22251 : โครงการฝึกอบรมเรื่อง ภูมิทัศน์สวนบ้านช่วยต้านมลพิษ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.สุทธิพร ฟังเย็น (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 18/10/2567 22:46:50
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
21/10/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  เจ้าหน้าที่หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และสถานศึกษา/โรงเรียนในพื้นที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมด้วยนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณโครงการบริการวิชาการ (สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร) 2568 45,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เยาวนิตย์  ธาราฉาย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อัจฉรี  เหมสันต์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 2(64-68)-FAED การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 2.5(64-68)-FAED67 การพัฒนาระบบกลไกในการดำเนินงาน และการให้บริการวิชาการอย่างมืออาชีพ
ตัวชี้วัด 2.3.1FAED67 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FAED-2.5.1(64-68) สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการและการบริการวิชาการกับหน่วยงานภายในและชุมชนภายนอกอย่างยั่งยืน
กลยุทธ์ FAED-2.5.3(64-68) ผลักดันและส่งเสริมการขึ้นทะเบียนเป็นที่ปรึกษาของมหาวิทยาลัยในสาขาที่คณะมีความพร้อม
กลยุทธ์ FAED-2.5.2(64-68) จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์งานด้านบริการวิชาการของคณะ
ตัวชี้วัด 2.3.2FAED67 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FAED-2.5.4(64-68) ส่งเสริม และสนับสนุนการบูรณาการงานบริการวิชาการกับหน่วยงานภายในและชุมชนภายนอก
กลยุทธ์ FAED-2.5.5(64-68) จัดทำฐานข้อมูลที่สนับสนุนการบริหารจัดการและติดตามประเมินผลโครงการบริการวิชาการของคณะ
กลยุทธ์ FAED-2.5.6(64-68) ส่งเสริมการถ่ายทอดวิชาการที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นตามบริบท อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การบริการวิชาการ การฝึกอบรม สัมมนา หลักสูตรระยะสั้นทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ ตลอดจนชุมชนท้องถิ่น
กลยุทธ์ FAED-2.5.7(64-68) เพิ่มปริมาณการยื่นข้อเสนอโครงการ โดยประชาสัมพันธ์การเปิดรับข้อเสนอจากแหล่งทุนต่าง ๆ และประสานการรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มโอกาสการยื่นข้อเสนอโครงการ ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ และประสานงานที่เกี่ยวข้องกับการยื่นข้อเสนอภายในมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ทุกประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญ และตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งนอกจากจะเกิดจากการปลดปล่อยมลพิษจากอุตสาหกรรมต่างๆ แล้ว ในปัจจุบันยังมีผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก (climate change) อันมีผลต่อสภาพอากาศที่แปรปรวน การเพิ่มขึ้นของคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซที่เป็นมลพิษหลายชนิด การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย มีทิศทางการพัฒนาไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals; SDGs) การดำเนินงานตามอนุสัญญาและข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายใน ค.ศ. 2065 (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม, 2564) จังหวัดเชียงใหม่มีสถานการณ์ด้านมลพิษ คุณภาพอากาศ ใน พ.ศ. 2563 ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) และขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ที่น่ากังวล มีมลพิษในอากาศเพิ่มขึ้น ถึงแม้จะลดลงในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 เนื่องจากมีการใช้รถและการสัญจรลดลง แต่ก็จะมีสถานการณ์ฝุ่นมลพิษกลับมาเช่นเดิมเมื่อมีกิจกรรมต่างๆ ทางสังคมและเศรษฐกิจในภาวะปกติ รวมทั้งการเผาในที่โล่ง จากงานวิจัยโดย TNC หรือ The Natture Conservancy รายงานว่าการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองมีประโยชน์หลายๆด้าน นอกจากการเพิ่มอากาศบริสุทธิ์ ความชื้นในบรรยากาศแล้ว ยังช่วยดูดซับฝุ่นที่กำลังเป็นปัญหาในเมืองใหญ่ๆได้ ซึ่งหากมีพื้นที่สีเขียวมากพอ ก็สามารถลดปริมาณฝุ่นได้เฉลี่ยร้อยละ 7 – 24 และยังทำให้อากาศที่เราหายใจสะอาดขึ้นอีกด้วย โดยฝุ่นละอองจะลอยไปติดอยู่บนผิวใบไม้และเมื่อมีฝนตกลงมา ฝุ่นที่ติดอยู่บนผิวใบก็จะถูกชะล้างลงดิน อย่างไรก็ตาม “มลพิษทางสิ่งแวดล้อม” มีทั้ง มลพิษทางน้ำ ทางอากาศ ทางดิน ทางเสียง และที่เกิดจากมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ซึ่งถ้ามีการบริหารจัดการจากหน่วยระดับเล็กหรือครัวเรือน บ้านเรือน ก็จะช่วยลดมลพิษในภาพรวมของสังคมได้ การออกแบบภูมิทัศน์บ้าน คนทั่วไปอาจจะเข้าใจว่าออกแบบตกแต่งเพื่อให้เกิดความสวยงาม น่าอยู่ น่ามอง แต่โดยพื้นฐานแนวคิดแล้วในการออกแบบภูมิทัศน์ที่คำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม จะมีการพิจารณารายละเอียดในการเลือกใช้วัสดุทั้งวัสดุดาดแข็ง (hard scape) และ วัสดุดาดอ่อน (soft scape) พืชพรรณไม้ประดับต่างๆ เพื่อให้ช่วยปรับแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมไปด้วย การดำเนินงานเพื่อนำวิชาการไปเผยแพร่และผู้รับบริการ หน่วยงาน หรือชุมชนสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล สามารถเกิดขึ้นได้โดยอาศัยหลักการตามแนวพระราชดำริและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งได้พระราชทานแก่ทั้งหน่วยงานราชการ องค์กร ภาครัฐ หรือแม้แต่ระดับชุมชนชาวบ้าน เพื่อให้น้อมนำไปปฏิบัติ ในส่วนที่โครงการนี้นำมาเป็นแนวทางการดำเนินงานมีความสอดคล้องกับเรื่องของการปลูกฝัง ปลุกจิตสำนึกให้รักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ที่พระราชทานเรื่อง การปลูกต้นไม้ในใจคน “...ควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน แล้วคนเหล่านั้นก็จะพากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดิน และรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง...” พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ หน่วยงานพัฒนาต้นน้ำ ทุ่งจ๊อ จ.เชียงใหม่ พ.ศ. 2519

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเผยแพร่ความรู้วิชาการด้านภูมิทัศน์ที่สามารถนำมาแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม ตามแนวพระราชดำริ
เพื่อเสริมสร้างทักษะการออกแบบภูมิทัศน์บ้านและการเลือกใช้พืชพรรณเพื่อลดมลพิษ
เพื่อสร้างความตระหนัก การรับรู้และสร้างจิตสำนึกและตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การจัดฝึกอบรมภูมิทัศน์สวนบ้านช่วยต้านมลพิษ
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ค่ามลพิษที่ลดลง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 ร้อยละ 20
KPI 5 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.045 ล้านบาท 0.045
KPI 6 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การจัดฝึกอบรมภูมิทัศน์สวนบ้านช่วยต้านมลพิษ
ชื่อกิจกรรม :
การจัดฝึกอบรมภูมิทัศน์สวนบ้านช่วยต้านมลพิษ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เยาวนิตย์  ธาราฉาย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัจฉรี  เหมสันต์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์พรทิพย์  จันทร์ราช (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายธวัชชัย  มานิตย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์สุระพงษ์  เตชะ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 60 คน ๆ ละ 120 บาท 1 มื้อ 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 60 คน ๆ ละ 40 บาท 2 มื้อ 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือฝึกอบรม ( 30 หน้า/เล่ม) จำนวน 50 เล่ม ๆ ละ 70 บาท 1 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,500.00 บาท 0.00 บาท 3,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย
จำนวน 1.5 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท 2 คน 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคปฏิบัติ จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 500 บาท 3 คน 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,500.00 บาท 0.00 บาท 4,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงานฯ เช่น กระดาษ ปากกา ไม้บรรทัด คลิปหนีบกระดาษ ถ่านไฟฉาย แปรงหรือพู่กัน ซองเอกสาร ค่าสำเนา
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น ปุ๋ย สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ดินปลูก กระถางต้นไม้ ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 17,600.00 บาท 0.00 บาท 17,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 45000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
บูรณาการการเรียนการสอนในรายวิชา การออกแบบภูมิทัศน์1, 2 และ วัสดุพืชพรรณและการเลือกใช้1
ช่วงเวลา : 01/11/2567 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
โครงการวิจัยเรื่อง การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรล้านนาที่มีศักยภาพเป็นพืชประดับ และ แนวทางการบริหารจัดการเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ช่วงเวลา : 01/11/2567 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล