การศึกษาการทำงานร่วมกันของยีนควบคุมการสังเคราะห์แอนโทไซยานินสองชนิดในข้าวเพื่อการสร้างแอนโทไซยานินและการใช้เป็นยีนเครื่องหมายในการปรับปรุงพันธุ์ข้าว

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-60-059/61-081
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2561
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การศึกษาการทำงานร่วมกันของยีนควบคุมการสังเคราะห์แอนโทไซยานินสองชนิดในข้าวเพื่อการสร้างแอนโทไซยานินและการใช้เป็นยีนเครื่องหมายในการปรับปรุงพันธุ์ข้าว
บทคัดย่อ :

การสังเคราะห์แอนโทไซยานินในข้าวมียีนควบคุมที่สำคัญซึ่งเป็นรหัสของโปรตีน ทรานสคริพชันแฟคเตอร์ควบคุมการแสดงออกของยีนโครงสร้างในวิถีการสังเคราะห์แอนโทไซยานิน ในงานวิจัยนี้ ได้ศึกษายีนควบคุม OsC1 ซึ่งมีรหัสของโปรตีนทรานสคริพชันแฟคเตอร์ชนิด Myb จากใบอ่อนของข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีขาว แดง และดำโดยทำการโคลนยีนแบบ full-length และเปรียบเทียบลำดับเบสและลำดับกรดอะมิโนของยีนที่โคลนได้กับยีนในฐานข้อมูล พบว่า ยีน OsC1 มีขนาด 1,292 bp ประกอบด้วย 3 เอกซอน และ 2 อินทรอน ในข้าวขาวและแดงเกิดการขาดหายของนิวคลีโอไทด์ 10 คู่เบส ในบริเวณเอกซอนที่ 3 ทำให้เกิดการกลายพันธุ์แบบ frameshift มีผลทำให้เกิดรหัสหยุดก่อนกำหนด และได้โปรตีนมีขนาดสั้นลง นอกจากนี้ พบการแทนที่เบสที่ตำแหน่งอื่น ๆ ทำให้เกิดการแทนที่ของกรดอะมิโนในบริเวณเอกซอนที่ 3 มีผลกระทบต่อบริเวณ DNA-binding domain ซึ่งเป็นบริเวณ R2R3 ของโปรตีนทรานสคริพชันแฟคเตอร์ชนิด Myb และอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ยีน OsC1 ไม่ทำงานในข้าวขาวและแดง ทำให้ไม่สามารถสังเคราะห์แอนโทไซยานินได้ จากการวิเคราะห์การแสดงออกของยีน OsC1 ด้วยเทคนิค RT-PCR พบว่า ข้าวขาว แดง และดำ ที่นำมาวิเคราะห์ มีการแสดงออกของยีน OsC1 และพบการแสดงออกทั้งในเนื้อเยื่อใบอ่อนและเมล็ดอ่อน แสดงว่า ยีน OsC1 อาจมีบทบาทสำคัญต่อการสังเคราะห์แอนโทไซยานินทั้งในใบและเมล็ด เมื่อนำยีน OsC1 ที่โคลนได้จากข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีดำพันธุ์ก่ำมาทำการสร้างชุดยีนที่ประกอบด้วยยีน OsC1 อยู่ภายใต้การควบคุมของ dual 35s Promoter และ nos Terminator และนำชุดยีนที่ได้มาสร้างพลาสมิดชุดยีน (gene construct) โดยใช้ pCAMBIA1305.1 เป็น binary vector ซึ่งมียีน gus เป็นยีนรายงานผล และมียีน hptII เป็นยีนเครื่องหมายคัดเลือก แล้วส่งถ่าย construct เข้าสู่อะโกรแบคทีเรียมสายพันธุ์ EHA105 เพื่อใช้สำหรับการถ่ายยีนเข้าสู่ข้าว ซึ่งคณะผู้วิจัยได้รับทุนอุดหนุนวิจัย ประจำปี 2561 ต่อเนื่องจากโครงการวิจัยนี้ เพื่อศึกษาหน้าที่และการทำงานร่วมกันของยีนควบคุมการสังเคราะห์แอนโทไซยานินสองชนิดในข้าว คือ OsC1 และ OsB2 ซึ่งกำลังดำเนินงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง การเข้าใจโครงสร้างของยีนควบคุมการสังเคราะห์แอนโทไซยานินในข้าวขาวและข้าวสี จะเป็นประโยชน์ต่อการประยุกต์ใช้เป็นยีนเครื่องหมายในการปรับปรุงพันธุ์ข้าว โดยเทคนิคการปรับปรุงพันธุ์ระดับโมเลกุลและเทคนิคพันธุวิศวกรรมได้ในอนาคต

คำสำคัญ : ข้าว แอนโทไซยานิน ยีนควบคุม ยีนเครื่องหมาย
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Complementary effects of two regulatory genes in anthocyanin biosynthesis of rice for anthocyanin pigmentation and use as marker genes in rice improvement
Abstract :

The regulatory genes encode transcription factors that regulate expression of structural genes in anthocyanin biosynthesis pathway in rice. In this study, cloning of a regulatory OsC1 gene, encoding a Myb transcription factor, from young leaves of white, red and black rice varieties was performed by PCR. The cloned full-length OsC1 genes were analyzed by comparison of their nucleotide sequences and deduced amino acid sequences with those in GenBank. It was found that the cloned full-length OsC1 genes had 1,292 bp in length containing 3 exons and 2 introns. In white and red rice varieties, the genes contained 10-bp deletion in the 3rd exon, resulting in a frameshift mutation, the occurrence of a premature stop codon, and truncated polypeptides. Moreover, the base substitutions were detected in white and red rice varieties, causing amino acid substitutions at a few positions. These frameshift mutation and base substitutions affecting the region of DNA-binding domain of R2R3 region of Myb transcription factor might result in non-function of the OsC1 gene in white and red rice varieties and no pigmentation of anthocyanins. Expression analysis of regulatory OsC1 gene by RT-PCR revealed that the tested white, red and black rice varieties showed expression of OsC1 gene in young leaves and developing seeds, suggesting that OsC1 gene might play an important role in regulation of anthocyanin biosynthesis in leaves and seeds. The cloned OsC1 gene from rice variety, Kam, with dark purple/black pericarp was made of the gene cassette under the control of dual 35s Promoter and nos Terminator. The gene cassette was then constructed into binary vector, pCAMBIA1305.1 which has gus and hptII as reporter gene and selectable marker gene, respectively. The construct was transformed into Agrobacterium tumefaciens, strain EHA105 for rice transformation. The research has been continued and supported by the grant of 2018 from the Office of Agricultural Research and Extension, Maejo University. The OsC1 has been transformed into rice in order to study function of the gene and the interaction of two regulatory genes, which are OsC1 and OsB2 in regulation of anthocyanin biosynthesis. The understanding of structure of regulatory genes in anthocyanin biosynthesis in white and colored rice varieties will be beneficial in use as marker genes for improvement of rice by molecular breeding and genetic engineering in the future.

Keyword : rice, anthocyanins, regulatory genes, marker gene
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2561)
60 ไม่ระบุ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศรีเมฆ ชาวโพงพาง
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
20 ไม่ระบุ
3 รองศาสตราจารย์ ดร.แสงทอง พงษ์เจริญกิต
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
15 ไม่ระบุ
4 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์ แสงทอง
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
5 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2561
1/10/2560 ถึง 30/9/2561
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
287,600.00
   รวมจำนวนเงิน : 287,600.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
8 พฤษภาคม 2562
วารสารที่ตีพิมพ์ : Thai Journal of Science and Technology 
ฉบับที่ : 5
หน้า :
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
0.8
9 มกราคม 2567
วารสารที่ตีพิมพ์ : Plant Gene
ฉบับที่ : 37
หน้า :
ระดับการนำเสนอ : ระดับนานาชาติ
เจ้าของวารสาร : Elsevier
1
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023