22503 : โครงการ บ้าน วัด โรงเรียน ตำบลหนองหาร แข็งแรงปลอดภัย ห่างไกลภาวะวิกฤต
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
น.ส.อาษิรญา อินทนนท์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 13/11/2567 11:15:40
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  435  คน
รายละเอียด  กิจกรรมที่ 1 สามเณร แม่ครัว แม่บ้าน ครูและประชาชนผู้สนใจ จำนวน 50 คน กิจกรรมที่ 2 ครู แม่ครัว แม่บ้าน ครูและประชาชนผู้สนใจ จำนวน 35 คน กิจกรรมที่ 3 นักเรียน และครู จำนวน 220 คน กิจกรรมที่ 4 สามเณร ครูและ อสม. จำนวน 130 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะพยาบาลศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการบริการวิชาการ ประจำปี 2568 2568 300,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ขนิษฐา  วิศิษฏ์เจริญ
น.ส. อาษิรญา  อินทนนท์
อาจารย์ ศุภวรรณ  ใจบุญ
อาจารย์ หยาดพิรุณ  เสาร์เป็ง
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
นาง มาลี  ล้วนแก้ว
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะพยาบาลศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก
เป้าประสงค์ 68 MJU 1.1 เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มาใช้ในการเพิ่มศักยภาพการผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เพื่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดีสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Intelligent Well-being Agriculture : IWA)
ตัวชี้วัด 68 MJU 1.1.1 ผลการจัดอันดับ World University Ranking (WUR)
กลยุทธ์ 68 MJU 1.1.1.1 ผลักดันการดำเนินงานมหาวิทยาลัยทุกมิติ เพื่อเข้าสู่การจัดอันดับ World University Ranking (WUR)
ตัวชี้วัด 68 MJU 1.1.4 ผลการจัดอันดับ SDG Impact Ranking (Eco. University)
กลยุทธ์ 68 MJU 1.1.4.1 ผลักดันการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยและผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ตัวชี้วัด 68 MJU 1.1.6 ความสำเร็จของยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ (Organic University)
กลยุทธ์ 68 MJU 1.1.6.1 กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ที่ชัดเจน และขับเคลื่อนกิจกรรม รวมทั้งติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก MOC
เป้าประสงค์ พยบ68-2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางการพยาบาล/การเกษตร
ตัวชี้วัด พยบ68-2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ (ม. 2.3.1)
กลยุทธ์ พยบ68-2.3.1 ขับเคลื่อนการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน
ตัวชี้วัด พยบ68-2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ (ม. 2.3.2)
กลยุทธ์ พยบ68-2.3.2 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตัวชี้วัด พยบ68-2.3.3 จำนวนกิจกรรม/โครงการด้านบริการวิชาการ (kpi คณะ)
กลยุทธ์ พยบ68-2.3.3 ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการบริการวิชาการ
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 5 การสร้างความมั่นคงทางงบประมาณและทรัพยากรอย่างยั่งยืน (Budget and Resource Sustainability)
เป้าประสงค์ พยบ68-5.1 เป็นมหาวิทยาลัย/คณะ ที่มีความมั่นคงทางงบประมาณและทรัพยากรอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด พยบ68-5.1.2 จำนวนเงินรายได้จากการให้บริการ (ม.5.1.2)
กลยุทธ์ พยบ68-5.1.2 เร่งจัดทำแผนธุรกิจ (Business Plan) และการวางแผนการดำเนินงาน การหารายได้
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก (SPO)
เป้าประสงค์ พยบ68-1.1 เป็นมหาวิทยาลัย/คณะ ที่มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มาใช้ในการเพิ่มศักยภาพการผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เพื่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดีสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Intelligent Well-being Agriculture : IWA)
ตัวชี้วัด พยบ68-1.1.4 ความสำเร็จในการร่วมสนับสนุนและขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อเข้ารับการจัดอันดับ SDGs (mju 1.1.4)
กลยุทธ์ พยบ68-1.1.4 สนับสนุนและขับเคลื่อนการดำเนินงานคณะและผลงานการให้บริการวิชาการของคณะเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ตัวชี้วัด พยบ68-1.1.6 ความสำเร็จของยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ (Organic University) (mju 1.1.6)
กลยุทธ์ พยบ68-1.1.6 สนับสนุนและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

