การสังเคราะห์วรรณกรรมเรื่องมหาสติปัฏฐาน๔

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-59-084
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2558 ถึง 30 กันยายน 2559
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การสังเคราะห์วรรณกรรมเรื่องมหาสติปัฏฐาน๔
บทคัดย่อ :

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อรวบรวมและประมวลสาระความรู้จากวรรณกรรมปัจจุบันเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นการสำรวจเพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์เนื้อหาสาระจากวรรณกรรม โดยประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ วรรณกรรมยุคปัจจุบันเรื่อง สติปัฏฐาน ๔ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๙-๒๕๕๙ (๑๐ ปี) จำนวน ๑๐๐ เล่ม ผลการศึกษาพบว่า จากการรวบรวมหนังสือวรรณกรรมปัจจุบันที่เกี่ยวข้องเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ จำแนกประเภทตามลักษณะวรรณกรรมเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ แบ่งออกเป็น ๔ ประเภทวรรณกรรม ดังต่อไปนี้ ประเภท ๑)วรรณกรรมแนววิชาการ หมายถึง หนังสือวิชาการ แนวเขียนแบบตำราต่าง ๆ และเกี่ยวกับพระไตรปิฎก มักอ้างอิงคำบาลีเพื่ออธิบายความเนื้อหาสาระ จำนวน ๑๕ เล่ม ร้อยละ ๑๕ ประเภท ๒)วรรณกรรมแนวคำสอนครูบาอาจารย์ หมายถึง คำสอนครูบาอาจารย์ที่อธิบายวิธีการภาคทฤษฎีและแนวปฏิบัติเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ จำนวน ๔๕ เล่ม ร้อยละ ๔๕ ประเภท ๓)วรรณกรรมแนวนักเขียนค้นคิด หมายถึง งานเขียนที่ผู้เขียนได้ค้นคิดศึกษาเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ จากการศึกษาของผู้เขียน จำนวน ๒๕ เล่ม ร้อยละ ๒๕ ประเภท ๔)วรรณกรรมแนวบูรณาการศาสตร์สมัยใหม่ หมายถึง หนังสือที่ผู้เขียนได้นำหลักการเรื่องมหาสติปัฏฐานไปบูรณาการเขียนกับศาสตร์สมัยใหม่หรือการนำหลักการมหาสติปัฏฐาน ๔ ไปประยุกต์ใช้กับศาสตร์สมัยใหม่ จำนวน ๑๕ เล่ม ร้อยละ ๑๕

วัตถุประสงค์ (๒) เพื่อวิเคราะห์เรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ จากวรรณกรรมประเภทนักเขียนคิดค้น โดยลักษณะจากวรรณกรรมแนวนักเขียนคิดค้น หมายถึง งานเขียนที่ผู้เขียนได้ค้นคิดศึกษาเรื่องสติปัฏฐาน ๔ โดยผ่านการประมวลองค์ความรู้ความเข้าใจของตัวผู้เขียนเอง ผลการศึกษาพบว่า (๑) ด้านแนวคิด พบว่า สมาธิสร้างเกิดพลังอำนาจเหนือความรู้สึกตัวกูของกูว่างจากตัวตน ใช้การเรียนรู้โดยการปฏิบัติเข้าถึงความเป็นจริงแห่งวิถีการบรรลุธรรม โดยจุดเริ่มต้นการภาวนาอยู่ที่ใจนำจิตไปสู่การปฏิบัติ สร้างความสงบภายในโดยการเห็นอย่างลึกซึ้งสู่ความเป็นอริยบุคคล (๒) ด้านหลักการ พบว่า การฝึกภาวะจิตให้สงบ เพ่งจิตให้นิ่ง ดูจิต ตั้งจิต และพัฒนาจิต ยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาให้จิตเห็นไตรลักษณ์ นำธรรมมาพิจารณาสร้างปัญญาญาณ ยกระดับจิตไปสู่ภาวะจิตดั้งเดิมที่ไม่ปรุงแต่ง (๓) ด้านวิธีการ พบว่า ดูลมหายใจให้ถูกวิธีโดยฝึกจิต มีสติอยู่กับกาย ความรู้สึก จิต ปรากฎการณ์ นำฌานสู่ญาณใช้จิตตามดู สู่จิตว่าง อาศัยฐานกาย เวทนา จิต และธรรม และสร้างความรู้ตัว พิจารณารูปนาม วางใจเป็นอุเบกขา ต่อทุกสภาวะธรรม เข้าใจรู้จักสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงกฎของไตรลักษณ์ (๔) ด้านผล พบว่า ตัววัดผล คือ ตัวรู้ ตัวละ ตัวปัญญา มีสติตามทันทุกความคิดของจิต ที่รู้เท่าทันความเป็นจริง อยู่กับปัจจุบัน ปัญญาเกิดเหนือจิต เหนือกาย เหนือประสาทการรับรู้ เห็นด้วยตนเอง

วัตถุประสงค์ (๓) เพื่อวิเคราะห์เรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ จำแนกว่าด้วยด้านกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ประเภทแนวคำสอนครูบาอาจารย์ ผลการศึกษาพบว่า ด้านกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน พบว่า กายเป็นที่ตั้งของความรู้สึก กายเป็นที่ปฏิบัติธรรม เป็นที่ประชุมแห่งความจริง เพ่งกายตามรู้กาย นำลมหายใจเอาสติมาตั้งไว้และทำความรู้ตัว ฝึกอิริยาบถใหญ่ย่อยการเคลื่อนไหวเป็นอุปกรณ์กรรมฐานสร้างความรู้สึกตัวและความตระหนักรู้อย่างมีสติ ด้านเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน พบว่า เน้นอารมณ์ปัจจุบัน ทำความรู้สึกตัว ผัสสะกระทบอายตนะภายในภายนอก มีสติตามรู้เวทนา เวทนาอาศัยรูปเกิด ปรุงแต่งเวทนาที่ไหนกำหนดที่นั้นให้รู้ทุกข์ที่ตั้งไว้ กำหนดอาการนามลักษณะต่าง ๆ สุข ทุกข์ อุเบกขา ต้องวางเป็นกลางให้มีสัมปชัญญะควบคุม สติกำหนดชัดจะเห็นอารมณ์ชัด ด้านจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน พบว่า ความบริสุทธิ์แห่งจิต จิตเดิมแท้ไม่ปรุงแต่ง สติกำหนดจิตตามรู้จิต ที่ตั้งแห่งการทำงานจิตคือกรรมฐาน จิตตภาวนาเครื่องมือพัฒนาจิตให้สูงฝึกฝนจิตให้จิตตั้งมั่น จิตมองเห็นด้วยตาใจ ตื่นตระหนักรู้ สร้างดวงจิตด้วยปัญญา ด้านธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พบว่า ความเห็นแจ้งทางปัญญา มรรค ๘ อริยสัจ ๔ คือทางดับทุกข์ สัมมาทิฐิเป็นประธานได้ปัญญารู้ตามความเป็นจริง วิปัสสนาญาณ คือ ความเห็นแจ้งในรูปนาม เครื่องกำหนดพิจารณาแจ่มแจ้งรู้เข้าใจในเหตุปัจจัยทั้งปวง เข้าใจสภาวะธรรมตามความเป็นจริง พิจารณาไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

วัตถุประสงค์ (๔) เพื่อวิเคราะห์เรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ จากวรรณกรรมปัจจุบันประเภทแนวคำสอนครูบาอาจารย์ ผลการศึกษาพบว่า (๑) แนวคิดเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ เป็นการปฏิบัติธรรม คือ ความดับทุกข์เป็นทางสายเอกทางเดียวไปสู่การพ้นทุกข์ โดยเห็นสิ่งทั้งหลายถูกต้องตามความเป็นจริง ตามแนวทางไตรลักษณ์ แนวทางสร้างศีล สมาธิ ปัญญา ทางแห่งปัญญาเจริญวิปัสสนา รู้แจ้งชัดเพื่อความหลุดพ้น (๒) หลักการเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ สาระสำคัญปฏิบัติ แนวทางปฏิบัติเน้นการเจริญภาวนาบริกรรมพุทโธ เมื่อปฏิบัติจิตสงบตั้งมั่นแล้วยกขึ้นพิจารณาองค์ธรรม การเจริญอานาปานสติกำหนดลมหายใจ สร้างหลักการต้องชำนาญทั้งปริยัติและปฏิบัติ ด้วยแนวทางศีล สมาธิ ปัญญา เจริญปัญญาเน้นอริยสัจ ๔ เป็นหลักการและมรรค ๘ เป็นทางแห่งความพ้นทุกข์ ดังนั้นหลักการสติปัฏฐาน ๔ ทำให้เกิดสติและเกิดปัญญา จิต ปีติปราโมทย์ทุกลมหายใจเข้าออก เป็นการฝึกจิตตามหลักการกายคตาสติ ให้สมาธิเป็นฐานกำหนดจิต พิจารณากายอิริยาบถยืนเดินนั่งนอน ให้จิตใส่ใจในอิริยาบถ (๓) วิธีการเป็นการปฏิบัติให้บรรลุตามหลักการ มีลักษณะวิธีการเจริญสมาธิแบบธรรมชาติ หรือตามแบบแผนเทคนิควิธีเพื่อเป็นอุบายให้เกิดสมาธิ เช่น การเดินจงกรม กำหนดลมหายใจ ใช้คำบริกรรม ใช้คำภาวนา กำหนดลมหายใจพร้อมคำบริกรรมว่า “พุทโธ” ใช้ปัญญาในการปฏิบัติธรรม สร้างความรู้สึกรู้ตัว สติและสมาธิความตั้งมั่น จิตมีสมาธิคือ เป็นผู้ดู ผู้รู้ ทำด้วยความรู้สึกตัว จิตเป็นกำลังพัฒนาอริยสัจ ๔ ใช้สมาธิกำหนดจิตตั้งมั่น หยั่งรู้ในฌาน เห็นไตรลักษณ์ ความไม่เที่ยง

วัตถุประสงค์ (๕) เพื่อวิเคราะห์เรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ ว่าด้วยด้านจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานจากวรรณกรรมประเภทนักเขียนคิดค้น ผลการศึกษาพบว่า ๑) ด้านแนวคิด พบว่า การพัฒนาจิตบริสุทธิ์ จิตสะอาด โดยใช้เครื่องมือ คือ มหาสติปัฏฐาน ๔ พิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม นำไปสู่กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางจิต การฝึกจิตบริสุทธิ์คือการเจริญสมาธิวิปัสสนา โดยสร้างพื้นฐานสติ คือ ใช้กำหนดลมหายใจตั้งจิตพิจารณา พิจารณาทุกสิ่งตามความเป็นจริงให้รู้ถึงความไม่เที่ยงตามกฎไตรลักษณ์ ๒) ด้านหลักการ พบว่า การผูกสติอยู่บนฐานจิต และการสร้างสติบนกายด้วยความรู้สึกตัวชัดเจน สติตามรู้ทันจิต ฝึกจิตปฏิบัติจิตให้มีความสงบ ฝึกฝนการรวมจิตให้เกิดความสงบ ให้จิตเท่าทันความคิดและอารมณ์ โดยสติและความรู้สึกตัวดึงจิตอยู่กับปัจจุบัน จิตปรุงแต่งอารมณ์จากอายตนะ ฝึกฝนจนเกิดความนิ่งของจิต หลักการฝึกจิตคือการปฏิบัติธรรม ดูการเปลี่ยนแปลงจิต การสร้างสติและความรู้สึกตัวให้รู้ทันความคิด และการเคลื่อนไหวของจิต รู้เห็นอาการของจิต ๓) ด้านวิธีการ พบว่า การฝึกรู้ทันความคิด วิธีการฝึกเจริญสติ การใช้สติ และสัมปชัญญะ วิธีการแบบสมถะกรรมฐาน คือ การเพ่งจิต อบรมจิต จิตแน่วแน่ ให้ฝึกจิตให้พิจารณาข้อธรรม วิธีการแบบวิปัสสนากรรมฐาน คือ การอบรมจิตขึ้นสู่อบรมปัญญา ต้องฝึกตั้งสติดูจิต จิตตั้งมั่นเกิดปัญญาจากสติและสมาธิ ฝึกฝนการสร้างปัญญา สติทำให้คุณภาพจิตตระหนักรู้ความจริง เพียรสอนจิตด้วยปัญญา

คำสำคัญ : มหาสติปัฏฐาน ๔ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน วรรณกรรม สังเคราะห์
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : The Synthesis of the Literature the on Mahasatipatthana 4
Abstract :

The purpose of this research was to collect and codify the comprehension and understanding in Mah?satipa??h?na IV. It was the qualitative research by emphasized survey for leading content analysis from literature. The population and sample was the present literature on Mah?satipa??h?na IV which had published in the year of 2016 -2006 about 100 copies. The results of the study were found that from the collect the text present literature on Mah?satipa??h?na IV which was classified the type of the literature characteristic of Mah?satipa??h?na IV. It was classified into four types they were; 1. Type of academic literature means academic book, the various text writing and Tipi?aka that was referred Pali word for explanation about 15 copies, 25 percentages. 2. Type of teaching word literature of teacher means teaching of the teacher that had explained both the theory and practicing of Mah?satipa??h?na IV about 45 copies, 45 percentages. 3. Type of thinker literature means writing that had studied from Mah?satipa??h?na IV about 15 copies, 25 percentages. 4. Type of modern science integration means the books that the writer had brought Mah?satipa??h?na IV to integrate with the modern science about 15 copies, 25 percentages.

