อิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงเบสของยีนSSIIaและสภาพแวดล้อมต่ออุณหภูมิแป้งสุกของข้าวไทย

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-59-030
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 มิถุนายน 2559 ถึง 30 มิถุนายน 2559
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : อิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงเบสของยีนSSIIaและสภาพแวดล้อมต่ออุณหภูมิแป้งสุกของข้าวไทย
บทคัดย่อ :

ยีน SSIIa ควบคุมอุณหภูมิแป้งสุกของข้าว จากการศึกษาความผันแปรของนิวคลีโอไทด์ของยีน SSIIa ในตำแหน่ง 4,198 และ 4,329-4,330 ในข้าวไทย 49 พันธุ์ พบว่าตำแหน่ง 4,198 มีนิวคลีโอไทด์เป็น G เท่านั้น ส่วนตำแหน่ง 4,329-4,330 มีลำดับนิวคลีโอไทด์เป็น GC หรือ TT เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างยีน SSIIa กับคุณสมบัติด้านการหุงต้มของข้าว ได้แก่ อุณหภูมิแป้งสุก ปริมาณอะมิโลส และความคงตัวของแป้งสุก พบว่ารูปแบบนิวคลีโอไทด์ของยีน SSIIa มีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิแป้งสุกของข้าว (p < 0.01) และปริมาณอะไมโลส (p < 0.01) โดยข้าวที่มีจีโนไทป์ GC มักมีอุณหภูมิแป้งสุกปานกลาง และมีปริมาณอะไมโลสสูง ส่วนข้าวที่มีจีโนไทป์ TT มัก มีอุณหภูมิแป้งสุกต่ำ และปริมาณอะไมโลสต่ำ และพบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างอุณหภูมิแป้งสุกกับปริมาณอะไมโลส (p = 0.016) โดยข้าวที่มีอุณหภูมิแป้งสุกต่ำมักมีปริมาณอะไมโลสต่ำ ส่วนข้าวที่มีอุณหภูมิแป้งสุกปานกลางมักมีปริมาณอะไมโลสสูง เมื่อศึกษาข้าวที่ปลูกในฤดูนาปีและนาปรังพบความแตกต่างของอุณหภูมิแป้งสุก (p = 0.047) ซึ่งอาจเป็นผลมาจากความแตกต่างของสภาพแวดล้อมในการปลูก และระยะเวลาในการเก็บรักษาข้าว

คำสำคัญ : : ข้าว ความคงตัวของแป้งสุก ปริมาณอะไมโลส อุณหภูมิแป้งสุก ยีน SSIIa
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Influences of base substitution in SSIIa gene and environment on gelatinization temperature of Thai rice
Abstract :

SSIIa gene controls gelatinization temperature in rice. Nucleotide variations at position 4,198 and 4,329-4,330 of SSIIa gene were investigated in 49 cultivars of Thai rice. At position 4,198, only nucleotide G was found, whereas nucleotide GC or TT were found at positions 4,329-4,330. When study correlations between SSIIa gene and cooking and eating quality indices such as gelatinization temperature, amylose content and gel consistency revealed that nucleotide patterns of SSIIa gene correlated with gelatinization temperature (p < 0.01) and amylose content (p < 0.01). Cultivars harbouring GC tended to have medium gelatinization temperature and high amylose content, while TT-genotype cultivars were inclined to have low gelatinization temperature and amylose content. In addition, a positive correlation between gelatinization temperature and amylose content was found (p = 0.016). Cultivars showing low gelatinization temperature tend to have low amylose content and vice versa. Gelatinization temperatures of rice cultivated in season and off season were significantly different (p = 0.047) this may attribute to environmental effect during growing season and storage period.

Keyword : Rice, Gel consistency, Amylose content, Gelatinization temperature, SSIIa gene
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพเยาว์ คบพิมาย
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2559)
70 ไม่ระบุ
2 นายศรัณย์ จีนะเจริญ
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงใหม่
ผู้วิจัยร่วม
20 ไม่ระบุ
3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์ แสงทอง
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2559
1/10/2558 ถึง 30/9/2559
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
289,700.00
   รวมจำนวนเงิน : 289,700.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
1 กันยายน 2561
วารสารที่ตีพิมพ์ : Thai Journal of Science and Technology 
ฉบับที่ : 3
หน้า :
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
0.8
30 ธันวาคม 2563
วารสารที่ตีพิมพ์ : Agriculture and Natural Resources 
ฉบับที่ : 54
หน้า :
ระดับการนำเสนอ :
เจ้าของวารสาร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
1
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023