รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ Fixed Point Theory and Optimization
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์
สืบเนื่องด้วย ข้าพเจ้า รองศาสตราจารย์พัฒนพงศ์ เทียนชัย อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ได้รับอนุญาตเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการด้าน Fixed Point Theory and Optimization ในระหว่างวันที่ 17 – 18 มกราคม 2563 ณ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บัดนี้การประชุมได้เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ข้าพเจ้าขอส่งรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ ดังต่อไปนี้
รายงานสรุปเนื้อหาจากการเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติ ฯ
การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการด้าน Fixed Point Theory and Optimization ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้นักคณิตศาสตร์ ตลอดจนนิสิตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยและสถาบันต่าง ๆ ทั่วประเทศได้ตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญของการวิจัยและการเผยแพร่งานวิจัยทางคณิตศาสตร์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิชาการ นักวิจัย คณาจารย์ และนักศึกษา ทั้งในและต่างประเทศ พบประแลกเปลี่ยนประสบการณ์การวิจัยในสาขา Fixed Point และ Optimization ตลอดจนสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาและสร้างความก้าวหน้าทางวิชาการ เป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้คณาจารย์และนักศึกษาในมหาวิทยาลัยได้ตระหนัก และเห็นถึงความสำคัญในการสร้างผลงานวิจัย ตลอดจนการนำเสนอเผยแพร่ผลงานในการประชุมระดับนานาชาติ และเพื่อส่งเสริมและสร้างเครือข่ายงานวิจัยกับสถาบันการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ
ทฤษฎีจุดตรึงและทฤษฎีการหาค่าเหมาะสมที่สุด (Fixed Point Theory and Optimization) ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการหาคำตอบและค่าที่เหมาะสมที่สุดของปัญหาต่าง ๆ ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิศวกรรมศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ การพัฒนาองค์ความรู้ในสองสาขานี้ได้รับความสนใจจากนักคณิตศาสตร์ทั่วโลก และมีพัฒนาการและความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า วิจัย เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาและแก้ปัญหาต่าง ๆ เป็นพื้นฐานและหลักการในการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาการในสาขาดังกล่าว และสามารถประยุกต์สำหรับการแก้ปัญหาในสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ โดยในการประชุมได้มีการให้ความรู้ และรายงานความก้าวหน้าในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ดังหัวข้อต่อไปนี้
1. A Change of scale formula for Wiener Integrals about the first variation on the product abstract Wiener space. By Prof. Dr. Young Sik Kim.
2. Traffic signal control methods. By Assoc. Prof. Dr. Narin Petrot.
3. Splitting algorithms for solving convex minimization problems. By Assoc. Dr. Prasit Cholamjiak.
4. Large scale twin parametric support vector machine using generalized pinball loss function. By Assoc. Prof. Dr. Rabian Wangkeeree.
5. Matrix transformation and fixed point algorithms. By Assoc. Prof. Dr. Satit Saejung.
6. KMUTT fixed point research laboratory and recent researches. By Prof Dr. Poom Kumam.
การนำไปใช้ประโยชน์
1. ได้ทราบถึงแนวทางการพัฒนางานวิชาการทางด้าน Fixed Point Theory and Optimization
2. ได้ทราบวิธีการนำงานทางวิชาการทางด้าน Fixed Point Theory and Optimization มาประยุกต์ใช้สำหรับการแก้ปัญหาในสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการหาคำตอบและค่าที่เหมาะสมที่สุดของปัญหาต่าง ๆ ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิศวกรรมศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์
3. ได้เห็นความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างต่อเนื่องของแต่ละสถาบันทางด้าน Fixed Point Theory and Optimization
ลงชื่อ ............................................................
( รองศาสตราจารย์พัฒนพงศ์ เทียนชัย )
…………/……………../……………..
ความคิดเห็นของผู้บังคับบัญชาขั้นต้น (ประธานหลักสูตร/เลขานุการคณะ/หัวหน้างาน)
..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ลงชื่อ ............................................................
( ผู้ช่วยศาสตราจารย์จินตนา จูมวงษ์ )
…………/……………../……………..
ความคิดเห็นของคณบดีคณะวิทยาศาสตร์หรือผู้แทน
..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ลงชื่อ ............................................................
( )
…………/……………../……………..
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้