สามเณร เป็นคำเรียกผู้ที่ดำรงเพศอย่างภิกษุในพระพุทธศาสนาที่เป็นเด็กชายที่มีอายุยังไม่ครบ 20 ปี สามเณรจะมีการปรับตัวในช่วงของการบวช การดำเนินชีวิตตามหลักพระธรรมวินัย และสมาทานศีล 10 ข้อ แม้จะถือศีลเพียง 10 ข้อ แต่สามเณรก็จะปฏิบัติตนเช่นเดียวกับภิกษุ เช่น การไม่ถูกเนื้อต้องตัวผู้หญิง ออกรับอาหารบิณฑบาต ไม่ฉันภัตตาหารในเวลาวิกาลคือหลังจากเวลาเที่ยงแล้ว เป็นต้น อย่างไรก็ตาม รูปแบบอาหารส่วนใหญ่ที่สามเณรจะได้รับจากการบิณฑบาตมักเป็นข้าวขาว อาหารที่มีความเค็ม หวาน ของทอด และแกงกะทิ ซึ่งเป็นอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการสำหรับช่วงวัยของสามเณรที่อยู่ในช่วงของการเจริญเติบโต จากการสำรวจสุขภาพสามเณรทั่วประเทศ พบสามเณรขาดความเอาใจใส่สุขอนามัยส่วนบุคคล และองค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง มีภาวะโภชนาการเกิน (ท้วม เริ่มอ้วน และอ้วน) 22% มากกว่าเด็กชายไทยที่มีภาวะโภชนาการเกินอยู่ที่ 18% เนื่องจากเลือกฉันอาหารประเภทผัด ทอด และขนมหวานจำนวนมาก ที่สำคัญยังพบว่า ส่วนใหญ่เลือกฉันน้ำปานะที่มีน้ำตาลปริมาณสูง เช่น นมเปรี้ยว น้ำอัดลม ชาเขียว (ประกาศิต กายะสิทธิ์, 2565) การถวายอาหารที่เหมาะสมแก่พระสงฆ์และสามเณรนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือของคนในชุมชน เนื่องจากพระสงฆ์และสามเณรไม่สามารถปรุง ซื้อหรือร้องขออาหารจากญาติโยมได้ ญาติโยมและคนในชุมชนจึงเป็นบุคคลสำคัญในการเลือกอาหารที่จะนำมาถวายแด่พระสงฆ์และสามเณรในทุกวันหรือทุกโอกาสสำคัญ ดังนั้น ชุมชนจึงมีมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อสุขภาพของพระสงฆ์และสามเณร โดยเน้นในเรื่องการปรับเปลี่ยนอาหารที่นำมาถวาย เพราะการคัดสรรอาหารให้และการส่งเสริมการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสามณเพศ โดยเฉพาะสามเณร จะป้องกันภาวะอ้วนรวมถึงส่งเสริมการเจริญเติบโตได้อย่างสมวัน ซึ่งจะส่งผลต่อให้สามเณรมีสุขภาพที่ดีได้ (จงจิตร อังคทะวานิช, รุ่งฉัตร อำนวย, และ พรชนก เศรษฐอนุกูล, 2560) นอกจากเรื่องของสุขภาพแล้ว ภาวะฉุกเฉินที่พบได้บ่อยในชุมชนคือ ภาวะหัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest) เป็นภาวะที่หัวใจบีบตัวอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดหยุดลงอย่างกะทันหัน เนื้อเยื่อในร่างกายขาดออกซิเจน รวมทั้งเนื้อเยื้อของสมองด้วย ซึ่งเนื้อเยื้อของสมองสามารถทนต่อภาวะขาดออกซิเจนได้ไม่เกิน 4 นาที หากเกินกว่านั้นสมองจะถูกทำลาย และสมองจะถูกทำลายอย่างถาวรหลังขาดเลือดนาน 7 นาที ภาวะหัวใจหยุดเต้นเป็นภาวะที่ไม่สามารถคาดได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด และพบว่าส่วนมากผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นมักเกิดขึ้นที่นอกโรงพยาบาล ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เสียชีวิต การช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นโดยผู้ที่พบเห็นเหตุการณ์ เป็นสิ่งสำคัญต่อการรอดชีวิตของผู้ที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น แต่พบว่าการช่วยเหลือด้วยการกดหน้าอก (Cardiopulmonary resuscitation: CPR) นั้นเกิดขึ้นน้อยมาก เนื่องจากผู้พบเห็นเหตุการณ์มักมีความตื่นตระหนก ขาดความรู้ ความมั่นใจในการกดหน้าอก บางรายมีความรู้ไม่เพียงพอและรู้สึกกลัวว่าจะเป็นการทำร้ายผู้มีภาวะหัวใจหยุดเต้นโดยไม่ได้ตั้งใจ ดังนั้นการจัดการให้ประชนทุกคน ให้มีความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน เพื่อให้รู้สึกมั่นใจและสามารถให้การช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาได้ จึงมีความจําเป็นและสำคัญต่อการรอดชีวิตผู้มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเป็นอย่างยิ่ง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตั้งอยู่ในเทศบาลเมืองแม่โจ้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ มีโรงเรียนวัดวิเวกวนาราม (โรงเรียนพระปริยัติธรรม) ให้การสอนสามเณรระดับชั้นประถมศึกษาจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และโรงเรียนสันทรายวิทยาคม เป็นโรงเรียนประจำอำเภอสันทราย ในปีงบประมาณ 2567 คณะพยาบาลศาสตร์ได้จัดโครงการย่อย อบรม CPR และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่ประชาชนและพระสงฆ์ในเขตเทศบาลเมืองแม่โจ้ ภายใต้โครงการ 4Dวิถีแม่โจ้ กายดี จิตดี กินดี ในสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนสันทรายวิทยาคม คณาจารย์ และสามเณรวัดวิเวกวนาราม ชั้นปีที่ 6 พระสงฆ์และครูโรงเรียนวัดวิเวกวณาราม โดยมีการจัดการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) และปฐมพยาบาลเบื้องต้น ให้กับนักเรียน สามเณรและพระสงฆ์ โดยการบรรยายทางทฤษฎี เกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR ) ขั้นตอนปฐมพยาบาลเบื้องต้น รวมทั้งมีการสาธิต การปฏิบัติจริง โดยให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ฝึกทำ CPR กับหุ่นจำลอง เปิดโอกาสให้การถามตอบ และแจกเอกสารสรุปเกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR ) และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ผลการดำเนินงานพบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 280 คน ผ่านการอบรมและได้รับใบประกาศนียบัตรจากศูนย์การแพทย์ฉุกเฉิน