Blog : ความสำคัญของใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาการผลิต การควบคุมและการจัดการสารเคมีอันตราย

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : ความสำคัญของใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาการผลิต การควบคุมและการจัดการสารเคมีอันตราย
การเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการเสวนาของสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วันที่ 31 ต.ค. 2566 เรื่อง "ความสำคัญของใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาการผลิต การควบคุมและการจัดการสารเคมีอันตราย" สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สชวท) ได้กำหนดพระราชบบัญญัติวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พศ. 2551 มีเจตนารมณ์ดังนี้ 1) ส่งเสริมการใช้ความรู้และทักษะด้านวิทยาและเทคโนโลยีในการประกอบวิชาชีพ 2) คุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัยพสินของประชาชนจากการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การแบ่งกลุ่มสมาชิกสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1. วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ 2. วิทยาศาสตร์สุขภาพ 3. วิทยาศาสตร์การเกษตร 4. สหวิทยากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม ดังนี้ 1. สาขานิวเคลียร์ 2. สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์และการควบคุมมลพิษ 3. สาขาการผลิต การควบคุมและการจัดการสารเคมีอันตราย 4. สาขาการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์และการใช้จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค 5. สาขาธรณีวิทยา 6. สาขาอนามันสิ่งแวดล้อม 7. สาขานิติวิทยาศาสตร์ 8. สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สาขาการผลิต การควบคุมและการจัดการสารเคมีอันตราย มี 4 งาน 1. งานวิเคราะห์ตรวจสอบ 2. งานออกแบบและการควบคุม 3. งานอำนวยการ 4. งานให้คำปรึกษา การขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาการผลิต การควบคุมและการจัดการสารเคมีอันตราย มีขั้นตอนการขอใบอนุญาต ได้ที่ https://www.cstp.or.th/#!/howtoCertificate การขอใบอนุญาตวิชาชีพสาขาการผลิต การควบคุมและการจัดการสารเคมีอันตราย ดังนี้ 1 สำหรับผู้มีคุณวุฒิตั้งแต่ระดับปริญญาตรีด้านวิทยาสาสตร์สาขาเคมี เคมีอุตสาหกรรม เคมีประยุกต์ เคมีเทคนิค ให้เข้ารับการประเมินภาคทฤษฎีโดยการสอบข้อเขียน 2. สำหรับผู้มีคุณวุฒิตั้งแต่ปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ สาขาที่เกี่ยวข้องและผ่านการฝึกอบรมตามที่คณะกรรมการสภาวิชาชีพและเทคโนโลยีกำหนด (ก) ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตรายน้อยกว่า 8 ปี ให้เข้ารับการประเมินภาคทฤษฎี (ข) ปฏิบัติงานที่เกี่ยวขอ้งกับสารเคมีอันตรายมากกว่า 8 ปี ให้เข้ารับการประเมินภาคทฤษฎีและการประเมินเชิงปฏิบัติการ โดย (1) การจัดทำและนำเสนอบทความเกี่ยวกับประสบการณ์สำคัญจากการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตราย (2) การอภิปรายการจัดการความปลอดภัยในการใช้สารเคมีอันตราย คุณสมบัติสำคัญของการขอรับใบอนุญาตวิชาชีพควบคุม 1. ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องเป็นสมาชิกสามัญของ สชวท.และถ้าขาดสมาชิกภาพเมื่อใด ให้ใบอนุญาตของผู้นั้นสิ้นสุดลง 2. มีสมรรถนะเฉพาะ/ความรู้ประเมินจากกลุ่มวิชาที่เรียนตั้งแต่ปริญญาตรี-เอก อาจมีการพิจารณาจำนวนหน่วยกิต 3. ได้รับการอบรมจรรยาบรรณวิชาชีพ ผู้ถือใบอนุญาตจำต้องเป็นผู้มีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีมาตรฐานในการทำงาน ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีความรู้และความชำนาญ มีความรู้ด้านกฎหมายและพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องทั้งวัตถุและสารเคมีระดับประเทศและต่างประเทศ มีความรู้ในเรื่องโรงงานมีความเกี่ยวข้องกับสารเคมีหรือไม่ รู้ระบบ FACCHEM ซึ่งเป็นระบบที่รายงานข้อมูล สารเคมีอันตรายและ วัตถุอันตรายของ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ความสำคัญของใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยยีควบคุม คือ เป็นการประกันความมั่นใจว่าทำงานได้ดีถูกต้องตามมาตรฐานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพทำงานด้วยความรู้ความสามารถเพื่อที่ป้องกันไม่ให้ผู้ประกอบการจะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาภายหลัง เช่น การเกิดอุบัติเหตุ ส่วนผลกระทบต่อธุรกิจหากไม่จ้างงานผู้ถือใบอนุญาตฯ คือ เกิดความไม่มั่นใจหากจ้างงานผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตฯ เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาและอุบัติเหตุจากการทำงานที่ไม่ตรงกับมาตรฐาน เช่น กรณีศึกษาการระเบิดจากการใช้สารเคมีของโรงงาน การทำงานของช่างเชื่อมที่มาทำงานในวันหยุดในโรงงานที่มีสารเคมี สิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมสำหรับสถานประกอบการหรือที่เกียวข้องกับการใช้สารเคมี 1. โรงงานต้องมีข้อมูลเบื้องต้น ดังนี้ ความรู้ด้านกฎหมาย พระราชบัญญัติ ที่เกี่ยวข้องและโรงงานมีความเกี่ยวข้องกับสารเคมีหรือไม่ 2. บัญชีรายชื่อสารเคมีอันตราย 3. คุณสมบัติของผู้รับผิดชอบในการดูและสารเคมีอันตราย สถานประกอบการต้องการ Professional personnel ที่มีความรู้ (knowledge) ทักษะ (skill ในการหาความรู้มากขึ้น) และความชำนาญเฉพาะทาง (expertise) ที่ผ่านการอบรมเพื่อให้มีความชำนาญการในอนาคต ความปลอดภัยในอุตสาหกรรมเคมีเป็นสิ่งสำคัญ การมีบุคลกรที่มีทักษะความรู้ ความชำนาญจะส่งเสริมและพัฒนาระบบความปลอดภัยขององค์กร เพื่อความมั่นคงด้านความปลอดภัย
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้