากหลอด LED สีแดงต่อสีน้าเงินอัตราส่วน 3:1 มีปริมาณฟีนอลิกรวม ปริมาณฟลาโวนอยด์รวม และความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดอย่างมีนัยสาคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีอื่น ในขณะที่ต้นที่เพาะเลี้ยงภายใต้แสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ให้ปริมาณพอลิแซคคาไรด์สูงที่สุด

คำสำคัญ : กล้วยไม้ดินนกคุ้มไฟ สัณฐานวิทยา กายวิภาค แสง LED สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : STUDY OF ENVIRONMENT AND LED AFFECTING THE GROWTH AND BIOACTIVE COMPOUND CONTENTS OF ANOECTOCHILUS BURMANICUS ROLFE
Abstract :

The objectives of this research were to 1) study the environment that affects the growth of Anoectochilus burmanicus Rolfe and 2) study LEDs affecting the growth and bioactive compound contents of A. burmanicus Rolfe. For the first part; study sites were located in Ban Pong Krai Forest, Pong Yang Sub District, Mae Rim District, Chiang Mai Province. The plant survey considered two types, 9 plots 2m x 2m, and 1 plot 10m x 10m using specific sampling method at 1,000 meters above the mean sea level (MASL). Altitude, soil temperature, and light intensity were measured. Soil samples at 0-30 cm. in each plot were collected for soil properties analysis. The number and density of A. burmanicus Rolfe in each plot were collected. Morphological characteristics were recorded. The relationship between environment factors, plant growth and density was subjected to analysis of Pearson’s correlation. The results of this research showed that the some environment factors of the undisturbed dry to evergreen forest, such as the height, the acidic-alkaline soil, the amount of high organic matter in the soil, the moderately high nutrients in the soil and shaded conditions were suitable conditions for the growth of A. burmanicus Rolfe.

In the second part; A. burmanicus Rolfe. were cultured in a temperature-controlled room at 25 oC under light density 20 ?molm-2s-1 .Completely Randomized Design (CRD) was conducted by exposing to LEDs red light (RL) and blue light (BL) in ratio of RL to BL was 3: 1, 1: 1, 1: 3., white LEDs (WL) and fluorescent light (FL) for 12 hours a day for 24 weeks to investigate the effects of various light qualities on growth indices, photosynthetic pigments, stomatal density and the accumulation of secondary metabolites. The results showed that RL:BL (3:1) had positive effects on A. burmanicus Rolfe ; leaf number, leaf width, leaf length , root number, root length, chlorophyll A content, chlorophyll B content, total chlorophyll content increased significantly. RL: BL (1:1) treatment showed significantly higher stem diameter. WL treatment showed significantly higher bush width, fresh weight and dry weight. FL treatment showed significantly higher stem high. RL:BL (3:1) showed significantly higher total phenolic contents, total flavonoids contents and %DPPH than the others. FL showed significantly higher total polysaccharides contents than the others.

Keyword : Anoectochilus burmanicus Rolfe, Morphology, Anatomy, LEDs, Bioactive compounds
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2562)
100 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2562
1/10/2561 ถึง 30/9/2562
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
342,650.00
   รวมจำนวนเงิน : 342,650.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
1 มกราคม 2562
วารสารที่ตีพิมพ์ : วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย 
ฉบับที่ : 1(11)
หน้า :
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย 
0.8
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023