Blog : เหตุแห่ง “เวลา” ข้อจำกัด หรือ ข้ออ้าง ต่อการอุทิศตนเพื่อกิจกรรมส่วนรวมขององค์กร

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : เหตุแห่ง “เวลา” ข้อจำกัด หรือ ข้ออ้าง ต่อการอุทิศตนเพื่อกิจกรรมส่วนรวมขององค์กร
เหตุแห่ง “เวลา” ข้อจำกัด หรือ ข้ออ้าง ต่อการอุทิศตนเพื่อกิจกรรมส่วนรวมขององค์กร ภาระหน้าที่ของแต่ละปัจเจกบุคคล ย่อมมีเรื่องของ “เวลา” เข้ามาเป็นทั้งข้อจำกัด และข้ออ้าง ในการแบ่งรับแบ่งสู้ภาระหน้าที่งาน ปัญหา หรือเหตุปัจจัยอื่นๆอยู่เสมอ โดยเฉพาะเหตุแห่งการอุทิศตนให้แก่งานส่วนรวมต่างๆ ภายในองค์กร มักมีคำว่า “ไม่ว่าง” “ไม่มีเวลา” เข้ามาเป็นตัวบดบังการอุทิศตนเหล่านั้นเสมอ กล่าวง่ายๆคือ “เวลา” คือเหตุสำคัญต่อการอุทิศตนเพื่อนส่วนรวมนั่นเอง ซึ่งเราไม่สามารถปฏิเสธข้อจำกัด และข้ออ้าง แห่ง “เวลา” ได้ ยิ่งบุคคลที่มีภาระส่วนตัวมากมายก็มักจะปฏิบัติงานให้ตรงตามเวลาเข้างานและเวลาออกงานเท่านั้น โดยกิจกรรมนอกเหนืออื่นๆที่องค์กรจัดขึ้น บุคลเหล่านี้มักมีขอจำกัด และข้ออ้าง เรื่อง”เวลา” เสมอ หากด้วยเหตุนี้ การปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างตามจรรยาบรรณวิชาชีพในการให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรอย่างสม่ำเสมอจึงมักสร้างปัญหาหลักภายในองค์กรอยู่ร่ำไป ทั้งนี้ การปลูกฝังทางด้านจิตใจของแต่ละบุคคลจึงสามารถนำมาเป็นข้อตัดสิน เหตุแห่ง “เวลา” ได้ดีที่สุด  ซึ่งบางคนสามารถนิ่งดูดายกิจกรรมส่วนรวมขององค์กรได้อย่างหน้าตาเฉย บางกลุ่มอาจรู้สึกสำนึกอยู่บ้างในงานส่วนรวมแต่กลับเห็นว่าความสามารถของตนอาจไม่เหมาะสมต่องานจึงทำได้พียงถามไถ่ถึงกิจกรรมส่วนรวมเท่านั้น ผิดกับบางคนที่สามารถทุ่มเทปฏิบัติงานส่วนรวมได้เสมอโดยไม่คิดถึงตนเองเลยแม้แต่น้อย เพราะหลักอย่างหนึ่งที่บุคคลเหล่านี่ระลึกถึงเสมามา คือ อาสาสมัคร หรือจิตอาสา โดยได้มีคำนิยามจากหลายสำนักกล่าวถึงเรื่องอาสาสมัคร หรือจิตอาสา ไว้อย่างมากมาย เช่น Susan J. Ellis และ Katerines H. Noyes (อ้างในศุภรัตน์ รัตนมุขย์,2544) ให้ความหมายว่า เป็นการเลือกกระทำสิ่งต่างๆ ที่เห็นว่าเป็นสิ่งที่ควรกระทำและเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมโดยไม่หวังผลตอบแทนเป็นเงินทอง  และการกระทำนี้ไม่ใช่ภาระงานที่ต้องทำตามหน้าที่  จากความหมายนี้จะเห็นองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 4 ประการ คือ 1.การเลือก (Choose) เป็นการเน้นที่เจตจำนงที่อิสระที่จะกระทำหรือไม่กระทำในสิ่งใดๆ 2.ความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility )หมายถึงการกระทำที่มุ่งมั่นเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นซึ่งอาจเป็นได้ทั้งบุคคล กลุ่มคน หรือสังคมส่วนรวม 3.โดยไม่หวังผลตอบแทนเป็นเงินทอง ( Without Monetary Profit) หมายถึงไม่ได้หวังผลรายได้ทางเศรษฐกิจ แต่อาจรับเป็นรางวัลหรือค่าใช้จ่ายทดแทนที่ตนเองได้ใช้จ่ายไปแต่ไม่อาจเทียบได้กับค่าของสิ่งที่ได้กระทำ 4.ไม่ใช่ภาระงานที่ต้องทำตามหน้าที่ ( Beyond Basic Obligations) หมายถึงสิ่งที่ทำนั้นอยู่นอกเหนือความจำเป็นหรือสิ่งที่ถูกคาดหวังว่าจะต้องทำตามภาระหน้าที่ โดยสรุปแล้ว ข้อจำกัด และข้ออ้าง แห่งเวลา ของแต่ละบุคคล จะสามารถปรับเปลี่ยนได้ หากเพียงแต่ท่านพึ่งระลึกถึงคำว่า อาสาสมัคร หรือจิตอาสา ไว้ในจิตใจของทุกท่านตลอดเวลา ภาระงานส่วนรวมขององค์กรจะไม่ตกเป็นภาระงานของใครคนใดคนหนึ่งอีกต่อไป เพียงเท่านี้องค์กรก็จะน่าอยู่ขึ้น ช่วยเหลือซึ่งกันและกันมากขึ้น ไม่มีใครคนใดคนหนึ่งรู้สึกถูกทอดทิ้งอยู่ตลอดเวลา จะกลายเป็นองค์กรแห่งความช่วยเหลือเกื้อกูลกันได้อย่างสนิทใจนั่นเอง -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- เมษายน 2558; ณภาภัช เลี้ยงประยูร (นักวิชาการศึกษา) สังกัดสำนักงานคณบดี คณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้