ศักยภาพของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินท้องถิ่นไทย ที่ผลิตจากขยะอินทรีย์ต่อระบบการเกษตรและสิ่งแวดล้อม

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-55-027/56-019
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : กำลังดำเนินการ
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2555 ถึง 30 กันยายน 2556
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : ศักยภาพของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินท้องถิ่นไทย ที่ผลิตจากขยะอินทรีย์ต่อระบบการเกษตรและสิ่งแวดล้อม
บทคัดย่อ :

การศึกษาวิจัยเรื่องศักยภาพของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินท้องถิ่นไทยที่ผลิตจากขยะอินทรีย์ต่อระบบการเกษตรและสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงโมเดลการเลี้ยงไส้เดือนดินที่เหมาะสมกับไส้เดือนดินแต่ละสายพันธุ์ รวมถึงศึกษาคุณสมบัติ คุณภาพ ของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินต่อการนำไปใช้เพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรและการใช้ปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน รวมทั้งข้อมูลที่ได้สามารถนำไปใช้ประกอบการวางแผนผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินเชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โครงการย่อยที่ 1 ศึกษาการเลี้ยงไส้เดือนดินสายพันธุ์ท้องถิ่นไทยขี้ตาแร่สันกำแพง Perionyx sp. 1, ขี้ตาแร่หนองหอย Perionyx sp. 2 และสายพันธุ์การค้า แอฟริกัน ไนท์ คลอเลอร์ Endrilus enginiae ด้วยโมเดลการเลี้ยง 3 แบบ คือ บ่อปูน บ่อดิน และกองบนพื้นดิน เพื่อทดสอบการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนดินจากขยะอินทรีย์เชิงพาณิชย์ พบว่า ภายหลังทดลองเลี้ยงไส้เดือนดินเป็นเวลา 6 เดือน ตำรับทดลองสายพันธุ์แอฟริกัน ไนท์ คลอเลอร์ (Endrilus enginiae) ที่เลี้ยงในโมเดลหลุมดิน มีจำนวนตัว น้ำหนักตัว และปริมาณผลผลิตปุ๋ยสูงสุด แต่ในด้านคุณภาพปุ๋ยหมักที่ผลิตได้พบว่าตำรับทดลองไส้เดือนดินสายพันธุ์ท้องถิ่นไทยขี้ตาแร่สันกำแพง Perionyx sp. 1 กับ ขี้ตาแร่หนองหอย Perionyx sp. 2 ที่เลี้ยงในโมเดลบ่อปูน ได้ค่าคุณภาพปุ๋ยหมักสูงกว่าผลิตปุ๋ยหมักจากตำรับทดลองแอฟริกัน ไนท์ คลอเลอร์ (Endrilus enginiae) ที่เลี้ยงในโมเดลหลุมดิน แต่ผลผลิตปุ๋ยหมักทุกตำรับทดลองที่ได้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตรทุกตัวชี้วัด

ในส่วนของการศึกษาชนิดขยะอินทรีย์และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 10 ชนิด ประกอบด้วย เศษอาหาร เศษผัก เศษหญ้าผสมมูลวัว เศษใบไม้ผุ กากเพาะเห็ด เศษผลไม้ มูลวัว มูลม้า มูลสุกร และมูลไก่ผสมกากเพาะเห็ด ต่อการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินและการขยายพันธุ์ของไส้เดือนดินสายพันธุ์ขี้ตาแร่สันกำแพง Preionyx sp.1 พบว่า การเลี้ยงไส้เดือนดินด้วยมูลม้าให้ค่าจำนวนตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดเท่ากับ 1,066.33 ตัว ภายหลังทดลองส่วนตำรับทดลองอื่นๆให้ค่าจำนวนตัวลดลง ในด้านปริมาณผลผลิตและคุณภาพปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน พบว่า กากเห็ด มูลวัว และมูลม้า ให้ผลผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินมากที่สุดเท่ากับ 4.38, 4.31 และ4.53 กิโลกรัม ตามลำดับ คิดเป็นอัตราการเปลี่ยนเป็นปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน 43.78, 43.07 และ 45.33 เปอร์เซ็นต์