สามารถนำทักาะที่ได้ไปใช้ช่วยเหลือบุคคลที่ต้องการฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR ) และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น อีกทั้งสามารถนำไปใช้ในเก็บเป็นแฟ้มสะสมงานเพื่อสำหรับยื่นสอบเข้ามหาวิทยาลัย สายวิทยาศาสตร์สุขภาพได้ จากการสำรวจความต้องการการได้รับบริการทางด้านสุขภาพของเจ้าอาวาสวัดวิเวกวนารามและผู้อำนวยการโรงเรียนสันทรายวิทยาคม รวมถึงชาวบ้านในพื้นที่ ตามบันทึกข้อความเลขที่ อว.69.33/98 ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2567 พบว่า มีความต้องการให้คณะพยาบาลศาสตร์ให้บริการวิชาการด้านสุขภาพ โดยให้จัดอบรมเกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR ) ขั้นตอนปฐมพยาบาลเบื้องต้น การประเมินโภชนาการสามเณร การให้ความรู้แก่สามเณรและผู้ประกอบอาหารถวายพระสงฆ์สามเณรเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จากความสำคัญดังกล่าว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงจัดโครงการบริการวิชาการ “บ้าน วัด โรงเรียน ตำบลหนองหาร แข็งแรงปลอดภัย ห่างไกลภาวะวิกฤต” เพื่อให้แกนชุมชนตระหนักถึงการการเลือกอาหารเพื่อถวายแด่พระสงฆ์และสามเณร และสามารถช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นได้ และเพื่อให้การดำเนินโครงการครบถ้วนทุกมิติด้านการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ จึงได้บูรณาการกระบวนการเรื่อง “การเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชนในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในพระสงฆ์” ของคุณขนิษฐา วิศิษฏ์เจริญ และคุณวิไลวรรณ ปะธิเก (2562) โดยนำกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชนในการสร้างความตระหนัก และพัฒนาศักยภาพชุมชน เพื่อสร้างศักยภาพชุมชนในการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ ให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อประเมินภาวะโภชนาการของสามเณรในเขตตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
เพื่อให้ความรู้แก่สามเณรในการเลือกฉันอาหารที่เหมาะสม
เพื่อให้ผู้ประกอบอาหารให้สามเณร (ครูและแม่ครัวที่วัดวิเวกวนาราม) สามารถวางแผนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมโภชนาการของสามเณรได้
เพื่อให้นักเรียนและสามเณร มีทักษะการปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐานได้อย่างถูกวิธี
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : สามเณรได้รับการประเมินภาวะโภชนาการ ความรู้ด้านภาวะโภชนาการ และมีความรู้เกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหาร ตลอดจนผู้ประกอบอาหารสามารถวางแผนการทำอาหารเพื่อส่งเสริมโภชนาการแก่สามเณร รวมทั้งนักเรียนและสามเณรที่ได้รับการอบรมการทำ CPR มีทักษะการปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐานได้
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนผู้เข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
435 คน 435
KPI 3 : ร้อยละความพึงพอใจขอผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 ร้อยละ 80
KPI 4 : เด็กนักเรียนและสามเณร มีทักษะการปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : สามเณรได้รับการประเมินภาวะโภชนาการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 ร้อยละ 80
KPI 7 : สามเณรมีความรู้ในเรื่องการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 8 : ผู้ประกอบอาหารให้สามเณร (ครูและแม่ครัวที่วัดวิเวกวนาราม) มีความรู้ในเรื่องการประกอบอาหารสามารถวางแผนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของสามเณร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 9 : ค่าใช้จ่ายตามงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.1941 0.1059 ล้านบาท 0.3
KPI 10 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 11 : ร้อยละของกิจกรรมที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : สามเณรได้รับการประเมินภาวะโภชนาการ ความรู้ด้านภาวะโภชนาการ และมีความรู้เกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหาร ตลอดจนผู้ประกอบอาหารสามารถวางแผนการทำอาหารเพื่อส่งเสริมโภชนาการแก่สามเณร รวมทั้งนักเรียนและสามเณรที่ได้รับการอบรมการทำ CPR มีทักษะการปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐานได้
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 การประเมินโภชนาการของสามเณร และให้ความรู้แก่สามเณรเรื่องการบริโภคอาหาร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2567 - 31/08/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์หยาดพิรุณ  เสาร์เป็ง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์อมรเลิศ  พันธ์วัตร์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์บุษกร  ยอดทราย (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์รัตนาภรณ์  แบ่งทิศ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์จริยาพร  ศรีสว่าง (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางรัตนา  กันตีโรจน์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 50 คนๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 3 วัน
2. ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 50 คนๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ 3 วัน

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
33,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 33,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ)
ภาคบรรยาย จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท 2 คน 3 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
14,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 14,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1.วัสดุสำนักงาน เช่น ค่าถ่ายเอกสาร แฟ้มใส ปากกา กระดาษ A4 ลวดหนีบกระดาษ แม็คเย็บกระดาษและลูกแม็ค สมุดบันทึก ฯลฯ เป็นจำนวนเงิน 7,000 บาท
2.วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น กะละมังพลาสติก ผ้าเช็ดมือ ถุงขยะ ฯลฯ เป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท
3.วัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น ชุดเม้าส์คีย์บอร์ดไร้สาย หมึกปริ้นท์ Handy drive ฯลฯ เป็นจำนวนเงิน 15,000 บาท
4.วัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ เช่น ถุงมือ แอลกอฮอล์ หน้ากากทางการแพทย์ ฯลฯ เป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
37,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 37,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 84400.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบอาหารให้สามเณร (ครูและแม่ครัวที่วัดวิเวกวนาราม)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2567 - 31/08/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.วรรณภา  พิพัฒน์ธนวงศ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.อาษิรญา  อินทนนท์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ปรเมษฐ์  อินทร์สุข (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์อัณณ์ณิชา  วุฒิกุล (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ขนิษฐา  วิศิษฏ์เจริญ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 35 คน ๆ ละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อ
2.ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 35 คน ๆ ละ 150 บาท จำนวน 1 มื้อ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
7,700.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,700.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 1 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท จำนวน 1 ครั้ง
2. ค่าตอบแทนวิทยากรบุคลากรภาครัฐ (ภาคปฏิบัติ) จำนวน 2 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท จำนวน 1 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
7,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1.วัสดุสำนักงาน เช่น ค่าถ่ายเอกสาร/ แฟ้ม /ปากกา/ กระดาษ A4/ ลวดหนีบกระดาษ/ แม็คเย็บกระดาษและลูกแม็ค ฯลฯ เป็นจำนวนเงิน 3,500 บาท
2.วัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกปริ้นท์ Handy drive ฯลฯ เป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
8,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 23400.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 5 ประชุมสรุปและวิเคราะห์ประเมินผลโครงการในภาพรวม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/06/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ขนิษฐา  วิศิษฏ์เจริญ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ศุภวรรณ  ใจบุญ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์หยาดพิรุณ  เสาร์เป็ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1.วัสดุสำนักงาน เช่น ค่าถ่ายเอกสาร/ แฟ้มใส/ กระดาษ A4/ ลวดหนีบกระดาษ/ ลูกแม็ค ฯลฯ เป็นจำนวนเงิน 13,600 บาท
2.วัสดุไฟฟ้าและวิทยุ เช่น ปลั๊กไฟ ฯลฯ เป็นจำนวนเงิน 7,000 บาท
