22292 : การพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ลำไยพื้นถิ่นหนองช้างคืน ด้วยนวัตกรรมการตลาดเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
นายฉัตรชัย ก๋าเร็ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 30/10/2567 9:09:34
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
09/10/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ลำไยพื้นถิ่นหนองช้างคืน, บุคลากรคณะบริหารธุรกิจ, นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะบริหารธุรกิจ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 2568 300,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. วินัย  บังคมเนตร
อาจารย์ ดร. จักรพงษ์  สุขพันธ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิยะดา  ชัยเวช
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะบริหารธุรกิจ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ BA68-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ BA68-G-4 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับหรือก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคม ชุมชน และประเทศ โดยมีศาสตร์ทางด้านการเกษตรเป็นรากฐาน
ตัวชี้วัด BA68-KPI-18 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ BA68-S-18 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จากการดำเนินกิจกรรมในการพัฒนาพื้นที่ภายใต้โครงการพระราชดำริ ตำบลหนองช้างคืนเป็นพื้นที่หนึ่งที่กลุ่มเกษตรกรได้มีการทำกิจกรรมร่วมกันในพื้นที่โดยมีศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตำบลหนองช้างคืน อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน เป็นศูนย์กลางในการดำเนินกิจกรรม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ถือได้ว่าเป็นหน่วยงานจากภาคศึกษาที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการผลักดันให้กลุ่มเกษตรกรได้เห็นถึงความสำคัญในการดำเนินงานในรูปแบบของวิสาหกิจชุมชน (Community Enterprise) ที่เป็นกิจการของชุมชนในการผลิตสินค้า/การให้บริการ หรือการดำเนินการอื่น ๆ ที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพัน มีวิถีชีวิตร่วมกันภายในเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชน และระหว่างชุมชน จึงทำให้เกิดการจดทะเบียนเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ลำไยพื้นถิ่นหนองช้างคืน ภาพรวมของการจัดกิจกรรมปี 2566 ได้ผลผลิตคือโลโก้ของสินค้าถ่านไบโอชาร์ การดำเนินการจัดจำหน่ายผลผลิตลำไยตามแผนธุรกิจ BMC คือ จำหน่ายลำไยแบบผสมผสาน 3 สายพันธุ์ที่เรียกว่า ลำไย 3 สหาย เพื่อเพิ่มมูลค่าของการขายลำไย และในปี 2567 ได้พัฒนารูปแบบการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในรูปแบบ online โดยมีผลผลิตคือ การให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่จัดตั้งขึ้นในปี 2566 มีความเข้าใจและเกิดการจำหน่ายผลิตภัณฑ์บน Marketplace ทั้งระบบ ตั้งแต่การวางแผนการผลิต การตลาด และระบบชำระเงินค่าสินค้าบน Marketplace ทั้งนี้จากผลผลิตในทั้ง 2 ปี ที่ผ่านมา ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกลุ่มวิสาหกิจฯ ยังคงมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในตลาด online จากที่ผลที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามทางกลุ่มวิสาหกิจฯ ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากของเหลือใช้จากการปลูกลำไยที่นอกเหนือจากการผลิตถ่านไบโอชาร์ โดยมีแนวคิดพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาจากใบลำไย เพื่อนำมาเป็นสินค้าต้นแบบและวางแผนทางการตลาดในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายต่อไป โครงการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ลำไยพื้นถิ่นหนองช้างคืน ด้วยนวัตกรรมการตลาดเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนและการพึ่งพาตนเองของชุมชนตำบลหนองช้างคืน โดยการพัฒนาครั้งนี้จะมุ่งเน้นไปที่การยกระดับการผลิตและจำหน่ายลำไยให้มีคุณภาพและมูลค่าสูงขึ้น ผ่านการนำเอานวัตกรรมการตลาดที่ทันสมัยมาใช้ เช่น การจัดจำหน่ายออนไลน์ การพัฒนาแบรนด์ และการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากของเหลือใช้ทางการเกษตร การพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนในครั้งนี้จะช่วยให้เกษตรกรในพื้นที่มีความเข้าใจในกระบวนการทางธุรกิจมากขึ้น ตั้งแต่การวางแผนการผลิต การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ไปจนถึงการนำเสนอผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางการตลาดออนไลน์ เพื่อให้กลุ่มวิสาหกิจฯ สามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างกว้างขวางและสามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากลำไยและของเหลือใช้ เช่น การผลิตถ่านไบโอชาร์และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากใบลำไย จะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตของชุมชน ทำให้เกิดความหลากหลายในผลิตภัณฑ์ และสร้างรายได้เพิ่มเติมให้กับครัวเรือนในชุมชน รวมถึงการพัฒนาระบบการตลาดที่มีประสิทธิภาพจะทำให้กลุ่มวิสาหกิจฯ สามารถขยายฐานลูกค้าและตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลายได้ ผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มวิสาหกิจฯและสอดคล้องกับบริบทของกลุ่มแบ่งออกเป็น 2 ชนิด 1)ถ่านไบโอชาร์จากใบลำไย เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำใบลำไยเหลือใช้มาผ่านกระบวนการเผาในสภาวะที่มีออกซิเจนต่ำ (pyrolysis) จนกลายเป็นถ่านชีวภาพ ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดซับสารพิษและปรับปรุงคุณภาพดิน ลักษณะของถ่านไบโอชาร์จากใบลำไยจะคล้ายกับถ่านทั่วไป แต่มีรูพรุนมากกว่า ทำให้สามารถกักเก็บสารอาหารและความชื้นได้ดี เหมาะสำหรับใช้ในงานเกษตรและงานปรับปรุงสิ่งแวดล้อม โดยโครงการจะเข้าไปปรับปรุงกระบวณการผลิตซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีเฉพาะและเทคโนโลยีการเผาแบบไร้ออกซิเจน 2)การผลิตสินค้าจากแผ่นหนังจากใบลำไย โดยมีแนวคิดที่จะผลิตเป็นสินค้นในหลายชนิด เช่น เครื่องใช้ภายในบ้าน ประกอบด้วย • ที่รองแก้ว/ที่รองจาน: แผ่นหนังใบลำไยสามารถนำมาทำเป็นที่รองแก้วหรือที่รองจาน ที่มีความแข็งแรงและกันน้ำได้ดี ใช้ได้ทั้งในบ้านและร้านอาหาร • กล่องเก็บของ: กล่องหรือตะกร้าที่บุด้วยแผ่นหนังใบลำไย เหมาะสำหรับใช้เก็บเครื่องประดับ เครื่องสำอาง หรือของใช้เล็ก ๆ น้อย ๆ ในบ้าน ดังนั้นคณะบริหารธุรกิจซึ่งถือเป็นคณะที่มีส่วนในการเริ่มต้นพร้อมกับกลุ่มวิสาหกิจฯ เห็นว่ากลุ่มยังคงต้องได้รับการพัฒนาการจัดทำสินค้าใหม่ การเข้าถึงตลาดเป้าหมาย โครงการนี้จะช่วยให้ชุมชนตำบลหนองช้างคืนสามารถพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจชุมชนผ่านการใช้นวัตกรรมการตลาดในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่แปรรูปมาจากใบลำไย
ค้นหาตลาดเป้าหมายของผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากใบลำไย
ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ต้นแบบไปยังตลาดเป้าหมาย
ปรับรูปแบบการเผาถ่านไบโอชาร์เพื่อลดควันไฟ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ อย่างน้อย 2 ผลิตภัณฑ์
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนผลผลิต / ต้นแบบผลิตภัณฑ์ ที่เกิดจากการดำเนินโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 ผลิตภัณฑ์ 2
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 4 : รูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์ ณ จุด POS
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 รูปแบบ 1
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 8 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
300000 บาท 300000
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ อย่างน้อย 2 ผลิตภัณฑ์
ชื่อกิจกรรม :
อบรมการทำผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากใบลำไย

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 10/10/2567 - 31/03/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.วินัย  บังคมเนตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.จักรพงษ์  สุขพันธ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 30 คน 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท 4 วัน เป็นเงิน 8,400 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 30 คน 1 มื้อ ๆ ละ 150 บาท 4 วัน เป็นเงิน 18,000 บาท
3. ค่าจ้างเหมารถพร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 คัน ๆ ละ 2,800 บาท 4 วัน เป็นเงิน 11,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
37,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 37,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 1 คน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท 4 วัน เป็นเงิน 19,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
19,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 19,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น ปากกาเคมี กระดาษบรู๊ฟ ปากกาหมึกแห้ง คลิปหนีบ มาสกิ้งเทป กาว กรรไกร คัตเตอร์ ไม้บรรทัดเหล็ก แผ่นรองตัด แผ่นหนัง ฯลฯ เป็นเงิน 6,000 บาท
2. ค่าวัสดุเกษตร เช่น ค่าใบลำไย ฯลฯ เป็นเงิน 2,000 บาท
3. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น แก๊ส แผ่นหนัง ผ้าผืน ฯลฯ เป็นเงิน 14,000 บาท
4. ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น เคมีภัณฑ์สาร Plasticizer ถุงมือ ฯลฯ เป็นเงิน 4,000 บาท
5. ค่าถ่ายเอกสาร เป็นเงิน 2,100 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
28,100.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 28,100.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 84900.00
ชื่อกิจกรรม :
อบรมการค้นหาตลาดเป้าหมาย

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/04/2568 - 30/06/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.วินัย  บังคมเนตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.จักรพงษ์  สุขพันธ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 30 คน 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท 3 วัน เป็นเงิน 6,300 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 30 คน 1 มื้อ ๆ ละ 150 บาท 3 วัน เป็นเงิน 13,500 บาท
