รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : การเผยแพร่ความรู้จากการฝึกอบรม
การอบรมโครงการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการคิดวิเคราะห์ และการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์สำหรับบุคลากรสายสนับสนุน
29 – 30 พฤษภาคม 2568 ณ โรงแรมกรีนเลครีสอร์ท
ข้าพเจ้า นางจิราพร ชัยเขตร์ ตำแหน่งหัวหน้างานบริหารและธุรการ สังกัดงานบริหารและธุรการ สำนักงานคณบดีคณะบริหารธุรกิจ ได้เข้ารับการฝึกอบรมโครงการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการคิดวิเคราะห์ และการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ สำหรับบุคลากรสายสนับสนุน ดังนี้
หัวข้อ เสริมสมรรถนะการปฏิบัติงานด้วยมุมมองแบบ systematic thinking และการใช้งาน SWOT analysis
Systematic Thinking วิทยากรโดย อาจารย์รุจาดล นันทชารักษ์ วิทยาลัยบริหารศาสตร์
ระบบ คือ การทำงานรวมกันระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อดัดแปลงสภาพของ input ให้ค่อย ๆ กลายเป็น output โดยอาศัยชุดขั้นตอนต่าง ๆ ที่มีอยู่ภายในระบบ ซึ่งการทำงานดังกล่าวถูกกำหนดโดย “End Goal” Classic System Model
การบริหารกิจการสาธารณะ System and Public Administration
Routine work มีความสำคัญ ที่ต้องใช้ทรัพยากรบุคคลเยอะ เน้นเรื่องประสิทธิภาพ
Strategy work มีเป้าที่ว่าทำยังไงให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ลดการใช้ทรัพยากร และได้ผลลัพธ์ตามยุทธศาสตร์ได้หรือไม่ ดูแผนใหญ่ระดับประเทศไล่ลงมาถึงองค์กร โดยทุกแผนต้องจบที่โครงการเสนอ
SWOT Analysis
เริ่มต้นให้ตั้งเป้าหมายที่เราคาดหวัง / องค์กรคาดหวัง
การหา Strengths จุดแข็ง และ Weaknesses จุดอ่อน โดยการใช้ McKinsey 7-S Framework
การหา Opportunities โอกาส และ Threats อุปสรรค โดยการใช้ 6 Forces & PESTEL Model
การใช้ EFAS & IFAS Metrix เพื่อช่วยจัดระเบียบและช่วยจัดเรียงลำดับความสำคัญของปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก และปัจจัยภายในองค์การ
กิจกรรมฝึกหัดการออกแบบโครงการด้วยมุมมองแบบ systematic thinking และการวิเคราะห์ SWOT
โครงการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น
เป้าหมายของโครงการ : สนับสนุนให้บุคลากรสายสนับสนุนทำผลงานเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น
SWOT Analysis
S1 = บุคลากรมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ เฉพาะตำแหน่ง
S2 = มีบุคลากรที่มีตำแหน่งชำนาญการพิเศษทุกตำแหน่งงาน
S3 = มหาวิทยาลัยมีนโยบายสนับสนุนให้บุคลากรมีตำแหน่งที่สูงขึ้น
W1 = ภาระงานที่ได้รับมอบหมายไม่ตรงกับตำแหน่ง
W2 = ภาระงานประจำมากทำให้ไม่มีเวลาทำผลงาน
O1 = มีเทคโนโลยีช่วยสนับสนุนในการทำผลงาน
O2 = มีองค์กรภายนอกที่สนับสนุนในการเผยแพร่ผลงาน
O3 = แหล่งเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น
T1 = องค์กรชะลอการขยายตัว ทำให้ไม่มีตำแหน่งใหม่เปิดขึ้น
T2 = ภัยธรรมชาติทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน
T3 = การเมืองที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน
หัวข้อ การกำกับติดตามและตรวจสอบโครงการด้วย Gantt chart
วิทยากรโดย อาจารย์รุจาดล นันทชารักษ์ วิทยาลัยบริหารศาสตร์
Gantt Chart ช่วยในการจัดการและกำกับโครงการที่ปฏิบัติการในแผน
Gantt คือ แผนที่แสดงกระบวนการในการปฏิบัติงาน โดยระบุกิจกรรมทั้งหมดที่ต้องทำ เรียงลำดับกิจกรรมจากเริ่มต้นไปสิ้นสุด ระบุงบประมาณ ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ โดยใช้แถบสีแสดงความคืบหน้าของแต่ละงาน
ประโยชน์
ช่วยเราวางแผน ช่วยให้เห็นความแตกต่างของช่วงระยะเวลา งบประมาณ โดยต้องยึดโยงอยู่กับเป้าหมายไว้เสมอ ทำให้เห็นปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการทำโครงการ เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที
วิธีการสร้าง Gantt Chart
- ระบุกิจกรรมของโครงการทั้งหมดที่ต้องทำ
- เรียงลำดับกิจกรรมทั้งหมด (เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรม)
- กำหนดระยะเวลาเริ่มต้น/สิ้นสุดของแต่ละกิจกรรม
- ใช้แถบสี/สัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่อแสดงความคืบหน้าของแต่ละงาน
- ระบุชื่อของผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรมด้วยระบบ O/S System
- ระบุข้อมูลงบประมาณ/ค่าใช้จ่าย
หัวข้อ ศิลปะการสื่อสารจูงใจ
- เทคนิคการนำเสนอ
- การสื่อสารข้อมูลการดำเนินงาน
- การสื่อสารในภาวะวิกฤต Crisis Communication
วิทยากรโดย อาจารย์สุรชัย ศรีนรจันทร์ คณะศิลปศาสตร์
หลักการออกแบบ Power Point พื้นฐาน
Power Point คือ สื่อในการนำเสนอ สิ่งที่สำคัญคือ ทำอย่างไรให้คนอ่านได้และสะดุดตา
Preproduction กำหนดสิ่งสำคัญ 3 ประการในการนำเสนอคือ รูปแบบ (Theme), ตัวหนังสือ (Font) และ สี (Color)
รูปแบบ (Theme)
การเลือก Theme คือ การเลือกเรื่องราวที่จะสื่อสารและออกแบบให้มีความสอดคล้องกับเนื้อหาที่นำเสนอ และขนาดสไลด์ให้เหมาะกับเครื่อง
ตัวหนังสือ (Font)
เลือก Font ที่จะใช้งานบน Power Point ที่มีความเหมาะสมและผู้ฟังสามารถอ่านได้ชัดเจน
ข้อแนะนำ
- Font มาตรฐานที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป
- Power Point ไม่ควรมีฟอนต์เกิน 2 แบบ
- ใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 36 - 70 point ขึ้นไป
- ใช้กฎ 7x7 หนึ่งบรรทัดไม่เกิน 7 คำ หนึ่งหน้าไม่เกิน 7 บรรทัด
สี (Color)
สีในการใช้ในการนำเสนอ หลักการเดียว คือ ใช้สีคู่ตรงข้าม เพื่อให้ข้อความดูโดดเด่นและอ่านได้ง่าย
กฎ 7x7
7 คำต่อหนึ่งบรรทัด และ 7 บรรทัดต่อ 1 สไลด์ เรียงจาก ซ้ายไปขวา บนลงล่าง จะช่วยให้ Power Point ให้มีที่ว่างดูแล้วไม่อึดอัด และอ่านง่าย แล้วควรให้ระวัง "คำกระจัดกระจาย" (เมื่อคำสุดท้ายของประโยชค/วลีตกไปอยู่ในบรรทัดถัดไป)
รูปภาพ (Image) การใส่รูปภาพ เลือกรูปภาพที่มีความสำคัญเท่ากับข้อความ มีความสอดคล้อง สร้างแรงบันดาลใจ และมีความหมาย การปรับขนาดรูปภาพให้คงสัดส่วนเดิม ระวังการปรับแบบยืด-หด จะทำให้ภาพเพี้ยน
ทักษะการพูด
การพูดสอนไม่ได้ มันคือทักษะ พัฒนาโดยการพูดเยอะ ๆ ผิดบ่อย ๆ แล้วนำมาปรับใช้ โดยมีสิ่งที่ต้องรู้ 3 อย่างคือ
1. รู้คน เราต้องรู้จักว่าเรากำลังจะพูดให้ใครฟัง เพื่อเลือกระดับภาษา และเลือกเรื่องราวที่จะพูด ทำความสนิท ความคุ้นเคยกับผู้ฟัง
2. รู้งาน ทำความเข้าใจกับงานที่เรากำลังจะพูด ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานนั้น ๆ ทั้งกำหนดการ และที่มาของงาน
3. รู้บรรยากาศ รู้จักการวิเคราะห์สถานการณ์ บรรยากาศของงาน และสร้างบรรยากาศให้งานมีความลื่นไหล อย่าทำให้บรรยากาศเงี
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้