Blog : การตรวจประเมินด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental audit)
รหัสอ้างอิง : 2221
ชื่อสมาชิก : ปานวาด ศิลปวัฒนา
เพศ : หญิง
อีเมล์ : panwad_sw@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 1/9/2560 11:19:37
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 1/9/2560 11:19:37

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : การตรวจประเมินด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental audit)
การตรวจประเมินด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental audit) ความหมายของการตรวจประเมิน: การดำเนินการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบและเป็นอิสระ เพื่อกำหนดกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม และผลที่เกิดขึ้น ว่าเป็นไปตามระเบียบที่กำหนดไว้หรือไม่โดยผู้ตรวจประเมิน เพื่อที่จะรับรอง และประเมินผลการการดำเนินงานอย่างถูกต้อง และรายงานผลของการตรวจประเมินการดำเนินการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง ประเภทของการตรวจประเมินด้านสิ่งแวดล้อม: การตรวจประเมินทางสิ่งแวดล้อม แบ่งออกเป็นหลายประเภท ดังต่อไปนี้ - การตรวจประเมินการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Compliance Audit) - การตรวจประเมินเกี่ยวกับข้อกำหนดที่ถูกกำหนดโดยภาคธุรกิจ (Due Diligence Audit) - การตรวจประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment Audit) - การตรวจประเมินสิ่งแวดล้อมเบื้องตน (Environmental Pre-acquisition Audit) - การตรวจประเมินกระบวนการ (Process Audit) - การตรวจประเมินการจัดการผลิตภัณฑ์ (Product Stewardship Audit) - การตรวจประเมินผลิตภัณฑ์ (Product Audit) - การตรวจประเมินด้านการจัดการของเสีย (Waste Audit) - การตรวจประเมินด้านการจัดการพลังงาน (Energy Audit) - การตรวจประเมินผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Performance Statement Audit) - การตรวจประเมินด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (Facility Audit) - การตรวจประเมินการปนเปื้อนในพื้นที่ (Contaminated Site Audit) - การตรวจประเมินด้านการจัดการป่าไม้ (Forest Stewardship Audit) - การตรวจประเมินด้านระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management System Audit) ความสำคัญของการตรวจประเมินด้านสิ่งแวดล้อม: - เพื่อเพิ่มโอกาสในการปรับปรุงระบบในองค์กร - เพื่อสร้างความมั่นในให้กับลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้อง - เพื่อตรวจดูระบบบริหารคุณภาพและสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลต่อการควบคุมคุณภาพของสินค้า/บริการ และกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม - เพื่อให้ผู้บริหารองค์กรได้ทราบว่าระบบตรวจประเมินมีประสิทธิภาพและความเหมาะสมหรือไม่ - เพื่อให้แน่ใจว่าการควบคุมเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติ / วิธีการทำงานที่ได้กำหนดไว้ เป็นไปตามข้อกำหนดของตัวสินค้า /บริการ กฎหมาย / ข้อกำหนดอื่นๆ และความพึงพอใจของลูกค้า และมีการพัฒนาปรับปรุงระบบการจัดการอย่างต่อเนื่อง - เพื่อให้องค์กรจัดทำการตรวจประเมินโดยพิจารณาจากสถานะความสำคัญของกระบวนการต่างๆ และผลลัพธ์ของการตรวจประเมินที่ผ่านมา ขั้นตอนการตรวจประเมินด้านสิ่งแวดล้อม: ขั้นตอนในการตรวจประเมิน สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 1. การวางแผนการตรวจประเมิน (Audit planing) ประกอบไปด้วยขั้นตอนย่อยดังต่อไปนี้ 1.1 การกำหนดวัตถุประสงค์ของการตรวจประเมิน 1.2 จัดทำตารางหรือแผนการตรวจประเมิน (Audit plan) 1.3 จัดทำกำหนดการตรวจประเมิน (Audit Program) ซึ่งได้แก่ • หน่วยงานหรือบุคคลที่จะถูกตรวจประเมิน • คณะกรรมการการตรวจหรือผู้ตรวจ • เรื่องที่จะทำการตรวจประเมิน • ช่วงเวลา • ต้องได้รับอนุมัติจากผุ้ที่มีอำนาจ 1.4 จัดคณะทำงาน คัดเลือกบุคคลที่เหมาะสม ผู้รับผิดชอบกิจกรรมต่างๆ ในการตรวจประเมิน 1.5 แจ้งผู้ดูแลในส่วนที่ต้องถูกตรวจ 1.6 ทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง คู่มือ ระเบียบปฏิบัติ วิธีปฏิบัติ เอกสารสนับสนุน และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 1.7 การเตรียมและการจัดทำ checklist มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ • อ่านเอกสารที่จะทากรตรวจประเมินอย่างละเอียด • ทำความเข้าใจในเรื่องที่จะทำการตรวจประเมิน • มีความเข้าใจในข้อกำหนดของมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม • พิจารณาคำถาม 5W 1H (who, what, where, when, why และ how) 1.8 ประชุมตกลงเตรียมการกับสมาชิกผู้ตรวจประเมิน ประสบการณ์ ความสามารถ และความเป็นอิสระ 1.9 กำหนดขอบเขตของการตรวจ ว่าต้องตรวจกิจกรรมใดบ้าง ต้องตรวจทั้งระบบ หรือตรวจเฉพาะส่วนงานหรือพื้นที่ 1.10 ตรวจสอบเอกสารที่ใช้ดำเนินระบบว่าเป็นไปตามข้อกำหนดหรือไม่ 2. การปฏิบัติการตรวจประเมิน 2.1 การเปิดการประชุม 2.2 การดำเนินการตรวจประเมิน 2.3 ทบทวนหลักฐานที่ตรวจพบ การรายงานผลการตรวจประเมิน: ข้อมูลที่สามารถวัดเป็นรูปธรรม ในเชิงปริมาณและคุณภาพ เป็นหลักฐานจากการตรวจประเมิน เช่น บันทึก รายงานข้อเท็จจริง ที่เกี่ยวช้องกับกิจกรรมการดำเนินงานต่างๆ ที่มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดของระบบการจัดการ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของการสังเกต การวัด การทดสอบ และสามารถตรวจสอบได้ โดยสรุปหลักฐานจะได้จาก • การสัมภาษณ์ • การตรวจสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน ณ ส่วนที่มีการปฏิบัติงาน • การตรวจสอบเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น บันทึกต่างๆ รายงาน ฯลฯ • บันทึกสี่งที่ตรวจพบระหว่างการตรวจประเมิน ทำให้ทราบถึงผลการตรวจประเมิน ว่ามีการปฏิบัติที่เป็นไปตามข้อกำหนดหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนด จะมีการกำหนดระดับข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น โดยสามารถแบ่งได้เป็น 4 ระดับดังนี้ คือ - Major จัดเป็นระดับความบกพร่องที่รุนแรง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการจัดการในการควบคุมปัญหา และต้องดำเนอนการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เช่น การไม่ดำเนินการตามกฎหมาย เป็นต้น - Minor เป็นระดับความบกพร่องที่เล็กน้อย ยังไม่ส่งผลกระทบต่อความล้มเหลวของระบบฯ - Observation เป็นข้อที่ควรปรับปรุง ไม่ใช่ความผิด แต่อาจส่งผลเป็นข้อบกพร่องในอนาคตได้ - Recommendation เป็นข้อแนะนำในการพัฒนาในอนาคต 2.4 การปิดประชุม: ต้องมีการพูดคุยด้วยวาจา และผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรมต้องรอบรับใบ CAR เพื่อเสนอข้อที่จะแก้ไขและป้องกัน รวมถึงวันที่คาดว่าจะแก้ไขเสร็จ 3 การติดตามผล การแก้ไข และการปิดประเด็นข้อบกพร่อง: เป็นหน้าที่ของผู้ตรวจประเมินที่จะต้องตรวจความคืบหน้าในการแก้ปัญหา ในบางกรณีอาจมีการออกใบ CAR ซ้ำ ไม่สามารถปฏิบัติงานตามเงื่อนไขที่กำหนดได้ 4 การายงานผลการตรวจประเมิน (Audit Report) จะต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 4.1 ขอบเขต วันที่ และเวลาของการตรวจประเมิน 4.2 รายชื่อบุคคลทีทำการตรวจปร
การตรวจประเมินด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental audit) » การตรวจประเมินด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental audit)
การตรวจประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมสามารถระบุประสิทธีภาพ ของระบบการจัดการว่ามีมากหรือน้อยเพียงใด ซึ่งการตรวจประเมินระบบฯ เพื่อขอรับการรับรอง จะดำเนินงานจากองค์กรภายนอก ซึ่งจะมีวิธีการโดยเฉพาะ ดังน้ันผู้ตรวจประเมินจะต้องเข้ารับการฝึกอบรม และฝึกพัฒนาตนเอง ให้สามารถนำประโยชน์มาสู่องค์กรที่ถูกตรวจประเมิน โดยใช้ประบวนการที่ดีที่สุด และใช้งบประมาณให้น้อยที่สุด เนื้อหาของบทความนี้จะกล่าวถึงรายละเอียด และข้ันตอนการตรวจประเมินอย่างคร่าวๆ เพื่อเป็นแนวทางแก้ผู้ที่สนใจ
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 7746  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ปานวาด ศิลปวัฒนา  วันที่เขียน 3/9/2562 11:33:56  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 15:43:15

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้