3.วัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น แผ่น CD หมึกปริ้นท์ Handy drive ฯลฯ เป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 40,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 40,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 40600.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 3 อบรม CPR และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่ ครูและนักเรียนโรงเรียนสันทรายวิทยาคม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2567 - 28/02/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ศุภวรรณ  ใจบุญ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์สุรัช  สุนันตา (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์เบญจมาศ  ถาดแสง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์กาญจนา  เตชาวงศ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์รัตนาวดี  แก้วเทพ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ปรเมษฐ์  อินทร์สุข (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายศักดิ์นรินทร์  แก่นกล้า (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.สาวิตรี  ทิพนี (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.ศกุนตลา  จินดา (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 220 คนๆ ละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อ
2. ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 220 คน ๆ ละ 150 บาท จำนวน 1 มื้อ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
48,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 48,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรที่มิใช่ของรัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 1 คน ๆ ละ 2 ชั่วโมง ๆ ละ 1,500 บาท จำนวน 1 ครั้ง
2. ค่าตอบแทนวิทยากร(บุคลากรที่มิใช่ของรัฐ) ภาคปฏิบัติ จำนวน 2 คน ๆ ละ 4 ชั่วโมง ๆ ละ 1,500 บาท จำนวน 1 ครั้ง

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
15,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. วัสดุสำนักงาน เช่น ค่าถ่ายเอกสาร/ แฟ้มใส/ปากกา / กระดาษ A4 ฯลฯ เป็นจำนวนเงิน 5,600 บาท
2. วัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกปริ้นท์ Handy drive ฯลฯ เป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท
3. วัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ เช่น ถุงมือ แอลกอฮอล์ หน้ากากทางการแพทย์ ฯลฯ เป็นจำนวนเงิน 15,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
30,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 30,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 94000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 4 อบรม CPR และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่ครู พระสงฆ์และสามเณร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 04/11/2567 - 28/02/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ศุภวรรณ  ใจบุญ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์สุรัช  สุนันตา (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์เบญจมาศ  ถาดแสง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์กาญจนา  เตชาวงศ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ปรเมษฐ์  อินทร์สุข (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์รัตนาวดี  แก้วเทพ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายศักดิ์นรินทร์  แก่นกล้า (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.ศกุนตลา  จินดา (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.สาวิตรี  ทิพนี (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) (ประชาชน) จำนวน 130 คนๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ จำนวน 1 วัน
2. ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 130 คน ๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ จำนวน 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
28,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 28,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรที่มิใช่ของรัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 1 คน ๆ ละ 2 ชั่วโมง ๆ ละ 1,500 บาท จำนวน 1 ครั้ง
2. ค่าตอบแทนวิทยากร(บุคลากรที่มิใช่ของรัฐ) ภาคปฏิบัติ จำนวน 2 คน ๆ ละ 4 ชั่วโมงๆ ละ 1,500 บาท จำนวน 1 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
15,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. วัสดุสำนักงาน เช่น ค่าถ่ายเอกสาร/ แฟ้มใส/ ปากกา /กระดาษ A4ฯ ฯลฯ เป็นจำนวนเงิน 4,000 บาท
2. วัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ เช่น ผ้าพันแผล ถุงมือทางการแพทย์ แอลกอฮอล์ ฯลฯ เป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
14,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 14,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 57600.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
รายวิชา 11701 271 ระบาดวิทยาและชีวสถิติ บูรณาในหัวข้อ การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา โดยให้นักศึกษาประเมินภาวะโภชนาการของสามเณร เพื่อส่งเสริมและป้องกันปัญหาโภชนาการ ภาคเรียนที่ 2/2567 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2
ช่วงเวลา : 01/11/2567 - 31/03/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล