การแยกและการตรวจสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับไลเคนซึ่งเก็บจากพื้นที่การเกษตร

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-59-071
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2558 ถึง 30 กันยายน 2559
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การแยกและการตรวจสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับไลเคนซึ่งเก็บจากพื้นที่การเกษตร
บทคัดย่อ :

ไลเคนเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยกันของ mycosymbiont และ photosymbiont อย่างไรก็ตามมีการรายงานว่ามีแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับไลเคนเป็นกลุ่มที่สามด้วย วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้คือการแยกแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับไลเคน และการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ สามารถแยกแบคทีเรียได้จำนวน 119 ไอโซเลต จากไลเคนสกุล Parmotrema ที่เก็บจากต้นยางพารา ในพื้นที่การเกษตร อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เมื่อจำแนกชนิดของแบคทีเรียโดยการหาลำดับเบสของ 16S rRNA อยู่ในสกุล Acinetobacter, Pseudomonas, Bacillus, Paenibacillus, Lysinibacillus, Brevibacillus, Staphylococcus และ Virgibacillus นำแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับไลเคนเหล่านี้มาทดสอบความสามารถในการยับยั้งจุลินทรีย์ การผลิตไฮโดรไลติกเอนไซม์ การละลายฟอสเฟต การผลิตอินโดลแอซิติกแอซิด และการตรึงไนโตรเจน เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียก่อโรค Bacilus cereus, Escherichia coli, Enterobacter cloacae, Listeria monocytogenes, Pseudomonas aeruginosa, Salmonella Typhi, Shigella sonei Staphylococcus aureus และ Xanthomonas campestris เบื้องต้นด้วยวิธี spot on lawn พบว่า มีแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับไลเคนจำนวน 36 ไอโซเลตที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย S. aureus ได้ และเมื่อนำน้ำเลี้ยงเชื้อที่ปราศจากเซลล์มาทดสอบกิจกรรมการยับยั้ง ด้วยวิธี Agar well diffusion assay พบว่า มีแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับไลเคนในสกุล Bacillus จำนวน 9 ไอโซเลต ที่แสดงความสามารถในการยับยั้งเชื้อการเจริญของ S. aureus จากการทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อราโดยทดสอบกับเชื้อรา 4 ชนิดที่แยกได้จากลำไย ได้แก่ Ascomycete sp. LD01-2, Aspergillus sp. L4.1D, Diaporthe sp. LD05-5 และ Fusarium sp. L5.2A ซึ่งแยกได้จากลำไย รวมทั้ง Aspergillus niger TISTR3012, A. flavus TISTR3130 และ F. solani TISTR786 และพบว่ามีเชื้อแบคทีเรียเอนโดไฟท์จำนวน 35 ไอโซเลต ที่สามารถยับยั้งเชื้อราก่อโรคได้อย่างน้อย 1 ชนิด ประกอบด้วยเชื้อแบคทีเรียในสกุล Bacillusและ Paenibacillus

เมื่อนำแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับไลเคนมาทดสอบการผลิตเอนไซม์ไฮโดรไลติก พบว่ามีแบคทีเรียจำนวน101 ไอโซเลต ที่สามารถผลิตเอนไซม์เซลลูเลสได้ จากการเกิดวงใสบนอาหาร carboxy methyl cellulose (CMC) ที่ถูกราดด้วย congo red จากกิจกรรมของ CMCase พบว่าแบคทีเรียที่สามารถผลิตเอนไซม์เซลลูเลสได้สูงที่สุดคือ Bacillus amyloliquefaciens คือ 77.32 มิลลิยูนิตต่อมิลลิลิตร สำหรับการผลิตเอนไซม์โปรติเอสมี 98 ไอโซเลตที่ให้ผลบวก โดย Bacillus ap. ผลิตได้สูงสุดเท่ากับ 32.45 ยูนิต/มิลลิลิตร ในจำนวนแบคทีเรียที่ตรวจ พบว่า B. velezensis ผลิตเอนไซม์อะไมเลสได้สูงสุดเท่ากับ 0.78 ยูนิต/มิลลิลิตร มีแบคทีเรีย Bacillus และ Paenibacillus จำนวน 8 ไอโซเลต ที่มีสามารถย่อยสลายไคติน แบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับไลเคน จำนวน 65 ไอโซเลต มีความสามารถในการละลายฟอสเฟต ซึ่งเป็นแบคทีเรียในสกุล Acenitobacter, Bacillus, Brevibacillus และ Paenibacillus และพบว่า Bacillus megaterium LC 106 และ LC56 มีความสามารถในการละลาย Ca3(PO4)2 ได้สูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญ คือ 89.0 และ 88.1 ไมโครกรัมฟอสเฟตต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ สำหรับการตรึงไนโตรเจน มีแบคทีเรียในสกุล Acinetobacter, Bacillus, Lysinibacillus, Paenibacillus and Staphylococcus จำนวน 66 ไอโซเลตที่สามารถเจริญในอาหาร ที่ปราศจากแหล่งไนโตรเจน นอกจากนี้มีแบคทีเรียจำนวน 61 ไอโซเลต ผลิต IAA ได้ระหว่าง 0.52-22.32 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร โดยไอโซเลตที่ผลิตได้สูงที่สุด คือ B. megaterium ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าไลเคนเป็นแหล่งที่มาใหม่ของแบคทีเรียที่มีศักยภาพสำหรับการใช้ทางเภสัชกรรม อุตสาหกรรม และการเกษตร

