การพัฒนาผลิตภัณฑ์ฟิชฟิงเกอร์และฟิชเบอร์เกอร์แช่เยือกแข็งจากปลาดุกรัสเซีย

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-60-062.4
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 กันยายน 2559 ถึง 1 ตุลาคม 2560
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ฟิชฟิงเกอร์และฟิชเบอร์เกอร์แช่เยือกแข็งจากปลาดุกรัสเซีย
บทคัดย่อ :

ปลาดุกรัสเซีย (Clarias gariepinus) เป็นปลานํ้าจืดที่ได้มีการเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย เนื่องจากเลี้ยงง่าย เจริญเติบโตได้รวดเร็ว มีขนาดลำตัวโตและมีเนื้อมาก แต่ยังไม่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากปลาดุกรัสเซียที่เหมาะสมในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากเนื้อปลาดุกรัสเซียมีกลิ่นคาวปลาค่อนข้างมากและมีไขมันไม่อิ่มตัวสูง อาจทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคและมีปัญหาในการเก็บรักษา งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการล้างนํ้าเนื้อปลาบดต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพในระหว่างการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ฟิชฟิงเกอร์และฟิชเบอร์เกอร์แช่เยือกแข็งที่ -18 องศาเซลเซียสเป็นเวลานาน 5 เดือน สุ่มตัวอย่างมาตรวจที่ 0, 1, 2, 3, 4 และ 5 เดือน พบว่าการล้างนํ้าเนื้อปลาดุกรัสเซียทำให้มีองค์ประกอบทางเคมี ได้แก่ ปริมาณความชื้น ไขมัน โปรตีนและเถ้าลดลง (p<0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าเนื้อปลาดุกรัสเซียที่ผ่านการล้างนํ้ามี pH และค่า TBARS ลดลง ส่วนปริมาณโปรตีนที่สามารถละลายได้หรือไมโอไฟบริลลาโปรตีนมีค่าเพิ่มขึ้น (p<0.05) ผลิตภัณฑ์ฟิชฟิงเกอร์ที่ได้จากเนื้อปลาดุกรัสเซียที่ได้มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดี โดยมีความชื้น ไขมัน โปรตีนและเถ้าอยู่ในช่วงร้อยละ 40.84-43.88, 32.45-35.67, 12.84-13.53 และ 1.42-1.74 ตามลำดับ เมื่อระยะเวลาในการเก็บรักษาโดยการแช่เยือกแข็ง (-18 องศาเซลเซียส) เพิ่มขึ้น พบว่าปริมาณโปรตีนที่สามารถละลายได้มีแนวโน้มลดลง ในทางตรงกันข้ามค่า TBARS จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การล้างนํ้าเนื้อปลาบดสามารถช่วยชะลอการลดลงของโปรตีนที่สามารถละลายได้ และชะลอการเพิ่มขึ้นของค่า TBARS ดังนั้นการล้างนํ้าเนื้อปลาดุกรัสเซียสามารถช่วยรักษาคุณภาพการเก็บรักษาของฟิชฟิงเกอร์แช่เยือกแข็งได้

คำสำคัญ : การผลิต สัตว์น้ำเศรษฐกิจ ชุมชนต้นแบบ ความปลอดภัยด้านอาหาร และสิ่งแวดล้อม
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Product development of fish finger and fish burger from African catfish
Abstract :

African catfish (Clarias gariepinus) is a freshwater fish that has been widely cultured all over Thailand because of its easy farming, fast growth, large body size and high flesh yield. However, there is no available commercial catfish products due to the presence of fishy off-flavour and high unsaturated fat content that may cause consumer unacceptance and storage difficulties. The purpose of this research was to study the effect of washing of fish mince on quality changes during storage of frozen fish finger and fish burger at -18 ? C for 5 months. The samples were determined for quality changes at 0, 1, 2, 3, 4 and 5 months. It was found that the chemical composition, i.e., moisture, fat, protein and ash contents, of washed mince decreased significantly (p <0.05). The pH and TBAR of the washed mince were decreased, while the amount of soluble protein or myofibrillar protein was increased (p <0.05). The fish finger products have good nutrition as follows:- the moisture, fat, protein and ash contents were in the ranges of 40.84-43.88, 32.45-35.67, 12.84-13.53, and 1.42-1.74 %, respectively as the storage time (at -18 ? C) increased. The soluble protein contents is likely to decrease and the TBARS value is likely to increase. Therefore, mince washing could improve keeping quality of frozen fish finger.

Keyword : African catfish, fish finger, fish burger, keeping quality
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ชุดโครงการ : แผนงาน หรือชุดโครงการ
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 รองศาสตราจารย์ ดร.วิจิตรา แดงปรก
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ผู้วิจัยหลัก
(2560)
100 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2559
30/9/2559 ถึง 1/10/2560
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินแม่โจ้
0.00
   รวมจำนวนเงิน : 0.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
24 กรกฎาคม 2563
วารสารที่ตีพิมพ์ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
ฉบับที่ : The 12th Internation conference on Science, Techno
หน้า :
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร :
0.2
1 กันยายน 2564
วารสารที่ตีพิมพ์ : Food and Applied Bioscience Journal 
ฉบับที่ : VOLUME9 ISSUE2
หน้า :
ระดับการนำเสนอ : ระดับนานาชาติ
เจ้าของวารสาร : คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยยาลัยเชียงใหม่
0.6
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023