การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับและความยั่งยืนของการผลิตผักสดที่ผ่านมาตรฐานการผลิตทางการเกษตรดีที่เหมาะสมในเขตภาคเหนือตอนบน

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-59-063
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2558 ถึง 30 กันยายน 2559
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับและความยั่งยืนของการผลิตผักสดที่ผ่านมาตรฐานการผลิตทางการเกษตรดีที่เหมาะสมในเขตภาคเหนือตอนบน
บทคัดย่อ :

การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับมาตรฐานการรับรองตามการผลิตทางการเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ของเกษตรกรผู้ผลิตผักในเขตภาคเหนือตอนบน ด้วยแบบจำลองทางเลือกตามลำดับ (Ordered probit model) และวิเคราะห์ความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ของเกษตรกรผู้ผลิตผักตามมาตรฐานการรับรองการผลิตทางการเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) โดยใช้ดัชนีความยั่งยืน กลุ่มเกษตรกรตัวอย่างถูกสุ่มโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบลำดับชั้นจากอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน และครัวเรือนเกษตรกร ตามฐานข้อมูลของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 และข้อมูลถูกเก็บรวบรวมโดยการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถามจากเกษตรกรผู้ผลิตผัก GAP 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มกะเพรา โหระพา กลุ่มผักพริกหวาน และกลุ่มมะเขือม่วง จำนวน 58 ครัวเรือน ส่วนกลุ่มผัก GAP อื่นๆ (มะเขือยาว มะเขือเปราะ มะระจีน มะระขี้นก ผักชีฝรั่ง ถั่วฝักยาว และผักตระกูลกะหล่ำ) ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 138 ครัวเรือน เชียงราย จำนวน 50 ครัวเรือน ลำพูน จำนวน 95 ครัวเรือน และลำปาง 100 ครัวเรือน รวมทั้งสิ้น 383 ครัวเรือน

ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยสัดส่วนการใช้เงินทุนตนเองในการผลิตผัก GAP สัดส่วนการใช้เงินกู้ยืมในการผลิตผักฯ ความหลากหลายของชนิดผักฯ ราคาเหมาะสมต่อปริมาณผักฯ การให้ความรู้ความปลอดภัยของการบริโภคผักฯ ของหน่วยงานภาคเอกชน ทัศนคติที่มีต่อการผลิตผักตามมาตรฐาน GAP การเป็นสมาชิกธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร การเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร การเป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจ และการเป็นสมาชิกกลุ่มอื่นๆ ส่งผลให้การยอมรับมาตรฐานการรับรองตามการผลิตทางการเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ในระดับมากมีโอกาสความน่าจะเป็นเพิ่มขึ้น ขณะที่อายุ ระดับการศึกษาของเกษตรกร ความสดใหม่ของผลผลิตผักฯ การให้ความรู้ความปลอดภัยของการบริโภคผักฯ ของหน่วยงานภาครัฐ การเป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน และระดับความ

พึงพอใจของการเข้ารับการอบรมความรู้มาตรฐาน GAP มีผลให้การยอมรับการปฏิบัติฯ ระดับมากลดลง จากการพิจารณาค่าผลกระทบส่วนเพิ่ม (Marginal effect) นอกจากนี้ระดับการยอมรับการปฏิบัติการผลิตผักตามข้อกำหนด GAP มาจาก 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการสุขลักษณะแปลงผัก การจัดการเครื่องมือและอุปกรณ์การเกษตร การจัดการปัจจัยการผลิต การปฏิบัติและการควบคุม และการบันทึกและควบคุมเอกสาร ซึ่งอยู่ในระดับเหมาะสมมาก ด้วยคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 1.70 โดยการใช้มาตรวัดของลิเคิร์ท โดยเฉพาะด้านการจัดการสุขลักษณะแปลงผัก มีระดับคะแนนมากที่สุด

สำหรับการสร้างตัวชี้วัดความยั่งยืน (CIAS) ด้านเศรษฐศาสตร์ สังคม และสิ่งแวดล้อม จากการพิจารณาปัจจัยร่วม พบว่า ตัวชี้วัดแต่ละด้าน ประกอบด้วย 2 2 และ 1 ด้าน ได้แก่ การจำหน่ายผลผลิตผัก GAP ความหลากหลายแหล่งรายได้ของเกษตรกรผู้ผลิตผัก GAP ความมั่นคงการประกอบอาชีพการเกษตร และชั่วโมงทำงานของแรงงานผลิตผัก GAP และดัชนีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตามลำดับ อยู่ในเกณฑ์น้อยควรทำการปรับปรุง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเกษตรกรยังมีการผลิตผักตามมาตรฐาน GAP ไม่แพร่หลาย และมีการปฏิบัติตามมาตรฐานฯ ไม่เข้มงวดมากนัก อีกทั้งการผลิตผัก GAP เป็นเพียงการปลูกเป็นพืชรองจากการปลูกพืชหลัก อย่างไรก็ตามควรมีการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาขยายการผลิตผักตามมาตรฐานการรับรอง GAP ให้กว้างขวางอันนำสู่การตอบสนองต่อความต้องการของตลาด

คำสำคัญ : ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับ ความยั่งยืน และมาตรฐานการรับรองการผลิตเกษตรดีที่เหมาะสม
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Factor Affecting on Adoption and Sustainability Analysis of Fresh Vegetable Meeting Good Agricultural Practice (GAP) Standard in the Upper Northern of Thailand
Abstract :

The objectives of this study were to analyze factor affecting on adoption related to Good Agricultural Practices (GAP) standard of farmers who produced GAP vegetables in the upper north by means of ordered probit model and to analyze Composite Indicators of Agricultural Sustainability (CIAS) from economic, social, and environmental indexes. The samples of this study were randomized by means of stratified random sampling from districts, sub-districts, communities to GAP farmer households according to database of the Office of Agricultural Research and Development Region 1 (OARD 1). Data were collected in the form of interviews with questionnaires from farmers who produced basil and sweet basil group, bell-pepper group, purple eggplant group, and other GAP vegetable group (long and small eggplants, bitter gourd, parsley, cowpea, cabbage, and cauliflower) divided into 138 households in Chiang Mai, 50 households in Chiang Rai, 95 households in Lamphun, and 100 households in Lampang provinces.

It could be concluded that the proportion between own and loan to produce GAP vegetables, variety of GAP vegetables, suitable prices on quantities, safety knowledge of GAP vegetable consumption by private agencies, attitude on GAP vegetable production, members of Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives, members of farmer groups, members of community enterprises, and members of other groups had influence on adoption in a very suitable level with the high probability of occurrence while age, education of the farmers, freshness of GAP vegetables, safety knowledge of GAP vegetable consumption by government agencies, members of village funds, and adoption level of practices according to GAP requirements had influence on decreased adoption in a very suitable level with the probability of occurrence from marginal effect values. Furthermore, the practices related to GAP vegetable production of farmers was consistent at a very suitable level of the average of 1.70 according to likert scales in 5 practices which were hygienic practice management in the fields, agricultural tool management, input management, practice and control, and recording and controlling documents.

According to the creation of CIAS, CIAS consisted of economic, social, and environmental indexes. Each index was analyzed by the component factors. It was found that the component factors were divided into 2, 2, and 1, respectively. It indicated that the component factors of economic index were sales of GAP vegetables and variety of income sources of the farmers and that of social index were agricultural career security and working hours of labors to produce GAP vegetables. Moreover, the component factor of environmental index was environmental conservation index. These indexes led to the CIAS index that was less value. It indicated that although the farmers remained GAP vegetable production, the production was not widespread and was not strict according to GAP standard. After, the farmers have already produced the based cropping system, the GAP vegetable production was produced as the minor cropping system. However, the GAP vegetable production should be improved to develop expansion path of GAP vegetable production broadly, resulting in demand correspondence

Keyword : Factor Affecting on Adoption, Sustainability, and Good Agricultural Practice (GAP)
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 รองศาสตราจารย์ ดร.จำเนียร บุญมาก
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะบริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยหลัก
(2559)
50 ไม่ระบุ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัชรินทร์ สุภาพันธ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเศรษฐศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
50 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2559
1/10/2558 ถึง 30/9/2559
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
245,700.00
   รวมจำนวนเงิน : 245,700.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
1 พฤษภาคม 2561
วารสารที่ตีพิมพ์ : วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 
ฉบับที่ : 2
หน้า :
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
0.8
31 มกราคม 2564
วารสารที่ตีพิมพ์ : International Journal of Agricultural Technology 
ฉบับที่ : Vol. 17(1)
หน้า :
ระดับการนำเสนอ :
เจ้าของวารสาร :
1
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023