ศึกษาความเหมาะสมของการใช้ไส้ไก่เป็นวัตถุดิบในการผลิต silage เพื่อใช้เป็นอาหารในการ
เลี้ยงปลาดุกอัฟริกัน (Clarias gariepinus) โดยในขั้นตอนแรก ศึกษาประสิทธิภาพของกรด citric ใน
ความเข้มข้นที่ต่างกัน (4% 6% 8% และ 10%) ในการหมักไส้ไก่สดที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 30 วัน ผล
การทดลองพบว่า โปรตีนและไขมันใน silage ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเทียบกับไส้
ไก่สด ในทุกระดับความเข้มข้นของกรด citric อย่างไรก็ตามการหมักไส้ไก่ด้วยกรด citricที่ความเข้มข้น
8% และ 10% มีปริมาณโปรตีนใน silage สูงกว่าการหมักที่ความเข้มข้น 4% และ 6% อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ (p<0.05) ในการทดลองต่อมา เพื่อผลิตอาหาร silage แห้ง ใช้ silage ที่ได้จากการหมักไส้ไก่
ด้วยกรดซิติก 8% ผสมกับวัตถุดิบอาหารสัตว์ ได้แก่ รำละเอียด และ กากถั่วเหลือง โดยผสมรำละเอียด
ลงใน silage ที่ระดับ 10% 20% 30% 40% และ 50% (RB10, RB20, RB30, RB40 และ RB50
ตามลำดับ) และผสมกากถั่วเหลืองลงใน silage ที่ระดับ 20% 30% 40% และ 50% (SB20, SB30, SB40
และ SB50 ตามลำดับ) พบว่า โปรตีนและไขมันใน อาหาร silage ผสมรำละเอียดลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ (p<0.05) ในทุกระดับของการผสม แต่ โปรตีนใน อาหาร silage ผสมกากถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในทุกระดับของการผสม ในขณะที่ไขมันลดลงในทุกระดับของการ
ผสม การทดลองสุดท้าย ใช้อาหารจากการทดลองที่สอง ที่ผสม silage กับ รำละเอียด ที่ระดับ 10% 20%
30% และ 40% (RB10, RB20, RB30 และ RB40) หรือ ผสมกากถั่วเหลือง ที่ระดับ 20% 30% 40% และ
50% (SB20, SB30, SB40 และ SB50) โดยใช้อาหารสำเร็จรูปปลาดุกเป็นอาหารควบคุม (Contr) เลี้ยง
ปลาดุกอัฟริกัน จำนวน 3 ซ้ำ ซ้ำละ 30 ตัว (น้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 16.05 ก.) ระยะเวลาทดลอง 60 วัน เมื่อ
สิ้นสุดการทดลองพบว่า ปลาดุกอัฟริกันที่เลี้ยงด้วยอาหาร Contr มีน้ำหนักเพิ่ม อัตราการเจริญเติบโต
จำเพาะ (SGR) สูงกว่า และ อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ (FCR) ต่ำกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเปรียบเทียบกับปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร silage ผสม รำละเอียดทุกระดับ (RB10, RB20, RB30 และ RB40)
และ อาหาร silage ผสมกากถั่วเหลืองบางระดับ ได้แก่ SB30, SB40 และ SB50 ตามลำดับ (p<0.05) แต่
ไม่แตกต่างกับปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร SB20 (p>0.05) อัตรารอดของปลาในการทดลองไม่แตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ระดับโปรตีนในเนื้อปลาเมื่อสิ้นสุดการทดลองไม่ได้รับผลกระทบ
จากอาหารทดลอง (p>0.05) แต่ระดับไขมันในเนื้อปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร silage ผสมกากถั่วเหลืองทุก
ระดับ (SB20, SB30, SB40 และ SB50) มีค่าต่ำกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรอื่นอย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติ (p<0.05) การทดลองครั้งนี้สรุปได้ว่า สามารถใช้กากถั่วเหลืองผสม silage ได้ไม่เกิน 20% ในการ
ผลิตอาหารเลี้ยงปลาดุกอัฟริกัน (Clarias gariepinus)