รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : หลักสูตร “กฎหมายการคลังที่ผู้ปฏิบัติงาน.....ต้องรู้”
การเข้าร่วมอบรม หลักสูตร “กฎหมายการคลังที่ผู้ปฏิบัติงาน.....ต้องรู้ (ตอน กม.วินัยการเงินการคลัง กม.ว่าด้วยงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ ระเบียบเบิกจ่ายเงินจากคลังและความรับผิดละเมิดของเจ้าหน้าที่)” จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติด้านการเงินการคลัง เพื่อให้การเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายประจำปี เป็นไปด้วยความรวดเร็ว และถูกต้องเกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ เพื่อให้เงินงบประมาณถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีโอกาสสอบถามและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น โดย นางสาวชลธิชา นวลน้อย ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านละเมิดและแพ่ง กรมบัญชีกลาง นางสาวสุธาทิพย์ พรพนาวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มงานละเมิดและแพ่ง 1 กรมบัญชีกลาง และนางสาวสุภาภรณ์ โรจนรุ่งทวี ที่ปรึกษาด้านกฎหมายและระเบียบการคลัง กรมบัญชีกลาง ระหว่างวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2568 ดังสรุปเนื้อหาสาระโดยสังเขป ดังนี้
พระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491
เงินคงคลัง คือ เงินที่รัฐมีไว้เพื่อการใช้จ่ายในการดำเนินงานของรัฐ
“บัญชีเงินคงคลังบัญชีที่ 1” หมายความว่า บัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
ซึ่งกระทรวงการคลังมีไว้เพื่อประโยชน์แห่งมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัตินี้
“บัญชีเงินคงคลังบัญชีที่ 2” หมายความว่า บัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
ซึ่งกระทรวงการคลังมีไว้เพื่อประโยชน์แห่งมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัตินี้
พรบ.เงินคงคลัง 2491
มาตรา 1 -3 การบังคับใช้ และคำนิยามศัพท์
มาตรา 4 การรับเงินเข้าคลัง และข้อยกเว้น
มาตรา 5 เงินคงคลังบัญชี 1 และ 2
มาตรา 6 การจ่ายเงินคงคลังกรณีเงินงบประมาณ กรณีปกติและพิเศษ
มาตรา 7 การจ่ายเงินคงคลังก่อนที่มีกฎหมายอนุญาตให้จ่าย
มาตรา 8 การจ่ายเงินคงคลังกรณีเงินนอกงบประมาณ
มาตรา 9 -11 บุคคลที่มีอำนาจสั่งจ่ายเงินคงคลัง
มาตรา 12-13 การจ่าย-รับเงินคงคลัง กรณีเงินทุน/ทุนหมุนเวียน
มาตรา 14 การรักษาการกฎหมาย
“พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561” ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 19 เมษายน 2561 และมีผลบังคับใช้ 20 เมษายน 2561
“หน่วยรับงบประมาณ” หมายความว่า หน่วยงานของรัฐที่ขอรับหรือได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่าย และให้หมายความรวมถึงสภากาชาดไทยด้วย
“หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า
(1) ส่วนราชการ
(2) รัฐวิสาหกิจ
(3) หน่วยงานของรัฐสภา ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และ องค์กร อัยการ
(4) องค์การมหาชน
(5) ทุนหมุนเวียนที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
(6) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(7) หน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กฎหมายกำหนด
วัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
- เพื่อให้มีกฎหมายหลักเกี่ยวกับวินัยการเงินการคลังที่ชัดเจน
- เพื่อให้รัฐต้องรักษาวินัยการเงินการคลังอย่างเคร่งครัดเพื่อให้เกิดเสถียรภาพและความมั่นคงอย่างยั่งยืนต่อฐานะการเงินและการคลังของประเทศ
- นำบทบัญญัติที่เกี่ยวกับวินัยการเงินการคลังที่กำหนดไว้ในกฎหมายต่าง ๆ มาก าหนดไว้ในกฎหมายฉบับเดียว
โครงสร้างของ พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
คำนิยามและผู้รักษาการตามกฎหมาย
หมวด 1 บททั่วไป
หมวด 2 นโยบายการเงินการคลัง
ส่วนที่ 1 คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ
ส่วนที่ 2 การดำเนินการทางการคลังและงบประมาณ
หมวด 3 วินัยการเงินการคลัง
ส่วนที่ 1 รายได้ หลักการ : รายได้แผ่นดินต้องนำส่งคลัง
ส่วนที่ 2 รายจ่าย หลักการ : การก่อหนี้ผูกพันหรือจ่ายเงินโดยอาศัยอำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมาย โดยต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส คุ้มค่า และประหยัด โดยพิจารณาเป้าหมาย ประโยชน์ที่ได้รับ ผลสัมฤทธิ์ และประสิทธิภาพของหน่วยงานของรัฐ และต้องเป็นไปตามรายการและวงเงินงบประมาณรายจ่ายของหน่วยงานของรัฐนั้นด้วย
ส่วนที่ 3 การจัดให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินและการบริหารทรัพย์สินของรัฐ
ส่วนที่ 4 การก่อหนี้และการบริหารหนี้
- หลักการเป็นไปตามกฎหมายและอยู่ภายใต้ขอบวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน ของรัฐผู้กู้ เพื่อประโยชน์ของประเทศและของหน่วยงานของรัฐ โดยกระทำด้วยความรอบคอบ
- การก่อหนี้และการบริหารหนี้ต้องคำนึงถึง
- ความคุ้มค่า
- ความสามารถในการชำระหนี้
- การกระจายภาระการชำระหนี้
- เสถียรภาพและความยั่งยืนทางการเงินการคลัง
- ความนาเชื่อถือของประเทศและของหน่วยงานของรัฐผู้กู้
ส่วนที่ 5 เงินนอกงบประมาณ
ส่วนที่ 6 การคลังท้องถิ่น
หมวด 4 การบัญชี การรายงานและการตรวจสอบ
- หน่วยงานของรัฐ จัดทำบัญชีและรายงานการเงินตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายบัญชีภาครัฐ
- รัฐวิสาหกิจ จัดทำบัญชีและรายงานการเงินตามมาตรฐานการบัญชีรับรองทั่วไป
- ทุนหมุนเวียน จัดทำบัญชีและรายงานการเงินตามที่กฎหมายว่าด้วยการบริหารทุนหมุนเวียนกำหนด
รายงานการเงินประจำปีงบประมาณ งบแสดงฐานะการเงิน และ งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน
หน่วยงานของรัฐ จัดทำรายงานการเงินประจำปีงบประมาณ ส่ง สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ภายใน 90 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ/ตามที่ตกลงกับกระทรวงการคลัง
สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ตรวจสอบรายงานการเงินที่หน่วยงานของรัฐส่ง ภายใน 180 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ /ตามที่ตกลงกับกระทรวงการคลัง และตรวจสอบและรายงานผลตามนโยบาย หลักเกณฑ์และมาตรฐานที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินกำหนด
ตรวจสอบภายใน ควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยง หน่วยงานของรัฐ จัดให้มี การตรวจสอบภายใน การควบคุมภายใน และการบริหารจัดการความเสี่ยง
หมวด 5 การตรวจเงินแผ่นดิน
กระทำด้วยความสุจริต รอบคอบ โปร่งใส เที่ยงธรรม กล้าหาญ ปราศจากอคติ และเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล และเป็นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
พรบ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
- รับผิดเฉพาะกรณีจงใจ/ประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง
- หักส่วนความรับผิดโดยอาจไม่เต็มจำนวนความเสียหายก็ได้
- ร
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้