The purpose of this research was to analyze about the Mahasatipatthana IV concept from the author-devised literature. The characteristics of the literature was the author-devised which meant about the literature which had been researched of the Mahasatipatthana IV concept through processing the author’s knowledge and comprehension gained from studying through ten volumes of literature. The result of the research revealed that: 1) Concerning about the concept, it was found that the concentration being made could create the power superior to the feeling of ego and vacancy out of individualism. The learning procedure was led by practicing in order to access into the actuality of attain the enlightenment. The threshold point of practicing the Dhamma began at one’s heart leading one’s mind to practice. Inner peace was then engendered by having an insight into being a noble person. 2)Concerning about the principle, it was found that the practice of making one’s mind peaceful, concentrating one’s mind to be stable, pondering the mind, then settling and developing it before lifting it to Vipassana meditation could lead one to see the Trilaksana. In addition, Dhamma was then brought to ponder in order to make the intuition or wisdom. The mind would then be uplifted into its prior state which had not yet been fabricated.3)Concerning the method, it was found that one’s breath in and out should be monitored correctly by practicing the mind. One should be self-subconscious with mind always attached with body and had feeling of mind. The phenomenon was that the meditative absorption was brought to insight with the mind attached. This would lead to the free mind. One should abide by the body base, Vedhana, mind and Dhamma and create the state of being self-conscious, considering the body and mind, settling the mind to equanimity for every state of Dhamma.Lastly, one should comprehend and acknowledge what occurred according to the factuality of the Trilaksana rule. 4)Concerning the results, it was found that the assessor were that one knew, one forsook, and one attained wisdom. One should be self-conscious and keep pace of every thought of the mind which kept abreast of actuality existed with the present time. Wisdom was originated above the mind and body, superior to the perceptive neuron and that could be seen by oneself.

The objective of this research article was to analyse Mah?satipa??hana IV in term of K?y?nupassan?satipa??h?na, Vedan?nupassan?satipa??h?na, Citt?nupassan?satipa??h?na and Dhamm?nupassan?satipa??h?na. The research showed that on K?y?nupassan?satipa??h?na aspect was found that body was the establish of felling, the combination of truth, concentrated body, known body, brought the breath and concentrated mind and became aware, practiced the big bodily movement by digesting movement that was the instrument of Kamma??h?na for the aware and realized aware good mind. On the Vedan?nupassan?satipa??h?na aspect was found that it was emphasized the present emotion, be conscious of being, phassa touch inside ?yatana and outside ?yatana, had consciousness follow and known Vedan?, Vedan? reside in R?pa birth, where think incorrectly Vedan? and aware that place for known the suffering, set the various characteristic name, happy, suffer, neutrality, made neutrality by making control awareness and mind clearly conduct, it will have clearly emotion. O the Citt?nupassan?satipa??h?na aspect was found that the pure of mind was not think incorrectly, consciousness set mind, following mind awareness, setting of mind was Kamma??h?na, Cittabh?van? was the instrument of mind development in higher rank, practiced the permanent mind, mind saw with mind eye, awareness and created the mind with the wisdom. On Dhamm?nupassan?satipa??h?na aspect was found that the enlightenment of wisdom as the Middle Part and the Four Noble Truth was the way of the stopping suffering, Samm?di?hi was the chair of wisdom and known following the truth. Vipassan????a was the enlightenment in Rupa and Namma, the instrument of knowing consideration in the all cause and factor, understood the natural condition to come true, considering the Three Characteristics ; Anicca?, Dukkha? and Anatt?.

