การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของลิ้นจี่ในแปลงรวบรวมพันธุ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-60-061
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 กันยายน 2559 ถึง 1 ตุลาคม 2560
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของลิ้นจี่ในแปลงรวบรวมพันธุ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ :

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้เก็บรวบรวมลิ้นจี่ไว้หลายพันธุ์ การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของลิ้นจี่ในแปลงรวบรวบพันธุกรรมของมหาวิทยาลัยแม่โจ้จำนวน 22 พันธุ์ และลิ้นจี่ลูกผสมที่ได้จากแปลงเกษตรกรในอ.ฝาง จ.เชียงใหม่จำนวน 1 พันธุ์ โดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอชนิด ISSR (Inter-Simple Sequence Repeat) จำนวน 25 ไพรเมอร์ พบแถบ ดีเอ็นเอที่เพิ่มปริมาณได้ทั้งหมดจำนวน 130 แถบ (เฉลี่ย 5.2 แถบ/ไพรเมอร์) แถบดีเอ็นเอที่มีความหลากรูปจำนวน 112 แถบ (เฉลี่ย 4.48 แถบ/ไพรเมอร์) ค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือนระหว่างลิ้นจี่แต่ละพันธุ์อยู่ในช่วง 0.378 (ระหว่างพันธุ์แห้วจีนกับโกมินทร์) ถึง 1.000 (ระหว่างพันธุ์ฮงฮวยกับสำเภาทอง, สำเภาแก้วกับสาแหรกทอง และกวางเจากับโอเฮี๊ยะ) เมื่อจัดกลุ่มความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของลิ้นจี่โดยใช้ลำไยเป็นตัวเปรียบเทียบ พบว่าพันธุกรรมของลิ้นจี่แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ค่อนข้างสอดคล้องกับพื้นที่ปลูก ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วยลิ้นจี่ที่ปลูกในภาคกลาง กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วยลิ้นจี่ที่ปลูกในภาคกลางและภาคเหนือ และกลุ่มที่ 3 ประกอบด้วยลิ้นจี่ที่ปลูกในภาคเหนือ ในการทดลองนี้พบแถบดีเอ็นเอที่มีความจำเพาะกับลิ้นจี่ 2 พันธุ์ คือ แถบดีเอ็นเอที่ 3 ของไพรเมอร์ 817 จำเพาะกับลิ้นจี่พันธุ์บริวสเตอร์ และแถบดีเอ็นเอที่ 2 ของไพรเมอร์ 881 จำเพาะกับลิ้นจี่พันธุ์กิมเจง

คำสำคัญ : ลิ้นจี่ ความหลากหลายทางพันธุกรรม เครื่องหมายโมเลกุล ไอเอสเอสอาร์
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Genetic diversity of litchi cultivars in germplasm field of Maejo University
Abstract :

Many cultivars of Litchi chinensis were collected in Maejo University. This study aimed to measure genetic diversity of 22 cultivars collected in the university and one cultivar from orchard in Fang district of Chiang Mai province using 25 primers of ISSR (Inter-Simple Sequence Repeat) marker. The results showed that the total number of bands was 130 (average 5.2 bands/primer) and the total number of polymorphic bands was 112 (average 4.48 bands/primer). The similarity coefficient among cultivars varied from 0.378 (between Haeojeen and Komin) to 1.000 (between Honghuai and Samphaothong, Samphaokaeo and Sareakthong, Kwangjao and O-hia). The constructed dendrogram using longan as out group revealed that the genetics of litchi were divided into 3 groups, rather corresponding to cultivated area. All cultivars of group 1 were cultivated in the central part of Thailand, whereas group 2 consisted of cultivars from the central and the northern part of Thailand and all cultivars of group 3 were cultivated in the northern part of Thailand. Moreover, the bands specific to cultivar were found. The 3rd band of primer 817 present only in Brewster, and the 2nd band of primer 881 was found only in Kimjeng.

Keyword : : Litchi chinensis, Genetic diversity, Molecular marker, ISSR
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพเยาว์ คบพิมาย
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2560)
70 ไม่ระบุ
2 นายศรัณย์ จีนะเจริญ
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
3 น.ส.จันทร์เพ็ญ สะระ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร / กองบริหารงานบริการวิชาการ / งานปรับปรุงและขยายพันธุ์พืช และสัตว์
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
4 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วินัย วิริยะอลงกรณ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะผลิตกรรมการเกษตร
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2560
1/10/2559 ถึง 30/9/2560
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินแม่โจ้
350,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 350,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
15 มิถุนายน 2560
วารสารที่ตีพิมพ์ : การตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
ฉบับที่ : ประชุมวิชาการพันธุ์ศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 20 15-1
หน้า :
ระดับการนำเสนอ :
เจ้าของวารสาร :
0.2
10 กรกฎาคม 2561
วารสารที่ตีพิมพ์ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
ฉบับที่ : P: 2-17 – ต้นฉบับ
หน้า :
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร :
0.2
24 มกราคม 2562
วารสารที่ตีพิมพ์ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
ฉบับที่ : การประชุมวิชาการระดับชาติ พะเยาวิจัย ครั้งที่ 8 24
หน้า :
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร :
0.2
3 พฤษภาคม 2559
วารสารที่ตีพิมพ์ : Thai Journal of Science and Technology 
ฉบับที่ : 3
หน้า :
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
0.8
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023