โครงการ บ้านจันทร์ (The small farm) โครงการต่อเนื่องการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์และการปศุสัตว์

วันที่เริ่มต้น 22/03/2556 เวลา 0:00 วันที่สิ้นสุด 30/06/2556 เวลา 0:00
สถานที่จัด โรงเรียนบ้านจันทร์ อ.กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่ 

หน่วยงานที่จัด ผู้รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
คณะ/สำนัก สำนักงานมหาวิทยาลัย สาขา/กอง กองพัฒนานักศึกษา หน่วยงานภายใน  งานกิจกรรมนักศึกษา
ผู้รับผิดชอบหลัก

ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
ไม่มีข้อมูล
อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอำเภอที่ก่อตั้งขึ้นใหม่อำเภอล่าสุดในอันดับที่ ๘ ของประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ที่มีป่าสนเขาที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำแม่แจ่มซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งของแม่น้ำปิง มีพื้นที่เพาะปลูกตามที่ราบลุ่มเชิงเขาขนาดพอเพียงกับการเลี้ยงประชากรภายในตำบล ที่นี่มีชุมชนที่เข้มแข็งอันเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ชาวบ้านวัดจันทร์มีภูมิคุ้มกันที่ดี ชุมชนจึงสามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาทรัพยากรจากภายนอกมาก สามารถรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ตลอดจนวิถีชีวิตที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษได้เป็นอย่างดี
บ้านจันทร์มีสภาพเช่นเดียวกันกับชุมชนอื่นที่วัดและโรงเรียนได้เป็นศูนย์รวมทางจิตใจ เป็นที่หล่อหลอมสร้างเยาวชนที่มีคุณภาพเป็นคนดีของสังคม ถึงแม้จะตั้งอยู่ในพื้นที่ทุรกันดารซึ่งห่างไกลจากตัวเมือง ซึ่งเป็นจุดอ่อนประการหนึ่งของชุมชนแห่งนี้แต่มิได้ส่งผลเป็นอุปสรรค ด้วยเหตุผลที่หมู่บ้านมีต้นทุนทางสังคม , วัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่ดี อยู่ใกล้เคียงกับสถานที่ท่องเที่ยวและที่พักผ่อนหย่อนใจที่สำคัญ เช่นอำเภอปาย โครงการหลวงวัดจันทร์ หมู่บ้านชุมชนยูนาน เป็นต้น ทำให้ชุมชนนี้เป็นที่น่าสนใจ บริเวณที่ตั้งของโรงเรียนและชุมชนเป็นที่ราบระหว่างหุบเขา มีที่ราบกว้างใหญ่พอประมาณ สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะเป็นชุมชนชาวเข้าเผ่ากะเหรี่ยงแต่รับอารยธรรมและเทคโนโลยีจากภายนอก นักศึกษาเป็นชาวเขาชนเผ่ากะเหรี่ยงปะกาเกอญอซึ่งใช้ภาษาถิ่นมากกว่าภาษาไทยประชนกรส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ไมมีที่ทำกิน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธประเพณี/ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามเอาไว้ เช่น ประเพณีการแต่งงาน ประเพณีผูกข้อมือ ประเพณีงานศพและงานอื่นๆ รวมทั้งการแต่งกาย
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นจึงเกิดแนวคิดที่จะสร้างโอกาสจากความเข้มแข็งของชุมชนบ้านวัดจันทร์ที่จะรับเอาแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงหรือเกษตรแบบยั่งยืนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มาเป็นแนวทางในการสร้างชุมชน ในทางสังคมโลกปัจจุบันที่มีความต้องการผลผลิตอาหารจากการเกษตรกรรม “ จากครัวของโรงเรียน สู่ครัวของชุมชน ” ผ่านรูปแบบของ “Small farm” ภายใน “บ้านจันทร์ Small farm” จึงเต็มไปด้วยเนื้อหาประสบการณ์ชีวิตเกษตรกรรมบนฐานการรักษาวัฒนธรรม อัตลักษณ์ของชนเผ่าเพื่อการสร้างกล้าต้นใหม่ทางการเกษตรทั้งรูปธรรมและนามธรรม เช่น การสร้างเป็นแบรนด์ “ Ban Chan Small Farm ” ที่สามารถพัฒนาให้เกิดเป็นวิสาหกิจชุมชนจะเป็นการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยเริ่มการขยายผลจากศูนย์กลางของชุมชน คือ โรงเรียน ,วัด และบ้านซึ่งจะทำให้เกิดความมั่นคงทางวิถีชีวิต เริ่มต้นที่โรงเรียนจุดแรกและให้มีการขยายผลทำการเกษตรสู่บ้าน เป็นชุมชนขยายต่อไปและยังสร้างโอกาสให้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้ในอนาคต

ในกิจกรรมมีการนำนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นผู้ร่วมเรียนรู้และส่งต่อความรู้ด้านการเกษตร เป็นการปลูกฝังและให้เห็นความสำคัญเกี่ยวกับวิถีชีวิตตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์รวมไปถึงการทำการเกษตรอย่างยั่งยืน เพื่อให้เกิดการทำการเกษตรอย่างยั่งยืน เกิด“ขุมทรัพย์ทางปัญญา” แก่นักเรียน ชุมชนและช่วยเป็นแนวทางในการใช้ชีวิตแบบพอเพียงเพียงพอในสิ่งที่ตนมี มีรายได้มีความสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือซึ่งกันละกันและพึ่งพาอาศัยกันในชุมชน โดยการทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดำริอย่างครบวงจร
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่ 1 รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน ไม่ระบุ
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ไม่ระบุ
ระดับ ในสถาบัน
ปริมาณงานทั้งหมด 32  
เป้าหมายผู้เข้าร่วม 55 คน
จำนวนผู้เข้าร่วม   ไม่ระบุ คน
ตอนที่ 2 รายรับ-รายจ่าย
รายรับ   ไม่ระบุ บาท
มูลค่ารายรับ   ไม่ระบุ บาท
ค่าใช้จ่าย ไม่ระบุ บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย   ไม่ระบุ บาท
ตอนที่ 3 ผลการดำเนินงาน
ไม่ระบุ
ตอนที่ 4 สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ
ตอนที่ 5 เอกสารอ้างอิง
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 6 ภายใต้โครงการ
ตอนที่ 7 ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 8 การบูรณาการ
ไม่มีข้อมูล