ปัจจัยด้านการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกชื้อกล้วยไม้ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดภาคเหนือ

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-60-095
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 กันยายน 2559 ถึง 1 ตุลาคม 2560
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : ปัจจัยด้านการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกชื้อกล้วยไม้ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดภาคเหนือ
บทคัดย่อ :

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาปัจจัยด้านการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกชื้อกล้วยไม้ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดภาคเหนือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกชื้อกล้วยไม้ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดภาคเหนือ ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ตาก พิษณุโลก และนครสวรรค์ โดยทำการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2560 การเก็บข้อมูลทำการเก็บข้อมูลแบบสุ่มตัวอย่างจากทุกจังหวัด ๆละ 120 ตัวอย่าง โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละและแบ่งเป็นระดับ ต่าง ๆ โดยมีการแปลผลให้มีค่าตั้งแต่น้อยที่สุด จนถึงมากที่สุด ผลของการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 35 - 44 ปี โดยส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจส่วนตัว มีรายได้ส่วนใหญ่ระหว่าง 20,001 - 30,000 บาท นอกจากนี้แล้วผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อาศัยอยู่บ้าน และสมรสแล้ว เมื่อวิเคราะห์ถึงระดับของส่วนผสมทางการตลาดแล้วพบว่า ปัจจัยทั้งสี่ด้าน คือ ช่องทางการจัดจำหน่าย ราคา ผลิตภัณฑ์ และการส่งเสริมการตลาดอยู่ในระดับมาก ผู้ตอบแบบสอบถามชื่นชอบกล้วยไม้ประเภทแตกกอในกลุ่มสกุลแวนด้า โดยมักจะซื้อจากตลาดที่อยู่ใกล้บ้าน หรือตลาดนัดกล้วยไม้ในที่ต่างๆ โดยพวกเขาไม่มีร้านประจำ ส่วนในเรื่องการตัดสินใจในการซื้อมักเป็นการตัดสินใจซื้อด้วยตนเอง และพบว่า ความพึงพอใจหลังจากการซื้อนั้นอยู่ในระดับมาก ผลจากการอภิปรายพบว่าสอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้านี้

คำสำคัญ : พฤติกรรมการซื้อ
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Marketing factors that towards to Consumer Behavior to Buying Process of Orchids in Upper North Provinces.
Abstract :

This study aims to explore marketing factors affecting buying orchid decision of consumers in the Northern Part of Thailand, namely, from Chiang Mai, Chiang Rai, Tak, and Pitsanulok. Data collection was done during October 1st 2016 to September 30th 2017. Samples were randomly selected by dividing to 120 samples from each province. Data analysis was frequency, and percentage and then translated into 5 levels starting from least agreed to most agreed. Results show that the majority of respondents were consumers with the age of 35-44 years old, female, self-employed, 20,001-30,000 baht per month income. In addition, they resides at home and married. Analyzing on there level of marketing mix factors; it is found that all four marketing mix, namely, place, price, products and promotion were in ‘strongly agreed’; they prefer sympodial orchids in the species of Monopodial. They normally make the purchase from orchid market near fresh market or at orchid market. They don’t have regular shops. The satisfactory level is high after they have made the purchase. The result of the study is in accordance with the previous studies by others.

Keyword : Marketing Mix, 4P's, Orchid
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อายุส หยู่เย็น
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะบริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยหลัก
(2560)
50 ไม่ระบุ
2 น.ส.พรสวรรค์ ดวงจันทร์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร / กองบริหารงานวิจัย / งานบริหารเงินทุนวิจัย
ผู้วิจัยร่วม
50 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2560
1/10/2559 ถึง 30/9/2560
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินแม่โจ้
300,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 300,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
29 กันยายน 2562
วารสารที่ตีพิมพ์ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
ฉบับที่ :
หน้า :
ระดับการนำเสนอ :
เจ้าของวารสาร :
0.4
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023