โครงการย่อยที่ 2 ศึกษากิจกรรมของจุลินทรีย์ดินและชนิดอินทรียวัตถุที่เกิดขึ้นจากไส้เดือนดินและปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน การศึกษาการปลดปล่อย CO2 และวิเคราะห์ไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์โดยประเมินจากปริมาณ NH4+ และ NO3- ในตัวอย่างดินหลังการใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินในแปลงปลูกกะหล่ำดอก พบว่า หลังจากสัปดาห์ที่ 3 ปริมาณไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ ในแปลงกะหล่ำดอกที่ใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินมีปริมาณ NH4+ สูงที่สุด และในสัปดาห์ที่ 4 แปลงกะหล่ำดอกที่ใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินร่วมกับปุ๋ยเคมี มีปริมาณ NH4+ สูงที่สุด ส่วนปริมาณ NO3- พบว่า แปลงกะหล่ำดอกที่ใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินให้ปริมาณ NO3- สูงที่สุด ในช่วงสัปดาห์แรก และปริมาณ NO3- ในแต่ละตำรับทดลองจะเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่ 2 และมีแนวโน้มลดลงในสัปดาห์ที่ 3 จนถึงสัปดาห์ที่ 5 จากนั้นปริมาณ NO3- มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจนถึงสัปดาห์ที่ 7 ซึ่งแปลงกะหล่ำดอกที่ใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินร่วมกับปุ๋ยเคมีมีปริมาณ NO3- สูงที่สุด การปลดปล่อย CO2 เกิดขึ้นสูงสุดในช่วง?สัปดาห์?แรก ซึ่งแปลงกะหล่ำดอกที่ใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินร่วมกับปุ๋ยเคมี มีการปลดปล่อย CO2 สูงสุด หลังจาก 1 สัปดาห์ ?การปลดปล่อย? CO2 จะลดลงอย่างต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ 1 จนถึงสัปดาห์ที่ 3 ซึ่งจะมีการปลดปล่อย CO2 ต่ำที่สุด จากนั้นอัตราการปลดปล่อย CO2 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงสัปดาห์ที่ 6 หลังจากนั้นในแต่ละตำรับทดลองจะมีแนวโน้มลดลง ยกเว้นแปลงที่มีการใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินร่วมกับปุ๋ยเคมีลงไป ทำให้การปลดปล่อย CO2 มีแนวโน้มสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ 6 จนถึงสัปดาห์ที่ 7 ดังนั้นการใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินร่วมกับปุ๋ยเคมี มีผลต่อการปลดปล่อย CO2 และไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ (NH4+ และ NO3-) ในดิน

การใช้น้ำหมักมูลไส้เดือนดินต่อการปลดปล่อย (CO2) และศึกษาการปลดปล่อยไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ในดินในรูป (NH4+) และ (NO3-) ในดินปลูกกะหล่ำดอก พบว่า ไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์พบว่า ในสัปดาห์ที่ 3 มีปริมาณ NH4+ สูงที่สุด และในสัปดาห์ที่4 แปลงกะหล่ำดอกที่ใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับน้ำหมักมูลไส้เดือนดินมีปริมาณ NH4+ สูงที่สุด จากนั้นปริมาณ NH4 +จะลดลงอย่างต่อเนื่องจนถึงสัปดาห์ที่ 6 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่ 7 ส่วนปริมาณ NO3- พบว่า ในแปลงกะหล่ำดอกที่ใส่น้ำหมักมูลไส้เดือนดินมีปริมาณ NO3- สูงที่สุด ในสัปดาห์แรก จากนั้นปริมาณ NO3- ในแปลงปลูกกะหล่ำดอกที่ใช้ปุ๋ยเคมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องจนถึงสัปดาห์ที่ 7 และแปลงปลูกกะหล่ำดอกที่ใส่น้ำหมักมูลไส้เดือนดินร่วมกับปุ๋ยเคมี มีปริมาณ NO3- เพิ่มขึ้น จนถึงสัปดาห์ที่ 3 และลดลงในสัปดาห์ที่ 4 จนถึงสัปดาห์ที่ 6 แล้วเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่ 7 ซึ่งแปลงปลูกกะหล่ำดอกที่ใช้น้ำหมักมูลไส้เดือนดินร่วมกับปุ๋ยเคมีมีปริมาณ NO3- สูงที่สุด การปลดปล่อย CO2 ในแต่ละตำรับทดลองเกิดขึ้นสูงที่สุดในช่วงสัปดาห์แรก และลดลงอย่างต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ 1 จนถึงสัปดาห์ที่ 3 ซึ่งจะมีการปลดปล่อย CO2 ต่ำที่สุด จากนั้น จะมีการปลดปล่อย CO2 เพิ่มขึ้นไปจนถึงสัปดาห์ที่ 7 ซึ่งพบว่าการใช้น้ำหมักมูลไส้เดือนดินร่วมกับปุ๋ยเคมี มีผลต่อการปลดปล่อย CO2 และไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ (NH4+ และ NO3- ) ในดิน

โครงการย่อยที่ 3 ศึกษาคุณภาพปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินและการนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรสำหรับไม้ดอกเศรษฐกิจ 4 ชนิด ได้แก่ กุหลาบ ชวนชม โป๊ยเซียน และมะลิ ได้ดำเนินการ ณ บริเวณคณะผลิตกรรมการเกษตร ม.แม่โจ้ โดยทำการวิเคราะห์สมบัติของปุ๋ยหมักและศึกษาเปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยหมัก วางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 7 ตำรับการทดลอง ได้แก่ 1) ไม่ใส่ปุ๋ย (Control) 2) ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน 3) ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน + ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ (กรมวิชาการ) 4) ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน + ปุ๋ยสูตร 15-15-15 5) ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน+น้ำหมักมูลไส้เดือนดิน+ ปุ๋ยสูตร 15-15-15 6) ปุ๋ยหมัก+ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ (กรมวิชาการ) และ 7) ปุ๋ยหมัก+น้ำหมักมูลไส้เดือนดิน+ปุ๋ยเคมีสูตร15-15-15 จากการศึกษาพบว่าปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนมีปริมาณอินทรียวัตถุ 22.9% ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (Total Nitrogen) 1.15% ฟอสฟอรัส (P2O5) 2.03% โพแทสเซียม (K2O) 2.50 % ปริมาณทั้งหมดของแคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) เหล็ก (Fe) สังกะสี (Zn) และโบรอน (B) ได้แก่ 3.32% 0.61% 0.47% 108.8 mg kg-1 และ 15.9 mg kg-1 ตามลำดับ และแสดงสมบัติเป็นด่าง มีค่า pH 8.78 ในขณะที่น้ำหมักมูลไส้เดือนมีปริมาณฮอร์โมนพืช Free IAA (?gL-1) Free GA3 (mgL-1) Free Cytokinins (mgL-1) เท่ากับ 2.87-3.59 0.59-0.81 และ 0.09-0.14 ตามลำดับ สำหรับการใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินและน้ำหมักมูลไส้เดือนดินร่วมในการปลูกไม้ดอกทั้ง 4 ชนิด พบว่ามีผลให้การเจริญเติบโตของดอกในด้านขนาด จำนวนดอก จำนวนช่อและน้ำหนักรวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่ส่งผลที่ไม่ชัดเจนนักต่อการเจริญเติบโตด้านความกว้างและสูงของทรงพุ่ม การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินและน้ำหมักมูลไส้เดือนดินมีสมบัติที่เหมาะสมเป็นแหล่งธาตุอาหารพืชและส่งเสริมการเจริญเติบทางด้านดอกของกุหลาบ ชวนชม โป๊ยเซียนและมะลิได้

โครงการย่อยที่ 4 ศึกษาอิทธิพลของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินจากไส้เดือนดินต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางฟิสิกส์ดินและการปรับปรุงโครงสร้างของดิน โดยการนำผลของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน เปรียบเทียบกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และร่วมกับการฉีดนํ้าหมักมูลไส้เดือนดิน ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของดิน การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวหอมมะลิ 105 ทำการทดลองในแปลงนาเกษตรกรในเขตพื้นที่นาอาศัยน้ำฝน ชุดดินร้อยเอ็ด (Roi-Et series) ที่บ้านบัว ตำบลบ้านบัว อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2556 ถึง เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2556

จากผลการทดลองผลของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินจากไส้เดือนดินที่มีต่อสมบัติบางประการของดิน กรรมวิธีที่ 1 การใส่ปุ๋ยเคมีมีแนวโน้มความหนาแน่นรวมสูงสุด (1.38 g cm-3) รองลงมา ได้แก่ กรรมวิธีที่ 5 ปุ๋ยหมักมูลโค ร่วมกับการฉีดนํ้าหมักชีวภาพ (EM) และกรรมวิธีที่ 6 ใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน ร่วมกับการฉีดนํ้าหมักมูลไส้เดือน มีค่าเป็น 1.34 g cm-3 ทั้งสองกรรมวิธี

ส่วนที่ระดับความลึก 15-30 cm พบว่าทุกวิธีการทดลองมีค่าเพิ่มขึ้น โดย กรรมวิธีที่ 1 การใส่ปุ๋ยเคมีมีแนวโน้มความหนาแน่นรวมสูงสุด (1.45 g cm-3) กรรมวิธีที่ 5 ปุ๋ยหมักมูลโค ร่วมกับการฉีดนํ้าหมักชีวภาพ (EM) และกรรมวิธีที่ 6 ใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน ร่วมกับการฉีดนํ้าหมักมูลไส้เดือนมีค่าความหนาแน่นรวม 1.41 และ 1.40 g cm-3 ตามลำดับ

ความชื้นของดิน (%) กรรมวิธีที่ 1 การใส่ปุ๋ยเคมีมีแนวโน้มความชื้นของดิน (%) ต่ำสุด (0.25%) ส่วนกรรมวิธีที่ 5 ปุ๋ยหมักมูลโค ร่วมกับการฉีดนํ้าหมักชีวภาพ (EM) และกรรมวิธีที่ 6 ใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน ร่วมกับการฉีดนํ้าหมักมูลไส้เดือน ความชื้นของดิน (%) มากที่สุด 0.28 % ที่ระดับความลึก 0-15 cm เช่นเดียวกับที่ระดับความลึก 15-30 cm ให้ ความชื้นของดิน (%) มากที่สุด 0.33 % และ 0.36 % ตามลำดับ

ค่าสัมประสิทธิ์การนำน้ำของดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำ กรรมวิธีที่ 1 การใส่ปุ๋ยเคมีมีแนวโน้มค่าสัมประสิทธิ์การนำน้ำของดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำ ต่ำสุด (2.10 cm hr-1) ส่วนกรรมวิธีที่ 5 ปุ๋ยหมักมูลโค ร่วมกับการฉีดนํ้าหมักชีวภาพ (EM) และกรรมวิธีที่ 6 ใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน ร่วมกับการฉีดนํ้าหมักมูลไส้เดือน ค่าสัมประสิทธิ์การนำน้ำของดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำ มากที่สุด 2.37 และ 2.77 cm hr-1 ที่ระดับความลึก 0-15 cm เช่นเดียวกับที่ระดับความลึก 15-30 cm ให้ ค่าสัมประสิทธิ์การนำน้ำของดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำ มากที่สุด 1.48 และ 1.54 cm hr-1 ตามลำดับ

ปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียมและอินทรียวัตถุในดิน ที่ระดับความลึก 0-15 cm กรรมวิธีที่ 1 การใส่ปุ๋ยเคมีมีแนวโน้มปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียมและอินทรียวัตถุในดิน ต่ำสุด ส่วนกรรมวิธีที่ 5 ปุ๋ยหมักมูลโค ร่วมกับการฉีดนํ้าหมักชีวภาพ (EM) และกรรมวิธีที่ 6 ใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน ร่วมกับการฉีดนํ้าหมักมูลไส้เดือน ทั้งปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียมและอินทรียวัตถุในดินสูงทั้งสองระดับความลึกที่ระดับความลึก 0-15 และ 15-30 cm

ผลของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินที่มีต่อการเจริญเติบโตของข้าวหอมมะลิ 105 กรรมวิธีที่ 1 ใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว ที่ทำให้ ความสูงของข้าวสูงสุด 75.5 เซนติเมตร รองลงมาได้แก่ กรรมวิธีที่ 5 ใส่ปุ๋ยหมักมูลโค ร่วมกับการฉีดนํ้าหมักชีวภาพ และกรรมวิธีที่ 6 ใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน ร่วมกับการฉีดน้ำหมักมูลไส้เดือน ไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม พบว่า กรรมวิธีที่ 4 ปุ๋ยเคมีร่วมกับการฉีดนํ้าหมักชีวภาพ และกรรมวิธีที่ 6 ใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน ร่วมกับการฉีดนํ้าหมักมูลไส้เดือน มีแนวโน้มเพิ่มน้ำหนักแห้งและจำนวนหน่อต่อ ซึ่งให้น้ำหนักแห้ง 3,950 และ 3,893 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ ตามลำดับและเพิ่มจำนวนหน่อต่อตารางเมตร ได้ 277 และ 276 หน่อต่อตารางเมตร ตามลำดับ

ดังนั้น การใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน ร่วมกับการฉีดนํ้าหมัก สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้ใกล้เคียงกับการใส่ปุ๋ยเคมีมากที่สุดและยังสามารถเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและปรับสภาพดินให้เหมาะสมกับการปลูกพืชได้ดีกว่าการใส่ปุ๋ยเคมีอีกด้วย

โครงการย่อยที่ 5 ศึกษาสภาพตลาดเดิมและแนวทางการพัฒนาตลาดใหม่ของธุรกิจฯ โดยการสำรวจภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์และเก็บแบบสอบถามจากเกษตรกรผู้ผลิตและจำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับ จากฐานข้อมูลจากฐานข้อมูลสถิติของศูนย์วิจัยและพัฒนาไส้เดือนดินแม่โจ้ โดยพื้นที่ปลูกและจำหน่ายอยู่ในพื้นที่อำเภอสารภี อำเภอสันทราย อำเภอพร้าว และอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 60 ครัวเรือน นำมาวิเคราะห์หาความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจการลงทุนของธุรกิจฯ พบว่าการลงทุนผลิตและจำหน่ายพืชผักเกษตรอินทรีย์มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจสำหรับการลงทุนสำหรับชนิดผลและใบ เนื่องจากผลตอบแทนที่ได้รับมากกว่าต้นทุนซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่จ่ายออกไป และผลการศึกษาสภาพตลาดเดิมและแนวทางการพัฒนาตลาดใหม่ของธุรกิจฯ พบว่าการจำหน่ายผลผลิตผักเกษตรอินทรีย์อยู่ในรูปผลผลิตผักสด ซึ่งไม่ได้มีการเพิ่มมูลค่าแต่อย่างใด ราคาที่จำหน่ายขึ้นอยู่กับพ่อค้าคนกลางในตลาดท้องถิ่นที่รับซื้อ แหล่งจำหน่ายส่วนใหญ่อยู่ในตลาด เจ. เจ. มาร์เก็ต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ และการส่งเสริมการตลาดด้วยลักษณะการผลิตสามารถจูงใจให้ผู้ซื้อมีความต้องการซื้อในรูปแบบผักสดอยู่แล้ว จึงส่งผลให้ไม่มีการส่งเสริมการตลาดมากเท่าไรนัก

คำสำคัญ : ไส้เดือนดินท้องถิ่นไทย ปุ๋ยหมักไส้เดือนดิน การผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน จุลินทรีย์ดิน คุณสมบัติทางฟิสิกส์ดิน โครงสร้างดิน ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ การลงทุนธุรกิจไม้ดอกไม้ประดับ
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Potential of Vermicompost from Local Thai Earthworms and Various Organic Wastes on Agricultural Systems and Environment
Abstract :

Objective of the project potential of vermicompost from local Thai earthworms and various organic wastes on agricultural systems and environment was to study the models that suitable for raising and vermicomposting each local Thai earthworms species. Including the characterization of vermicompost fertilizer to apply cultivation of agricultural crops and improve soil fertility, including information that can be used to plan a commercial vermicomposting fertilizer efficiently.

Sub project 1 The aim of this study was to investigate the appropriate models for vermiculture production with different type of Thai local earthworms and international commercial earthworm for a summary of commercial adoption of vermicomposting technologies. The studied had been used 3 different models including; soil pit, compost pile and cement pit with 3 species of earthworms including; Perionyx sp.1, Perionyx sp.2 and Eudrilus eugeniae. The experiment was carried out for 6 months under greenhouse at the Earthworm Research and Development Center, in Maejo University, Thailand. The results can be summarized as follows: Eudrilus eugeniae with soil pit showed the highest number and the weight of earthworms and also showed the highest yield of vermicompost. But in the term of quality of the vermicompost showed that local species of earthworms Thailand Perionyx sp. 1 and Perionyx sp. 2 was grown in cement pit showed the higher quality vermicompost than those from Endrilus enginiae which was grown in soil pit model. However, vermicompost production form all treatments was in the standards of Department of Agriculture.

Sub project 2 The study on CO2 release and determination of total nitrogen by the amount of NH4+ and NO3- in soil sample after added vermicompost, vermicompost liquid in Cauliflower production plot showed the highest volume of NH4+ after 3 weeks in cauliflower production plot added with vermicompost and in 4th weeks in cauliflower production plot after added vermicompost and chemical fertilizers. The volume of NO3- in each treatment founded cauliflower production plot after added vermicompost have volume of NO3- highest in the 1st week and volume of NO3- increase in the 2nd weeks and reduced in 3rd weeks until 5th weeks and until 7 weeks on the cauliflower production plot that added vermicompost with chemical fertilizers showed the highest volume of NO3-. CO2 evolution released with the maximum rate in the 1st weeks after added vermicompost with chemical fertilizers in cauliflower production plot. CO2 evolution reduced after 1st week until 3rd weeks after that CO2 release has the increased until 6 weeks except in cauliflower production plot that added vermicompost with chemical fertilizer showed CO2 evolution increased until 7th weeks. So cauliflower production plot that added vermicompost with chemical fertilizer have affected CO2 evolution and total nitrogen in the forms of NH4+ and NO3- in soil.

Sub project 3 The quality and application of vermicompost for agriculture production was studied at Faculty of Agricultural Production, Maejo University, Chiangmai province.The Randomized Complete Block Design (RCBD) with three replications, seven treatments and four plants (Rose, Adenium obesum, Euphorbia milii and Jusmine) was used to determine the effect of fertilizer treatments to plant growing and flowing. The seven treatments consist of 1)control 2)vermicompost 3)vermicompost+8-24-24(N-P2O5-K2O)4)vermicompost+15-15-15(N-P2O5-K2O) 5)vermicompost+wormtea+15-15-15(N-P2O5-K2O)6)compost+8-24-24(N-P2O5-K2O) 7)compost+worm tea+15-15-15 (N-P2O5-K2O) The results of this study showed that the vermicompost was alkaline (pH 8.78) and contained high organic matter content (22.9%), total nitrogen 1.15%, P2O5 2.03%, K2O 2.50%, Ca 3.32%, Mg 0.61%, Fe 0.47%, Zn 108.8 mg kg-1 and B 15.9 mg kg-1. Some plant growth regulator was found in worm tea such as Free IAA, Free GA3 and Free Cytokinins (2.87-3.59 ?gL-1, 0.59-0.81 mgL-1 and 0.09-0.14 mgL-1, representative). The study on influence of vermicompost and worm tea to plant growth and flowering indicated that the combination of vermicompst and/or worm tea with chemical fertilizer significantly increase the number of flowering and size of Rose, Adenium obesum, Euphorbia milii, Jusmine.

Sub project 4 This research was to determine the effect of manure vermicompost compared to the use of organic fertilizers and together with bio-extract from vermicompost on soil physical properties, growth and yield of rice and conducted in the rain-fed farmer paddy field in Roi Et soil (Roi-Et series) at Bua Ban Amphoe Muang, Buriram Province . The experiment was conductedbetweenJune–December2012.

The experimental was laid out in a Randomized Complete Block Design with 4 replications and a plot size of 4 ? 6 meters. There was 6 treatments. The treatment combinations consisted of 1) Chemical fertilizer; 2) cattle manure compost, 3) vermicompost 4) Chemical fertilizer+ EM, 5) cattle manure + EM and 6) vermicompost + Bioextract from vermicompost

The results of experimental show that treatment 1; chemical fertilizers had highest density maximum (1.38 g cm-3), followed by treatment 5; cattle manure + EM and treatment 6; vermicompost + Bioextract from vermicompost has a value of 1.34 g cm-3 in both treatments.

The Soil depth of 15-30 cm; All treatments was found that increased in soil bulk density. The treatment 1 was the highest density (1.45 g cm-3) and treatment 5; cattle manure + EM and treatment 6; vermicompost + Bioextract from vermicompost has a value of 1.41 and 1.40 g cm-3, respectively.

Soil moisture (%); The treatment 1; chemical fertilizers trend to have lowest soil moisture (%), minimum (0.25%). But treatment 5; cattle manure + EM and treatment 6; vermicompost + Bioextract from vermicompost has a value of 0.28% of soil moisture at a depth of 0-15 cm and 0.33% and 0.36% respectively at a depth of 15-30 cm.

Saturated hydraulic conductivity: Ksat; The treatment 1; chemical fertilizers trend to have lower saturated hydraulic conductivity (2.10 cm hr-1) than other treatments. And treatment 5; cattle manure + EM and treatment 6; vermicompost + Bioextract from vermicompost were the highest value of saturated hydraulic conductivity: Ksat with 2.37 and 2.77 cm hr-1 respectively at a depth of 0-15 cm , and 1.48 and 154 cm hr-1 respectively at a depth of 15-30 cm.

Nitrogen, phosphorus, potassium and organic matter in the soil, the results show that treatment 1: chemical fertilizers trend to have a lowest in Nitrogen, phosphorus, potassium and organic matter in the soil . In contrast the treatment 5,cattle manure + EM and treatment 6 vermicompost + Bioextract from vermicompost had a higher than all treatments at all soil depth.

The results show that the treatment 1; Chemical fertilizer hat better plant height of 75.5 cm,followed by treatment 5,cattle manure + EM and treatment 6 vermicompost + Bioextract from vermicompost but there was no significant between treatment . However treatment 4; Chemical fertilizer + EM and treatment 6; vermicompost + Bioextract from vermicompost trended to have a better dry weight and number of tillers per hill. Which the dry weight of 3950 and 3893 kg per hectare, respectively, and increased the number of tillers per hill at 277 and 276 tillers per hill, respectively.

The studies suggested that the Vermicompost from earthworm can increase grain yield was close to most chemical fertilizer and can also increase the fertility to the soil and the suitable for growing crops than chemical fertilizer as well.

Sub project 5 study marketing situation for development organic vegetable agriculture business by marketing mix theory and to analyze the economic worthiness by application of Net Present Value (NPV), Benefit Cost Ratio (BCR), Payback period (PB) and Break-even point. Questionnaire was used to interviews 60 farmers, who produced and sold organic vegetables in Chiang Mai from Center of Maejo Earthworms Research Development. Findings showed that organic vegetable agriculture business to earthworms’ compost fertilizer application have worthiness. It meant that farmers, who produced and sold organic vegetables, had higher income than investment costs, especially fruits and leaves plants. Furthermore, sale of organic vegetables were fresh flowers which they did not process to other forms. The price depended on middlemen, who were in local market. The organic vegetables were distributed at the

J. J. market, Chiang Mai. Finally, promotion of these vegetables are less because the production is safe for producers and consumers. This production is motivation to develop for organic vegetables business. However, the earthworms’ compost application bring about cost reduction for improvement on production and provide safe and quality products for consumers.

Keyword : Mineralization Microorganism’s respirations, Organic carbon fraction, Labile carbon, Vermicompose, Earthworm
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ชุดโครงการ : โครงการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยภายใต้งานวิจัย
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ศาสตราจารย์ ดร.อานัฐ ตันโช
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะผลิตกรรมการเกษตร
ผู้วิจัยหลัก
(2556)
100 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2556
1/6/2556 ถึง 31/5/2557
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
1,958,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 1,958,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023