3. ค่าจ้างเหมารถพร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 คัน ๆ ละ 2,800 บาท 3 วัน เป็นเงิน 8,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 28,200.00 บาท 0.00 บาท 28,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 1 คน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท 3 วัน เป็นเงิน 14,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 14,400.00 บาท 0.00 บาท 14,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น ปากกาเคมี กระดาษบรู๊ฟ ปากกาหมึกแห้ง คลิปหนีบ มาสกิ้งเทป ฯลฯ เป็นเงิน 2,000 บาท
2. ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกปริ้นเตอร์ ฯลฯ เป็นเงิน 5,300 บาท
3. ค่าถ่ายเอกสาร เป็นเงิน 2,100 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 9,400.00 บาท 0.00 บาท 9,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 52000.00
ชื่อกิจกรรม :
อบรมการคำนวณต้นทุนและกำหนดราคา

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/04/2568 - 30/06/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.วินัย  บังคมเนตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.จักรพงษ์  สุขพันธ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 30 คน 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท 2 วัน เป็นเงิน 4,200 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 30 คน 1 มื้อ ๆ ละ 150 บาท 2 วัน เป็นเงิน 9,000 บาท
3. ค่าจ้างเหมารถพร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 คัน ๆ ละ 2,800 บาท 2 วัน เป็นเงิน 5,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 18,800.00 บาท 0.00 บาท 18,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 1 คน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท 2 วัน เป็นเงิน 9,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น ปากกาเคมี กระดาษบรู๊ฟ ปากกาหมึกแห้ง คลิปหนีบ มาสกิ้งเทป ฯลฯ เป็นเงิน 2,100 บาท
2. ค่าถ่ายเอกสาร เป็นเงิน 2,100 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,200.00 บาท 0.00 บาท 4,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 32600.00
ชื่อกิจกรรม :
จ้างเหมาออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/04/2568 - 31/08/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.วินัย  บังคมเนตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.จักรพงษ์  สุขพันธ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมาออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์ เป็นเงิน 40,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 40,000.00 บาท 0.00 บาท 40,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 40000.00
ชื่อกิจกรรม :
อบรมการทำสื่อและจ้างเหมาผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ ณ จุดขาย และออกงานแสดงสินค้า

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/07/2568 - 31/08/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.วินัย  บังคมเนตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.จักรพงษ์  สุขพันธ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 30 คน 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท 3 วัน เป็นเงิน 6,300 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 30 คน 1 มื้อ ๆ ละ 150 บาท 3 วัน เป็นเงิน 13,500 บาท
3. ค่าจ้างเหมารถพร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 คัน ๆ ละ 2,800 บาท 3 วัน เป็นเงิน 8,400 บาท
4. ค่าจ้างเหมาออกแบบและจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ ณ จุดขาย เป็นเงิน 40,000 บาท
5. ค่าเช่าสถานที่ออกร้าน เป็นเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 73,200.00 บาท 73,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 1 คน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท 3 วัน เป็นเงิน 14,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 14,400.00 บาท 14,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น ปากกาเคมี กระดาษบรู๊ฟ ปากกาหมึกแห้ง คลิปหนีบ มาสกิ้งเทป ฯลฯ เป็นเงิน 1,500 บาท
2. ค่าถ่ายเอกสาร เป็นเงิน 1,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,900.00 บาท 2,900.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 90500.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
รายวิชา 10202311 การจัดการแบรนด์และผลิตภัณฑ์ในตลาดดิจิทัล , 10202316 การวางแผนและการปฏิบัติการตลาดดิจิทัล
ช่วงเวลา : 10/10/2567 - 31/08/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
งานวิจัย “การพัฒนาผู้ประกอบการด้านวัฒนธรรม นวัตกรวัฒนธรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมและกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่” รหัสวิจัย วช.65-013
ช่วงเวลา : 10/10/2567 - 31/08/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล