20980 : โครงการยกระดับการเรียนรู้และการพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองคุณภาพ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นายณัฏฐชัย อัฐวงศ์ชยากร (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 24/11/2566 20:19:51
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2566  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  จำนวนเกษตรกรอำเภอสันทราย และนักศึกษา เยาวชนที่สนใจ มีความเข้าใจในการผลิตมะม่วงคุณภาพ โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ประมาณ 50 ราย
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน ฟาร์มมหาวิทยาลัย หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร มีหน่วยนับเป็นบาท 2567 330,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ดร. สุรชัย  ศาลิรัศ
นาย สถาพร  ฉิมทอง
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
ฟาร์มมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

มะม่วงเป็นไม้ผลเขตร้อนที่สามารถปลูกได้ในทุกภาคของประเทศ เป็นไม้ผลที่ปลูกมากเป็นอับดับสองของโลกและปลูกมากที่สุดในประเทศไทย โดยกรมวิชาการเกษตรสำรวจพบว่า มีกลุ่มผู้ผลิตมะม่วง จำนวน 92 กลุ่ม ส่วนใหญ่จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ 31 จังหวัด โดยแหล่งใหญ่ที่มีการรวมกลุ่มผู้ผลิตมะม่วงมากที่สุดได้แก่ จังหวัด เลย เชียงใหม่ ฉะเชิงเทรา ขอนแก่น พิษณุโลก และอ่างทอง โดยปัจจุบันนิยมปลูกมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง ซึ่งเป็นมะม่วงพันธุ์ที่นิยมรับประทานสุก มีรสชาติ หอม หวาน กรอบ สามารถส่งออกไปตลาดต่างประเทศ อาทิ ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลี ยุโรป สหรัฐอเมริกา ฯลฯ ในพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ มีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมะม่วงเพื่อการส่งออกอำเภอพร้าว มาตั้งแต่ปี 2548 โดยผลิตมะม่วงคุณภาพส่งทั้งภายในและต่างประเทศ ปัญหาที่เกษตรกรประสบคือ เทคนิคการผลิตมะม่วงคุณภาพ ต้นทุนต่ำ ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่มีเทคนิคความรู้ ความเข้าใจมากพอควร แต่ปัญหาเกิดขึ้นในปัจจุบัน ตั้งแต่เริ่มมีโรค โควิด-19 ระบาดเริ่มตั้งแต่ปลายปี 2562 กระบวนการผลิตเพื่อการส่งออกมีผลกระทบทันที ผลผลิตมะม่วงส่งออกไม่ได้ รวมถึงต้นทุนการผลิตในทุกกระบวนการสูงขึ้น อาทิ ราคาปุ๋ย สารป้องกันกำจัดโรคและแมลง ค่าจ้างแรงงาน ฯลฯ ส่งผลให้เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงประสบกับภาวะการขาดทุนในช่วง 3-4 ปี ที่ผ่านมา จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการเรียนรู้และการพัฒนาการผลิตมะม่วงคุณภาพ โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการจัดการ การลดต้นทุนการผลิตและเทคนิคพิเศษในการผลิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นความเป็นเลิศทางการเกษตร โดยการสร้างผลการวิจัย นวัตกรรมการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ เชิงบูรณาการด้านการเกษตร เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และรวบรวมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้จัดตั้ง “ฟาร์มมหาวิทยาลัย” เป็นหน่วยงานวิสาหกิจและแหล่งเรียนรู้ด้านการผลิตพืชแบบครบวงจร มีพื้นที่ปลูกมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองกว่า 100 ไร่ ได้ผลิตมะม่วงคุณภาพส่งออกไปยังต่างประเทศมากว่า 10 ปี ด้วยพื้นที่ตั้งมหาวิทยาลัยอยู่ในเขตอำเภอสันทราย ซึ่งเกษตรกรก็ได้มีการปลูกมะม่วงและกำลังพัฒนาและการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในการผลิตเพื่อการส่งออก แต่ปัญหาที่เกษตรกรประสบอยู่ในขณะนี้คือ เทคนิคการผลิตมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองให้ได้คุณภาพ มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยลดต้นทุนในกระบวนการผลิต ด้วยเหตุนี้ ฟาร์มมหาวิทยาลัยที่มีแปลงผลิตมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง มีความจำเป็นที่ต้องปรับปรุงแปลงสาธิตโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ อาทิการใช้โดรน เพื่อพ่นสารกำจัดศัตรูพืช – โรคพืช เทคนิคการพ่นกระตุ้นการออกดอก เทคนิคการจัดการระบบการให้น้ำ เป้าหมายเพื่อพัฒนากลุ่มเกษตรกรที่ปลูกมะม่วงของอำเภอสันทราย เพื่อยกระดับการเรียนรู้ และการพัฒนาการถ่ายทอดเทคโลยีสมัยใหม่เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองคุณภาพเพื่อการส่งออก โดยให้เกษตรกรเข้ามาเยี่ยมชมแปลงสาธิต มีการฝึกอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งในส่วนของวิชาการ และปฏิบัติการเพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการสวนมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการจัดการผลผลิตมีคุณภาพสูงเพื่อการส่งออก และมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยเชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง ในพื้นที่อำเภอพร้าวเพื่อพัฒนาการผลิตมะม่วงคุณภาพเพื่อการส่งออกต่อไป สภาพปัญหา - เกษตรกรได้รับผลกระทบจากการทำการเกษตร ในด้านมีต้นทุนการผลิตสูง ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ ราคาผลผลิตตกต่ำ ทำให้เกษตรกรมีรายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย ทำให้มีหนี้สินจำนวนมาก ความเร่งด่วน - พัฒนาต้นแบบแปลงสาธิตการผลิตมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองอินทรีย์เพื่อการค้า ในเขตพื้นที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ - จัดทำแหล่งเรียนรู้ของเกษตรกร นักศึกษา และผู้สนใจด้านการผลิตมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองอินทรีย์เพื่อการค้า แนวทางการดำเนินงาน - จัดทำพื้นที่เพื่อสาธิตการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองอินทรีย์เพื่อให้เกษตรกรและผู้ที่สนใจเข้าฝึกอบรมและศึกษาดูงาน รวมถึงนักศึกษาที่ต้องการมาฝึกประสบการณ์ด้านการผลิตไม้ผล

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อยกระดับการเรียนรู้โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจให้รู้ถึงวิธีการในการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองคุณภาพเพื่อการส่งออก ปลอดภัยต่อผู้บริโภคมีการบริหารจัดการสวนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
2. เพื่อยกระดับการพัฒนาโดยการให้ความรู้ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจในการบริหารจัดการสวนมะม่วง โดยลดต้นทุนการผลิต มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
3. เพื่อพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง ในอำเภอสันทรายให้มีเทคนิคและความรู้ในการผลิตมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออก
4. เพื่อพัฒนาให้มะม่วงฟาร์มมหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้การผลิตมะม่วงด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้เกษตรกร นักศึกษาและผู้สนใจให้เข้ามาศึกษาดูงานเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในสวนของเกษตรกร
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : จำนวนผู้รับบริการ (เกษตรกร นักศึกษา และประชาชนทั่วไปในเขตอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่)
KPI 1 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ความพึงพอใจในภาพรวม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนผู้รับบริการฝึกอบรม(เกษตรกร นักศึกษา และประชาชนทั่วไปในเขตอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 4 : จำนวนผู้รับบริการศึกษาดูงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 100 คน 200
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 7 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 8 : ค่าใช้จ่ายการดำเนินงานตามงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80000 230900 19100 บาท 330000
KPI 9 : พื้นที่ตัวอย่างให้กับเกษตรกร นักศึกษา ประชาชนทั่วไปในพื้นที่เข้ามาศึกษาดูงานเพื่อนำไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพ (ตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 ไร่ 10
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : จำนวนผู้รับบริการ (เกษตรกร นักศึกษา และประชาชนทั่วไปในเขตอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่)
ชื่อกิจกรรม :
พัฒนาแปลงสาธิตมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองบนพื้นที่ฟาร์มมหาวิทยาลัย เป็นต้นแบบการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ดร.สุรชัย  ศาลิรัศ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายสถาพร  ฉิมทอง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
-ค่าจ้างเหมาตัดแต่งกิ่ง 500 ต้น ๆละ 40 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท
-ค่าจ้างเหมาทำโคนต้น(กำจัดวัชพืช) 500 ต้นๆละ 20 บาท เป็นเงิน 10,000บาท
-ค่าจ้างเหมาใช้โดรนสาธิตการพ่นสารกระตุ้นการออกดอก การพ่นปุ๋ยและฮอร์โมนพืช สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช จำนวน 10 ไร่ๆละ 100 บาท จำนวน 10 ครั้ง เป็นเงิน 10,000บาท
-ค่าจ้างเหมาห่อผลมะม่วง 20,000 ผลๆละ 1 บาท เป็นเงิน 20,000บาท
-ค่าจ้างเหมาเก็บผลผลิตมะม่วง 20,000 ผลๆละ 1 บาท เป็นเงิน 20,000บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 80,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 80,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ
-วัสดุเกษตร (ถั่วเฉลี่ย) 150,900
-ปุ๋ยอินทรีย์ 100 กระสอบๆ ละ 500 บาทเป็นเงิน 50,000บาท
-สารชีวภัณฑ์ 81ขวดๆละ 500 บาทเป็นเงิน 40,500บาท
-ถุงห่อผลมะม่วง (ถุงคาร์บอน) 10,000 ใบๆละ 1.80 บาทเป็นเงิน 18,000บาท
-ต้นตอมะม่วงใช้สำหรับการสาธิตการขยายพันธุ์ 500 ต้นๆละ 20 บาทเป็นเงิน 10,000บาท
-ท่อpe 25 มิลลิเมตร 10 ม้วนๆละ 1,000 บาทเป็นเงิน 10,000บาท
-เลื่อยตัดแต่งกิ่ง 17 ด้ามๆละ 1,000 บาทเป็นเงิน 17,000บาท
-กรรไกรตัดแต่งกิ่ง 5ด้ามๆละ 1,060 บาทเป็นเงิน 5,300 บาท
วัสดุน้ำมัน และเชื้อเพลิง
-น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันดีเซล แก๊สโซฮอล 91 เป็นเงิน 80,100 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 230,900.00 บาท 0.00 บาท 230,900.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 310900.00
ชื่อกิจกรรม :
ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการผลิตมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ เช่นการดูแลรักษา การตัดแต่งกิ่ง การห่อผล และการป้องกันศัตรูพืช

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ดร.สุรชัย  ศาลิรัศ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายสถาพร  ฉิมทอง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าใช้จ่ายในการอบรม 15,500 บาท
ค่าอาหารกลางวัน 50 คนๆละ 100 บาท 1 ครั้งเป็นเงิน 5,000 บาท
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คนๆละ 2 มื้อๆละ 35 บาท จำนวน 1 ครั้งเป็นเงิน 3,500บาท
เอกสารประกอบการอบรม 50 ชุดๆละ 100 บาทเป็นเงิน 5,000 บาท
ค่าไวนิล จำนวน 1 ชุดๆละ 2,000 บาทเป็นเงิน 2,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,500.00 บาท 15,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทน 3,600
ค่าตอบแทนวิทยากร 3,600 บาท
ค่าตอบแทนวิทยากรภาคทฤษฎี จำนวน 1 คนๆละ4 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 1 ครั้งเป็นเงิน 2,400 บาท
ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ จำนวน 1 คนๆละ4 ชั่วโมงๆละ 300 บาท จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน 1,200บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 3,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 19100.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
1. การเกิดโรคและแมลงระบาดในพื้นที่ 2. ภัยธรรมชาติ เช่นพายุฤดูร้อน 3.เกิดภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง
1.ด้านเวลาของผู้เข้ารับบริการ ไม่สอดคล้องกับแผนเวลาการปฏิบัติงานงาน
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
1.ฉีดพ่นสารชีวภันฑ์อินทรีย์บ่อยครั้งขึ้น เพื่อป้องการการระบาดของโรค และแมลง
2.กำหนดปฏิทินการเข้ารับบริการ เข้าศึกษาดูงาน
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
บก.67-02
บก.67-03
บก.67-04
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ทำให้เกษตรกร นักศึกษา ประชาชนทั่วไปสามารถควบคุมและลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นจากการการผลิตและจำหน่ายมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองอินทรีย์
ช่วงเวลา : 01/10/2566 - 30/09/2567
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล