|
บริการสื่อโสตทัศน์
»
การวิเคราะห์และทำรายการสื่อโสตทัศน์ห้องสมุดด้วยเทคนิคแปลงผันข้อมูล กรณีดรรชนีบทความวารสารและการสร้างคอลเลกชันพิเศษ [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน, 5of5 / 2565]
|
0. ข้อมูลใน KM blog ของผู้เขียนเนื้อหานี้มี 5 ชิ้น เนื้อหาตอนต้นเหมือนกัน แต่ตอนท้ายให้รายละเอียดแตกต่างกันตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด ในการนี้แยกเป็นบทความ blog 5 ชิ้นเพื่อให้เนื้อหาตามงานแต่ละงานเป็นเอกเทศ ศึกษาเรียนรู้ได้สะดวกไม่ปะปนกัน
1. สรุปเนื้อหาจากกิจกรรม KM ภายในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานของบุคลากรแต่ละคน ตามภาระงานในข้อตกลงการทำงาน (TOR) ปีงบประมาณ 2565 (หมายเหตุ เอกสารนำเสนอในวง KM มีรายละเอียดและภาพประกอบมากกว่าที่สุดใน blog นี้ รวมทั้งใน blog ไม่อาจนำข้อมูลภาพประกอบมาลงได้)
2. ผู้เขียนได้เสนอแนวทางการพัฒนาระบบงาน โดยใช้เทคนิคการแปลงผันข้อมูล (data conversion) ของรายการบรรณานุกรมเอกสารในฐานข้อมูลห้องสมุด จากการรวบรวมข้อมูลเอกสารที่พบในแหล่งข้อมูลภายนอก มานำเข้าห้องสมุด โดยผ่านโปรแกรมช่วยงานต่างๆ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (text editor) โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (database management system, DBMS) ที่เอื้อต่อการทำงาน ก่อนถ่ายข้อมูลรายการบรรณานุกรมตามมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล ISO-2709 data exchange format เข้าสู่ฐานข้อมูลห้องสมุดที่เป็นระบบหลักในปัจจุบันคือ ALIST
3. วิธีการแปลงผันข้อมูลโดยย่อ (ตามโปรแกรมช่วยงาน ลักษณะงานปัจจุบัน) คือ (1) สืบค้นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูล (2) ใช้โปรแกรม Notepad.exe จัดเก็บข้อมูล (3) ใช้โปรแกรม Microsoft Word 97 ปรับปรุงข้อมูล (4) ใช้โปรแกรม Qedit.exeบรรณาธิกรข้อมูล (5) ใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล CDS/ISIS ปรับปรุงข้อมูล (6) ถ่ายโอนข้อมูลเป็นแฟ้มข้อมูล ISO-2709 data exchange format (อาจจัดในขั้นตอน 5) (7) ใช้โปรแกรม ISO2MARC.exe ปรับปรุงข้อมูล (8) ใช้โปรแกรม Editplus ปรับปรุงข้อมูล (9) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module - Import นำ เข้าข้อมูล ISO (10) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module – Edit ปรับปรุงข้อมูล MARC
4. สรุปประโยชน์ (1) สามารถสร้างระเบียน/คอลเลกชัน ได้จำนวนมาก และอย่างรวดเร็ว เพราะทำงานแบบ batch processing หรือเป็นกลุ่มใหญ่ (ทำนองโรงงาน) (แม้ขั้นตอนมากขึ้น) (2) ข้อมูลรายการบรรณานุกรมมีคุณภาพ ทั้งรายละเอียดของข้อมูลที่เก็บได้ (ไม่ต้อง key in เอง ที่จะทำได้น้อย) และการตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุงข้อมูลทั้งในข้อมูลแต่ละเชิงระเบียน (record) และในภาพรวมของกลุ่มข้อมูลทั้งชุดที่ทำหรือทั้งคอลเลกชัน (3) สามารถนำแนวทางไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นได้ หรือการพิจารณาใช้เครื่องมือ (เช่น โปรแกรมใดๆ) ที่แต่ละคนถนัด มาปฏิบัติงาน
5. ลักษณะเฉพาะของงาน TOR หรือสื่อ/เอกสารแต่ละประเภท กรณี blog นี้คืองาน
การทำดรรชนีวารสาร (อนาคต Staffs คอลเลกชันตามหัวข้อโดยรวบรวมบทความจาก ThaiJo) ได้เสนอเป็นแนวความคิดไว้ สำหรับการพัฒนาคอลเลกชันและบริการห้องสมุดแก่ผู้ใช้ในระยะต่อไป โดยบุคลากรห้องสมุดอื่นอาจจัดทำคอลเลกชันตามหัวข้อ (สมัยอดีตนิยมเรียกว่า แฟ้มสารสนเทศเฉพาะทาง) บริการผู้ใช้ เช่น เก็บรวบรวมข้อมูลปลาบึก ข้อมูลการพยาบาลผู้สูงอายุ ห้องสมุดสีเขียว ฯลฯ จากบทความออนไลน์ ThaiJo ได้ ในที่นี้งานจะมีลักษณะทำนองเดียวกับงานตาม blogข้อ 2 คือ “ เอกสารเนื้อหา Green“ ที่เคยกล่าวถึง สามารถดูรายละเอียดใน blog นั้นได้. [end]
|
คำสำคัญ :
การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ งานเทคนิค (ห้องสมุด) ฐานข้อมูลเฉพาะทาง บทความอิเล็กทรอนิกส์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ โสตทัศนวัสดุ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
844
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
13/8/2565 3:56:28
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 16:45:32
|
|
|
บริการสื่อโสตทัศน์
»
การวิเคราะห์และทำรายการสื่อโสตทัศน์ห้องสมุดด้วยเทคนิคแปลงผันข้อมูล กรณีคอลเลกชันภาพยนตร์ดีเด่น [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน, 3of5 / 2565]
|
0. ข้อมูลใน KM blog ของผู้เขียนเนื้อหานี้มี 5 ชิ้น เนื้อหาตอนต้นเหมือนกัน แต่ตอนท้ายให้รายละเอียดแตกต่างกันตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด ในการนี้แยกเป็นบทความ blog 5 ชิ้นเพื่อให้เนื้อหาตามงานแต่ละงานเป็นเอกเทศ ศึกษาเรียนรู้ได้สะดวกไม่ปะปนกัน
1. สรุปเนื้อหาจากกิจกรรม KM ภายในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานของบุคลากรแต่ละคน ตามภาระงานในข้อตกลงการทำงาน (TOR) ปีงบประมาณ 2565 (หมายเหตุ เอกสารนำเสนอในวง KM มีรายละเอียดและภาพประกอบมากกว่าที่สุดใน blog นี้ รวมทั้งใน blog ไม่อาจนำข้อมูลภาพประกอบมาลงได้)
2. ผู้เขียนได้เสนอแนวทางการพัฒนาระบบงาน โดยใช้เทคนิคการแปลงผันข้อมูล (data conversion) ของรายการบรรณานุกรมเอกสารในฐานข้อมูลห้องสมุด จากการรวบรวมข้อมูลเอกสารที่พบในแหล่งข้อมูลภายนอก มานำเข้าห้องสมุด โดยผ่านโปรแกรมช่วยงานต่างๆ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (text editor) โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (database management system, DBMS) ที่เอื้อต่อการทำงาน ก่อนถ่ายข้อมูลรายการบรรณานุกรมตามมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล ISO-2709 data exchange format เข้าสู่ฐานข้อมูลห้องสมุดที่เป็นระบบหลักในปัจจุบันคือ ALIST
3. วิธีการแปลงผันข้อมูลโดยย่อ (ตามโปรแกรมช่วยงาน ลักษณะงานปัจจุบัน) คือ (1) สืบค้นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูล (2) ใช้โปรแกรม Notepad.exe จัดเก็บข้อมูล (3) ใช้โปรแกรม Microsoft Word 97 ปรับปรุงข้อมูล (4) ใช้โปรแกรม Qedit.exeบรรณาธิกรข้อมูล (5) ใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล CDS/ISIS ปรับปรุงข้อมูล (6) ถ่ายโอนข้อมูลเป็นแฟ้มข้อมูล ISO-2709 data exchange format (อาจจัดในขั้นตอน 5) (7) ใช้โปรแกรม ISO2MARC.exe ปรับปรุงข้อมูล (8) ใช้โปรแกรม Editplus ปรับปรุงข้อมูล (9) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module - Import นำ เข้าข้อมูล ISO (10) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module – Edit ปรับปรุงข้อมูล MARC
4. สรุปประโยชน์ (1) สามารถสร้างระเบียน/คอลเลกชัน ได้จำนวนมาก และอย่างรวดเร็ว เพราะทำงานแบบ batch processing หรือเป็นกลุ่มใหญ่ (ทำนองโรงงาน) (แม้ขั้นตอนมากขึ้น) (2) ข้อมูลรายการบรรณานุกรมมีคุณภาพ ทั้งรายละเอียดของข้อมูลที่เก็บได้ (ไม่ต้อง key in เอง ที่จะทำได้น้อย) และการตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุงข้อมูลทั้งในข้อมูลแต่ละเชิงระเบียน (record) และในภาพรวมของกลุ่มข้อมูลทั้งชุดที่ทำหรือทั้งคอลเลกชัน (3) สามารถนำแนวทางไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นได้ หรือการพิจารณาใช้เครื่องมือ (เช่น โปรแกรมใดๆ) ที่แต่ละคนถนัด มาปฏิบัติงาน
5. ลักษณะเฉพาะของงาน TOR หรือสื่อ/เอกสารแต่ละประเภท กรณี blog นี้คืองาน
ภาพยนตร์ดีเด่น ในฐานข้อมูล Film_OPAC (ภาพยนตร์ - ข้อมูลอ้างอิง) (1) สืบค้นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูล ที่สำคัญคือ IMDb.com, BoxOfficeMojo.com, Wikipedia-best-films, RottenTomatoes, MetalCritics, Time, etc. (2) Tag สำคัญที่ใช้คือ 245, 246, 260, 300, 508, 511, 520, 655, 700, 710, 856 (ถ้ามี), นอกจากนี้มีการเก็บข้อมูล ภาพปก, และกรณีภาพยนตร์ออนไลน์ฟรี จะเก็บ URL link 856, ข้อมูลเพิ่มเติมภายหลัง เช่น 090, 590, 040, 6xx, 650, 655 (จากรหัส Genre of films), 69x โดยเฉพาะ 586 (รางวัล, รายได้, อันดับ), โดย 650 กำหนดดรรชนีควบคุมว่า ^aห้องสมุด^xคอลเลคชันพิเศษ^xภาพยนตร์, และ 650 หัวเรื่องเกี่ยวกับรางวัล รายได้ อันดับ เช่น ^aภาพยนตร์^xรางวัลออสการ์, โดย 245^h กำหนดว่า ^h[videorecording], ส่วน 008 ชนิด VM บางตำแหน่งลงรหัส q v l, leader=ngm, ถ่ายเข้า Film_OPAC (Elib). [end]
|
คำสำคัญ :
งานเทคนิค (ห้องสมุด) ฐานข้อมูลเฉพาะทาง ภาพยนตร์ โสตทัศนวัสดุ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
678
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
13/8/2565 3:51:00
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 15:47:05
|
|
|