แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดเชียงใหม่สู่การค้าระดับประเทศ(กรณีศึกษา:ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีระดับต่ำกว่า 3 ดาว)

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-59-078
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2558 ถึง 30 กันยายน 2559
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดเชียงใหม่สู่การค้าระดับประเทศ(กรณีศึกษา:ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีระดับต่ำกว่า 3 ดาว)
บทคัดย่อ :

วัตถุประสงค์ของการศึกษามี 3 ประเด็นหลัก ดังนี้ เพื่อศึกษาบริบทชุมชน สภาพการผลิตการตลาด ระดับศักยภาพความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร และเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารสู่ความเข้มแข็ง รวมทั้งเสนอแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดเชียงใหม่ที่เกิดจากการมีส่วนร่วม (PAR) ให้ได้รับมาตรฐานระดับประเทศ จากการสอบถามกลุ่มตัวอย่าง โดยเก็บจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ในการลงพื้นที่ จำนวน 12อำเภอ จาก 25 อำเภอในพื้นที่ที่มีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีศักยภาพสูงที่สุด ตามคำแนะนำของสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ จากการลงพื้นที่รวบรวมข้อมูลพบว่ามีเพียง 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสันทราย และอำเภอพร้าว ที่มีความสามารถที่จะพัฒนาศักยภาพแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารที่มีระดับต่ำกว่า 3 ดาวสู่การค้าระดับประเทศได้ กลุ่มผู้ผลิตวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ที่มีศักยภาพที่สามารถพัฒนาธุรกิจไปสู่มาตรฐานการค้าระดับประเทศ ทั้งนี้ได้ศึกษาผลิตภัณฑ์ 2 ชนิด ข้าวเกรียบมันกัลยา และจิ้นส้มหมก โดยวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของธุรกิจ ศักยภาพความเข้มแข็ง ปัจจัยมีผลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน รวมถึงแนวทางการพัฒนาของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดเชียงใหม่

จากการศึกษาพบว่า ทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ ข้าวเกรียบมันกัลยา จิ้นส้มหมก มีรสชาติอร่อย ต่างเป็นที่ต้องการของผู้บริโภครวมทั้งนักท่องเที่ยวในระดับปานกลาง สามารถหาซื้อได้จากร้านขายของฝากตามแหล่งท่องเที่ยว สื่อทางวิทยุและปากต่อปาก และข้อเสนอแนะ ในส่วนข้าวเกรียบมันกัลยา ควรเพิ่มความหลากหลายของรสชาติ ส่วนจิ้นส้มหมก ควรมีเครื่องวันผลิต และวันหมดอายุที่ชัดเจน ปัจจัยมีผลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ความสามัคคี และความเข้มแข็งของกลุ่ม อีกทั้งผู้นำจะต้องบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล ส่วนการพัฒนาของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารนั้น สามารถพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปสู่การค้าระดับประเทศได้ไม่ยากเนื่องจากมีหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง

คำสำคัญ : : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ วิสาหกิจชุมชน แปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Guidelines for the Development Food Processing of Community Enterprises Products in Chiang Mai, To National Trade. (A Case Study of the level below 3-Star OTOP)
Abstract :

The objective of this study were to study community context, production, and marketing situation, potential level of strength, and to analyze factor affecting on development of food community enterprise in Chiang Mai Province with Participatory Action Research (PAR). Data were collected from 12 districts in the highest potential food community enterprises according to the suggestion of Chiang Mai Department of Agriculture, i.e., Sansai and Pharo districts. The food community enterprises randomed were alu potato chips and Jinsom busy.

It could be concluded that these products corresponded with consumer demand in the medium level and the consumers can buy them at souvenir shops in each tourist attraction influencing the demand by mouth to mouth and radio media. Moreover, the varieties of taste in alu chips were important and Jinsom busy should be made related to produced and expired date.

Keyword : Product Development, Community Enterprise, Processing food Products
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รภัสสรณ์ คงธนจารุอนันต์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเศรษฐศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2559)
80 ไม่ระบุ
2 อาจารย์ชัช พชรธรรมกุล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะพัฒนาการท่องเที่ยว
ผู้วิจัยร่วม
20 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2559
1/10/2558 ถึง 30/9/2559
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
218,200.00
   รวมจำนวนเงิน : 218,200.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
วันที่ดำเนินการรายละเอียด
12 มกราคม 2560
รูปแบบการนำเสนอ : การบรรยาย
ระดับการนำเสนอ : ระดับนานาชาติ
ชื่องานประชุม/กิจกรรม : The 9th ASAE International Conference Transformation in Agricultural and food Economy in Asia 11-13 January 2017 Bangkok, Thailand
สถานที่ : Bangkok, Thailand
หน่วยงานที่จัด : Asian Soceity of Agricultural Economics, Kasetsart University, Thailand Development Research Institute, Agricultural Economics Association of Thailand under Royal Patronage
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023