การศึกษาคุณภาพทางเคมี และการสีของเมล็ดของสายพันธุ์ข้าวที่ได้จากโครงการย่อยที่ 1 และโครงการย่อยที่ 2

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-62-01-004.3
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การศึกษาคุณภาพทางเคมี และการสีของเมล็ดของสายพันธุ์ข้าวที่ได้จากโครงการย่อยที่ 1 และโครงการย่อยที่ 2
บทคัดย่อ :

คุณภาพทางเคมีและคุณภาพการสีของข้าว มีความสำคัญต่อการปรับปรุงพันธุ์ข้าว เพื่อให้ได้ข้าวที่เป็นที่ต้องการของตลาด ดีต่อสุขภาพของผู้บริโภคและเหมาะสมต่อการแปรรูปต่อไปตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ประกอบด้วยข้าวเจ้า จำนวน 16 ตัวอย่าง เป็นข้าวเจ้าพันธุ์เปรียบเทียบ 6 ตัวอย่างและข้าวเจ้าที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์ 10 ตัวอย่าง และข้าวเหนียวจำนวน 9 ตัวอย่าง เป็นข้าวเหนียวพันธุ์เปรียบเทียบ 2 ตัวอย่าง ข้าวเหนียวที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์ 7 ตัวอย่าง นำมาทำการวัดคุณภาพทางเคมีกายภาพ คุณภาพการสี คุณภาพด้านการหุงและการรับประทาน พบว่าความชื้นของข้าวเปลือกและข้าวสารของข้าวเจ้ามีค่าอยู่ในช่วง 11.9-13.0 และ 10.0-10.7 กรัม/100 กรัม ตามลำดับ ส่วนความชื้นของข้าวเปลือกและข้าวสารของข้าวเหนียวมีค่าอยู่ในช่วง 12.1-12.7 และ 9.8-10.4 กรัม/100 กรัม ตามลำดับ ปริมาณข้าวสารที่ได้จากข้าวเจ้าและข้าวเหนียวมีค่าอยู่ในช่วง 62.4-67.2 และ 60.8-64.7 กรัม/100 กรัม ตามลำดับ ปริมาณข้าวสารเต็มเมล็ดและต้นข้าวของข้าวเจ้าและข้าวเหนียวมีค่าเท่ากับ 62.1-93.6 และ 65.1-84.8 กรัม/100 กรัม ตามลำดับ ข้าวเจ้าในการทดลองนี้มีเมล็ดสั้น เมล็ดยาวปานกลางและเมล็ดยาวจำนวน 1 7 และ 8 ตัวอย่าง ตามลำดับ ไม่มีตัวอย่างที่มีเมล็ดยาวมาก ส่วนข้าวเหนียวในการทดลองนี้มีเมล็ดยาวปานกลางและเมล็ดยาวจำนวน 4 และ 5 ตัวอย่าง ตามลำดับ การสลายตัวในด่างของข้าวเจ้ามีค่าตั้งแต่ 3-7 ส่วนข้าวเหนียวมีค่า 6-7 จากการวัดระยะการไหลของเจล พบว่าแป้งสุกที่ได้จากแป้งข้าวเจ้าในการทดลองนี้เป็นประเภทแป้งสุกแข็งและแป้งสุกแข็งมาก ส่วนแป้งสุกที่ได้จากแป้งข้าวเหนียวเป็นแป้งสุกอ่อน ยกเว้นแป้งข้าวเหนียวตัวอย่างที่ 8 ที่จัดเป็นแป้งสุกอ่อนมาก ความหนืดสูงสุด (peak viscosity) ในการทดลองนี้มีค่า 961.3-3057.8 และ 1212.3-1767.8 cP สำหรับแป้งขา้ วเจา้ และแป้งขา้ วเหนียว ตามลาํ ดบั

อุณหภูมิในการเกิดเจลของแป้งขา้ วเจา้ และแป้งขา้ วเหนียวในการทดลองนี้มีค่าอยใู่ นช่วง 85.0-92.1

และ 71.6-76.4 องศาเซลเซียส ตามลาํ ดบั การปรับปรุงพนั ธุ์ส่วนใหญ่มีผลในขา้ วเจา้ โดยลดปริมาณ

ขา้ วทอ้ งไข่ได้ แนวโนม้ ความยาว ความกวา้ งและความหนาของเมด็ นอ้ ยกวา่ ขา้ วพนั ธุ์เปรียบเทียบ

สัดส่วนความยาวต่อความกวา้ งสูงกวา่ ขา้ วพนั ธุ์เปรียบเทียบ มีท้งั การลดและเพ่มิ ปริมาณอะมิโลสใน

ขา้ วที่ทาํ การปรับปรุงพนั ธ์มีท้งั ที่สูงกวา่ และต่าํ กวา่ ตวั อยา่ งขา้ วพนั ธุ์เปรียบเทียบ มีการยืดตวั ที่เพิ่ม

สูงขึ้น และผลกระทบเล็กนอ้ ยดา้ นความหนืดเมื่อเปรียบเทียบกบั ตวั อยา่ งขา้ วพนั ธุ์เปรียบเทียบ

ดงั น้นั การปรับปรุงพนั ธุ์สามารถนาํ มาใชใ้ นการปรับปรุงคุณภาพของขา้ วไดโ้ ดยเฉพาะขา้วเจ้า

คำสำคัญ : ขา้ วเจา้ , ขา้ วเหนียว , อะมิโลส , การละลายตวั ในสารละลายด่าง , ความคงตวั ของแป้งสุก , อุณหภูมิแป้ง สุก , อตั ราการยดื ตวั ของเมลด็ ขา้ วสุก , คุณภาพการสี
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Study of Chemical and Milling Quality of Rice Varieties from Subproject 1 and Subproject 2
Abstract :

Chemical and milling quality of rice is important for rice breeding to meet not only market need but also for consumer health and processing suitability. In this research, 25 rice samples, 16 rice (6 reference rice and 10 breeding rice) and 9 glutinous rice samples (2 reference glutinous rice and 7 breeding glutinous rice), from subproject 1 and subproject 2 were examined for physicochemical, milling, cooking and eating qualities. The results showed as follows:- the moisture contents of paddy and rice of non-glutinous rice were 11.9-13.0 and 10.0-10.7 g/100 g, respectively, the moisture contents of paddy and rice of glutinous rice were 12.1-12.7 and 9.8-10.4 g/100 g, respectively. The percentages of polished rice from non-glutinous and glutinous rice were 62.4-67.2 and 60.8-64.7 g/100 g, respectively. The percentages of whole and head rice from non-glutinous and glutinous rice were 62.1-93.6 and 65.1-84.8 g/100 g, respectively. The non-glutinous rice shape was short, medium long and long grain for 1, 7 and 8 samples, respectively and the glutinous rice shape was medium long and long for 4 and 5 samples, respectively. The alkali test results were in the ranges of 3-7 and 6-7 for non-glutinous and glutinous rice, respectively. For gel consistency consideration, it was found that the non-glutinous rice belonged to hard and very hard cooked gel type and the glutinous rice belonged to soft cooked gel type, except for sample no.8 that belonged to very soft cooked gel type. The peak viscosities were 961.3-3057.8 and 1212.3-1767.8 cP for non-glutinous and glutinous rice flour, respectively. The pasting temperatures were 85.0-92.1 และ 71.6-76.4 ?C for non-glutinous and glutinous rice flour, respectively. Moreover, breeding showed the better effective in rice more than glutinous rice. Rice with breeding had decreased chalky grain, length, wide, thickness but they had increased elongation ratio during cooking. Breeding could both increase and decrease amylose content and they had affected on the thermal property of rice. In conclusion, breeding could improve the milling, chemical, cooking and eating qualities.

Keyword : Non-glutinous Rice, Glutinous Rice, Amylose, Alkaline test, Gel consistency, Gelatinization temperature, Elongation ratio, Milling Quality
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 รองศาสตราจารย์ ดร.วิวัฒน์ หวังเจริญ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ผู้วิจัยหลัก
(2562)
40 ไม่ระบุ
2 อาจารย์ ดร.จิตราพร งามพีระพงศ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ผู้วิจัยร่วม
30 ไม่ระบุ
3 รองศาสตราจารย์ ดร.วิจิตรา แดงปรก
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ผู้วิจัยร่วม
20 ไม่ระบุ
4 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์ แสงทอง
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2562
1/10/2561 ถึง 30/9/2562
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
298,775.00
   รวมจำนวนเงิน : 298,775.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
24 กรกฎาคม 2563
วารสารที่ตีพิมพ์ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
ฉบับที่ : The 12th Internation conference on Science, Techno
หน้า :
ระดับการนำเสนอ :
เจ้าของวารสาร :
0.4
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023