คำสำคัญ : ไลเคน แบคทีเรีย สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ พื้นที่การเกษตร
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Isolation and screening for biological activities of lichen- associated bacteria collected from agricultural sites
Abstract :

Lichens are generally characterized as the symbiotic association of a mycosymbiont and a photosymbiont, however lichen-associated bacteria have been recently described as a third partner. The objectives of this study were to isolate bacteria from lichen and to screen for their biological activities. Total of 117 bacterial isolates were obtained from Parmotrema sp. growing on para rubber tree in Chiangdao, Chiangmai. These bacteria were identified using 16S rRNA gene sequence. They were belonged to the genera of Acinetobacter, Pseudomonas, Bacillus, Paenibacillus, Lysinibacillus, Brevibacillus, Staphylococcus and Virgibacillus. These lichen-associated bacteria were then investigated for antimicrobial activities, hydrolytic enzyme production, nitrogen fixation, indole-acetic acid (IAA) production and phosphate solubilization. Their antibacterial activities against Bacillus cereus, Escherichia coli, Enterobacter cloacae, Listeria monocytogenes, Pseudomonas aeruginosa, Salmonella typhi, Shigella sonei, Staphylococcus aureus and Xanthomonas camprestis were preliminary performed by the spot on lawn method. It was found that thirty-seven isolates exhibited the antagonistic activity against Staphylococcus aureus. Cell free supernatant of these bacteria were then investigated the antibacterial activity by agar well diffusion method. Only nine isolates of genus Bacillus expressed the inhibitory effect on S. aureus growth. Antifungal activities against Ascomycete sp. LD01-2, Aspergillus sp. L4.1D, Diaporthe sp. LD05-5 and Fusarium sp. L5.2A which isolated from longan including Aspergillus niger, A. flavus and F.solani were investigated. Total of 35 isolates comprising of the genera of Bacillus, and Paenibacillus showed the inhibitory effect on fungal growth.

The lichen-associated bacterial isolates were screened for hydrolytic enzymes production. It was found that one hundred and one isolates showed hydrolyzing zones by the carboxy methyl cellulose (CMC) congo red plate technique. According to CMCase activity, the highest cellulase producing bacterium from lichen was Bacillus amyloliquefaciens with 77.32 mU/ml. Ninety-eight produced proteolytic enzyme. The highest protease activity was obtained by Bacillus sp. at 32.45 U/ml. Among these, the isolate of B. velezensis gave the highest amylase activity with 0.78 U/ml. Only 8 isolates belonging to Bacillus and Paenibacillus showed the capacity for chitinolytic enzyme. Sixty five isolates of bacteria comprised of Acenitobacter, Bacillus, Brevibacillus and Paenibacillus, showed the ability to solubilize phosphate. Results showed that B. megaterium LC106 and LC56 obtained the significantly highest solubilizing abilities of Ca3 (PO4)2, about 89.0 and 88.1 ?g/ml, respectively. According to the growth in nitrogen free medium, sixty-six isolates belonging to Acinetobacter, Bacillus, Lysinibacillus, Paenibacillus and Staphylococcus, were able to fix nitrogen. Sixty-one isolates showed the IAA production in range of 0.52-22.32 ?g/ml and B. megaterium released the significantly highest amount of IAA. These results showed that lichens are the new sources of potential bacteria for pharmaceutical, industrial and agricultural uses

Keyword : Lichen, bacteria, bioactive compounds, agricultural sites
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีกาญจนา คล้ายเรือง
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2559)
55 ไม่ระบุ
2 รองศาสตราจารย์ ดร.สุรีย์พร เจรียงประเสริฐ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน
หน่วยงานต้นสังกัด :
ผู้วิจัยร่วม
20 ไม่ระบุ
3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะนุช เนียมทรัพย์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
15 ไม่ระบุ
4 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นลิน วงศ์ขัตติยะ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2559
1/10/2558 ถึง 30/9/2559
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
220,800.00
   รวมจำนวนเงิน : 220,800.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023