The purpose of this research was to analyze about the Mahasatipatthana IV concept from the teacher-led paradigm literature. It was the qualitative research by emphasized leading content analysis from the teacher-led paradigm literature The result of the study revealed that : 1 ) Concerning about the concept of Mahasatipatthana IV as the Dharma practice, it was found that the extinguishment of suffering being purely a mere single major path leading to the extrication of suffering. One shall see all the things in a correct way under the truth and the path of Trilaksana. One shall follow the path of Silas, Samadhi and Panya which encompass into the noble path of making insight meditation, meaning that to know clearly for extrication. 2 ) Concerning the principle of Mahasatipatthana IV, the rationale lies on practicing which focuses on the path of doing the meditation with reciting Buddho. Once the mind is tranquilized and settled, then it should be brought up to ponder over the Dharma bodies. Doing the mindfulness on breathing, its principle is to be built upon being expert in both Dharma and practicing, following the path of Silas, Samadhi and Panya. To grow the wisdom, the Four Noble Truths shall be chiefly emphasized and the Noble Eightfold Path being the way to extricate out of suffering. Therefore, the principle of Mahasatipatthana IV brings forward the consciousness and wisdom. The mind is full with joy and happiness at every breath in and out. This is how to practice the mind according to the Kayagatasati, with the Samadhi being the base of fixing mind. Then one shall consider four actions of body moving, namely standing, walking, sitting and lying, with putting mind into those actions. 3 ) Concerning the methods pertaining to Mahasatipatthana IV, this is about the practice of attaining the goal under the principle. The method of doing meditation is in a natural manner or follows the traditional technique in order to be a trick for bringing out Samadhi or concentration e.g. walking meditation, practicing the breath, reciting verses or using prayer. This can be done easily by practicing the breath with reciting ‘Buddho’. Also, one shall exert the wisdom in practicing Dharma, building consciousness, mindfulness and Samadhi as well as an establishment. The mind is then concentrated which means one sees and knows and do things with being subconscious. The mind is empowered to develop the Four Noble Truths, using Samadhi to practice the mind to be established, discerning in contemplation, seeing in Trilaksana and uncertainty.

The purpose of this research was to analyze about the Mahasatipatthana IV pertaining to the Jittanupassanasatpatthana concept from the author-devised literature. The characteristics of the literature was the author-devised which meant about the literature which had been researched of the Mahasatipatthana IV concept through processing the author’s knowledge and comprehension gained from studying through fifteen volumes of literature. These literatures had been analytically studied about the details of mind in particular.The result of the research revealed that:1 )Concerning about the concept, it was found that the development of mind to be purely clean through the use of Mahasatipatthana IV in considering body, sympathy, mind and Dhamma could lead to the process of mental changing. To practice one’s mind to be purely clean is to make Vipassana meditation or concentration with building fundamental base of subconsciousness i.e. to consider each breath and ponder over everything according to the truth so as to enlighten in uncertainty under the Trilaksana rule. 2 ) Concerning about the principle, it was found that there were several ways of practicing mind. That is to say, one practiced by attaching subconsciousness with the mental base and to make subconsciousness on body with being fully self-conscious or awake. Try controling subconsciousness to keep pace of the mind, practicing the mind to be in peaceful state, practicing how to concentrate mind to be tranquil to keep its pace with thought and emotion, while subconsciousness and self-consciousness fixing the mind with the existing state at present. The mind was formulated of emotion from Ayatana, practiced hard until the mind was at a standstill. The principle of practicing mind was to practice Dhamma, observing the changes of mind, making one’s subconsciousness and self-consciousness to keep pace with thought and motion of mind, knowing and seeing actions of mind. 3 ) Concerning the method, it was found that to practice of keeping up with thought, how to make meditation, having subconsciousness and awareness and practice of intensive meditating were among methods being used to practice mind. This included concentrating one’s mind, training of mind to make it focused in pondering the Dhamma contents. The practicing method of Vipassana meditation included training of one’s mind to rise into training of one’s wisdom which needed training subconsciousness and looking at mind until the mind was fully established and then the wisdom was derived from being self-conscious and concentrated. One should practice building wisdom. Subconsciousness could make mind realized of the truth, therefore one should instill the mind through exerting wisdom.

Keyword : Mah?satipattah?na IV, K?y?nupassan?satipa??h?na, Vedan?nupassan?satipa??h?na, Citt?nupassan?satipa??h?na and Dhamm?nupassan?satipa??h?na present-day literature, Synthesis, Literature
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 น.ส.สรัญญา โชติรัตน์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ / สำนักงานคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ / งานบริการวิชาการและวิจัย
ผู้วิจัยหลัก
(2559)
100 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2559
1/10/2558 ถึง 30/9/2559
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
120,100.00
   รวมจำนวนเงิน : 120,100.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
15 พฤษภาคม 2562
วารสารที่ตีพิมพ์ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
ฉบับที่ : การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3 นครน่าน : นคร
หน้า :
ระดับการนำเสนอ :
เจ้าของวารสาร :
0.2
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023