โครงการพัฒนานักศึกษานอกห้องเรียนด้านคุณธรรมและจริยธรรม
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะผลิตกรรมการเกษตร
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการพัฒนานักศึกษานอกห้องเรียนด้านคุณธรรมและจริยธรรม ทีหลักคิดที่มุ่งปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมให้กับนักศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อพัฒนาพื้นฐานด้านการดำรงชีวิตของนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยอย่างมีความสุข ด้วยการมีน้ำใจ มีความรักให้คนรอบข้าง รักสถาบัน มีวินัย มีคุณธรรมและจริยธรรม

กิจกรรม 1 "รู้จัก รักคณะผลิตกรรมการเกษตร" วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน 2561 สถานที่ : อาคารเรียน ฟาร์มเกษตร ฐานเรียนรู้ คณะผลิตกรรมการเกษตร
/ ห้องประชุมอาคมกาญจนประโชติ อาคารอำนวนยศสุข กิจกรรมรู้จัก รักคณะผลิตกรรมการเกษตร เป็นกิจกรรมที่นำนักศึกษาเข้าเยี่ยมชมฐานเรียนรู้ และพื้นที่อาคารเรียน ฟาร์มต่างๆของคณะผลิตฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ว่าคณะผลิตฯ มีความเป็นมามีฐานเรียนรู้ และมีสถานที่สำคัญอะไรบ้าง
เมื่อนักศึกษาเกิดความเข้าใจในพันธกิจและพื้นที่ในความรับผิดชอบของคณะแล้ว จะก่อให้เกิดความรัก ความผูกพัน สามารถแนะนำฐานเรียนรู้ อาคารเรียนต่างๆ ของคณะผลิตฯได้ดี โดยกิจกรรมนี้จะเพาะบ่มจิตสำนึกอันดีในความรับผิดชอบต่อองค์กรคณะผลิตฯ ซึ่งนักศึกษาถือเป็นครอบครัวของคณะผลิตฯ จึงต้องฝึกความรับผิดชอบต่อตนเอง (ในฐานะนักศึกษาสังกัดคณะผลิตฯ) สังคม (สังคมแต่ละสาขาวิชาต่างๆ ของคณะผลิตฯ) และสิ่งแวดล้อม (สถานที่สำคัญ ฐานเรียนรู้ของคณะผลิตฯ) อีกทั้งนักศึกษาต้องได้รับการกล่อมเกลาจิตใจให้มีความเป็นกลาง มุ่งพัฒนาตนเอง ไม่ทำให้ตนเองตกต่ำ จนกระทั่งเรียนไม่จบและไม่มีอาชีพ
ที่สุจริตทำ งานกิจการนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร จึงจัดบรรยายธรรม หัวข้อ “สุขทุกที่ที่มีธรรม” โดยพระพะยอมกัลยาโณ โดยมุ่งหวังให้นักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และประชาชนทั่วไป ได้น้อมนำหลักธรรมะ ในพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต มีแรงบันดาลใจในการประกอบอาชีพ(เลี้ยงชีพชอบ) ค้นหาสิ่งที่ทำแล้วมีความสุข มีรายได้งอกเงย เป็นประโยชน์ให้แก่ตนเองและสังคม
ทุกกิจกรรม มุ่งหวังส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมพัฒนานักศึกษานอกห้องเรียน ให้เป็นไปตามแผนพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ ครบทั้ง 5 ด้าน ในระดับปริญญาตรี โดยผู้นำนักศึกษาจากทีมงานสโมสรนักศึกษา คณะผลิตฯ และ 6 ชมรมในสังกัด มีส่วนร่วมในกระบวนการต่างๆ (PDCA) ของการจัดโครงการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
ผลประเมินความสำเร็จของกิจกรรม คิดเป็น ร้อยละ 83.2 ข้อเสนอแนะการจัดโครงการครั้งต่อไป ได้แก่
1. ควรเปลี่ยนเวลาจัด เป็นเทอม 2 เพื่อให้นักศึกษาได้เว้นระยะการจัดกิจกรรมที่อัดแน่น ช่วงเดือนกันยายน
2. ควรเปลี่ยนสถานที่จัดบรรยายธรรม พระพะยอม เป็นห้องประชุมชั้น 1 เพื่อให้พระพะยอมและชาวบ้าน ผู้สูงอายุทั่วไป ได้เดินเข้าห้องประชุมอย่างสะดวกและปลอดภัย
3. ควรกำหนดให้พระพะยอม บรรยายธรรม 2 ชั่วโมง และร่วมทำกิจกรรมอื่นๆ เพื่อให้นักศึกษาได้ซึมซับประสบการณ์ที่ท่านถ่ายทอดได้อย่างเต็มที่

กิจกรรม 2 "พัฒนานักศึกษาให้มีคุณสมบัติตามลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ " วันเสาร์ที่ 1 กันยายน 2561 สถานที่ : บริเวณรอบอาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี และพื้นที่แต่ละชมรม จำนวน 6 ชมรม ของคณะผลิตกรรมการเกษตร เป็นกิจกรรมที่นำนักศึกษาร่วมกันพัฒนาสโมสรและชมรมในสังกัด 6 ชมรม และเตรียมพร้อมการจัดการแข่งขันทักษะเกษตร (วันที่ 2 กันยายน 2561) โดยช่วงเช้าให้นักศึกษาร่วมใส่บาตรข้าวสารอาหารแห้ง ให้แด่พระสงฆ์ 1,250 รูป มีการสวดมนต์แผ่เมตตาให้แก่นักศึกษา ณ ศูนย์กาญจนาภิเษก เพื่อเป็นการปลุกจิตสำนึกที่ดี สร้างขวัญและกำลังใจ พร้อมเทศนาสอนหลักธรรมที่ให้นักศึกษาสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ได้ในการเอาตัวรอดในยุคปัจจุบัน ช่วงสาย กิจกรรมให้ความรู้นักศึกษาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำกิจกรรมใน ม.แม่โจ้
เวลา 09.00 น.อาจารย์ ดร.กอบลาภ อารีศรีสม (ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้) กล่าวให้โอวาทและบรรยายในเรื่องการแบ่งเวลาในการทำกิจกรรมของนักศึกษา ระดับมหาวิทยาลัยและระดับคณะ 09.30 น. อาจารย์ ดร.พรพันธ์ ภู่พร้อมพันธ์ (รองคณะบดีฝ่ายวิชาการและมาตรฐานการศึกษา คณะผลิตกรรมการเกษตร) กล่าวให้โอวาทและบรรยายในเรื่อง การประกันคุณภาพในการศึกษาคืออะไร และเกี่ยวกับนักศึกษาอย่างไร 09.45 น. ผศ.ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ (ผู้ช่วยคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร) กล่าวให้โอวาทและบรรยายชี้แนะแนวทางให้นักศึกษาในการเรียงลำดับความสำคัญในด้านการเรียน การทำกิจกรรม ให้สำเร็จ และมีผลการเรียนที่ดี 10.00 น.คุณณภัทร แก่นสาร์ (นักวิชาการศึกษา งานกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ทำความเข้าใจกับนักศึกษา เรื่อง - ทำไมต้องกำหนดให้นักศึกษาต้องทำกิจกรรมและมีการให้ชั่วโมงกิจกรรม 11.00 น. อาจารย์ ดร.ปรมินตร์ นาระทะ และนางสาวอภิริยา นามวงศ์พรหม สโมสรนักศึกษา บรรยายในหัวข้อ ระบบโครงสร้างในการทำกิจกรรม ภายในคณะ ฯ และภายในชมรม 11.30 น. อ.ดร.ปรมินทร์ นาระทะ และคุณอภิริยา นามวงศ์พรหม ทำความเข้าใจกับนักศึกษา เรื่อง การสร้างแรงบันดาลใจในการนำตนเองออกมาทำกิจกรรม ช่วงบ่ายหลังรับประทานอาหารกลางวัน เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป นักศึกษาพัฒนาชมรมและเตรียมสถานที่ในการจัดการแข่งขันทักษะเกษตร โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาคอยดูแลและควบคุม และมีเจ้าหน้าที่ไปเยี่ยมที่ชมรมและไปดูการปฏิบัติงานการพัฒนาของแต่ละชมรม” ซึ่งกิจกรรมนี้ จะช่วยให้นักศึกษาเข้าใจถึงคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ด้านพัฒนาความเป็นผู้นำ รู้จักบทบาทและหน้าที่ของตนเองในสังคม ด้านการบ่มเพาะจิตสำนึกอันดีในความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังจัดเป็นกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์และรักษาสิ่งแวดล้อม ที่จะผลักดันให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน Rordmap การพัฒนามหาวิทยาลัย GO Eco University และเป็นกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม อีกด้วย ผลประเมินความสำเร็จของกิจกรรม คิดเป็น ร้อยละ 85.2 ข้อเสนอแนะการจัดโครงการครั้งต่อไป ได้แก่ 1. ควรเปลี่ยนเวลาจัด เป็นเทอม 2 เพื่อให้นักศึกษาได้เว้นระยะการจัดกิจกรรมที่อัดแน่น ช่วงเดือนกันยายน
2. ควรจัดเป็นประจำทุกปี และขอเน้นย้ำการเรียนเชิญ อาจารย์ที่ปรึกษาชมรมให้มาร่วมกิจกรรม ครบ ทุกชมรม เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้แก่นักศึกษา และชี้แนะแนวทางในการทำกิจกรรมต่างๆ ในรอบปีให้ สำเร็จ

ทั้ง 2 กิจกรรม มีการประเมินความสำเร็จ คิดเป็นร้อยละ 84.2 ซึ่งในแต่ละกิจกรรมต่างๆของโครงการ มีการบูรณาการทักษะ IT ภาษา วิชาชีพ และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มุ่งหวังส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมพัฒนานักศึกษานอกห้องเรียน ให้เป็นไปตามแผนพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ ให้ครบทั้ง 5 ด้าน ในระดับปริญญาตรี
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้นักศึกษาได้รู้จักฐานเรียนรู้ พื้นที่ฟาร์ม อาคารเรียนของคณะผลิตกรรมการเกษตร และสามารถแนะนำผู้อื่นได้ นักศึกษาได้รู้จักฐานเรียนรู้ พื้นที่ฟาร์ม อาคารเรียนของคณะผลิตกรรมการเกษตร และสามารถแนะนำผู้อื่นได้
2 เพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ มีความเป็นผู้นำ และเรียนรู้ทักษะชีวิต นักศึกษาได้พัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ มีความเป็นผู้นำ และเรียนรู้ทักษะชีวิต
3 เพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาพื้นที่สโมสรและชมรมนักศึกษาคณะผลิตฯ ให้พร้อมต่อการใช้จัดกิจกรรม นักศึกษาได้พัฒนาพื้นที่สโมสรและชมรมนักศึกษาคณะผลิตฯ ให้พร้อมต่อการใช้จัดกิจกรรม
4 เพื่อบ่มเพาะจิตสำนึกอันดีในความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและสิ่งแวดล้อม ด้านการมีคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรมในการครองเรือน มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ ให้แก่นักศึกษา นักศึกษาได้รับการ บ่มเพาะจิตสำนึกอันดีในความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและสิ่งแวดล้อม ด้านการมีคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรมในการครองเรือน มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาได้รู้จักฐานเรียนรู้ พื้นที่ฟาร์ม อาคารเรียนของคณะผลิตกรรมการเกษตร และสามารถแนะนำผู้อื่นได้ดี พัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ มีความเป็นผู้นำและได้เรียนรู้ทักษะชีวิต พัฒนาพื้นที่สโมสรและชมรมนักศึกษาคณะผลิตฯ ให้พร้อมต่อการใช้จัดกิจกรรม ได้พัฒนาทักษะด้านคุณธรรมจริยธรรม ก่อเกิดความรู้สึกรักและผูกพันต่อคณะผลิตกรรมการเกษตร
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ระดับที่นักศึกษาพัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ มีความเป็นผู้นำ และเรียนรู้ทักษะชีวิต เชิงคุณภาพ ระดับ 3.5 4.17 100
2. จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ 2 กิจกรรม เชิงปริมาณ คน 1210 1359 100
3. ระดับที่นักศึกษาสามารถพัฒนาพื้นที่สโมสรและชมรมนักศึกษาคณะผลิตฯ ให้พร้อมต่อการใช้จัดกิจกรรมตามที่วางแผนไว้ เชิงคุณภาพ ระดับ 3.5 4.32 100
4. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและสิ่งแวดล้อม ด้านการมีคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรมในการครองเรือน มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ เชิงคุณภาพ ระดับ 3.5 4.26 100
5. ระดับที่นักศึกษารู้จักฐานเรียนรู้ พื้นที่ฟาร์ม อาคารเรียนของคณะผลิตกรรมการเกษตร และสามารถแนะนำผู้อื่นได้ เชิงคุณภาพ ระดับ 3.5 4.21 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 100.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
20/08/2561  - 30/09/2561 01/09/2561  - 09/10/2561
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