การศึกษาความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตาม เกณฑ์ AUN-QA สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้วิจัยได้ใช้ทฤษฎีกลยุทธ์ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม (Bloom's Taxonomy) เป็นพื้นฐานในการศึกษา ความต้องการและความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของหลักสูตร ผลการศึกษาพบว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความต้องการและความพึงพอใจต่อประเด็นด้านการพัฒนา คุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์ AUN-QA ในประเด็นด้านผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected Learning Outcome, ELO) ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ทำงานในองค์กรภาคเอกชน โดยส่วนใหญ่เห็นว่า ความรู้และทักษะของนักศึกษาที่ได้รับจากการศึกษา ตามหลักสูตรยังคงเพียงพอต่อการทำงานในปัจจุบันอยู่ ทั้งนี้ต้องการให้หลักสูตรพัฒนาในประเด็น ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program Learning Outcome: PLO) มุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพ นักศึกษา ด้านทักษะ/การคิด/การปฏิบัติ ให้เพิ่มมากขึ้น โดยที่ด้านความรู้และทักษะที่คิดว่าสำคัญต่อ การทำงาน 3 อันดับ คือ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและการเอาตัวรอด, การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้คอมพิวเตอร์และการใช้โปรแกรม Microsoft office โดยเฉพาะ Excel และ การบริหารจัดการ คนและการทำงานร่วมกับผู้อื่น สำหรับจุดเด่นของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คือ มีความอดทน สู้งาน ไม่เกี่ยงงาน และ มีความขยัน ส่วนประเด็นความคิดเห็นในด้านที่คณะและ หลักสูตรควรมีการปรับปรุง คือ การพัฒนาด้านสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย ครอบคลุมความ ต้องการ และปรับรูปแบบการเรียนการสอนที่สนุก ทันสมัยและตอบรับกับยุคปัจจุบัน เป็นหลัก สำหรับข้อเสนอแนะการจัดกิจกรรมการอบรมเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานหรือข้อเสนอแนะ ด้านอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมคุณภาพบัณฑิต เห็นว่า ควรมุ่งเน้นการพัฒนาภาวะผู้นำ, การเข้าสังคม และ การเอาตัวรอดในสังคม, การพัฒนาบุคลิกภาพ และยังคงข้อเสนอทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ การใช้ โปรแกรมต่าง ๆ เช่น Microsoft office การทำสื่อประชาสัมพันธ์ ส่วนข้อมูลความต้องการของ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อประเด็นด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์ AUN-QA การศึกษาใน 8 ประเด็น พบว่า ประเด็นที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องการให้คณะ/หลักสูตรให้ความสำคัญในระดับ มากที่สุด มี 3 ประเด็น คือ ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ ด้านผลผลิตและผลลัพธ์ และด้านโครงสร้างและ เนื้อหาของหลักสูตร และสำหรับความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อประเด็นด้านการพัฒนา คุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์ AUN-QA การศึกษาใน 8 ประเด็น พบว่า ทุกประเด็นมีความพึงพอใจใน ระดับมาก โดยประเด็นด้านผลผลิตและผลลัพธ์ (Output and Outcomes) เป็นประเด็นที่ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียพึงพอใจสูงที่สุด