เคล็ดลับและเทคนิคพิเศษในการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ (Tips & Tricks for your smart laboratory)
วันที่เขียน 17/1/2568 18:19:11     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/1/2568 8:51:27
เปิดอ่าน: 18 ครั้ง

จากการเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Try before tired : 5 Minutes hacking tips & Tricks for your smart laboratory ที่จัดโดย ที่ประชุมสภาข้าราชการ พนักงานและลูกจ้าง มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ร่วมกับเครือข่ายพัฒนาระบบงานห้องปฏิบัติการครั้งนี้จึงมาสรุป Tips & Tricks ที่น่าสนใจมาแชร์ให้ผู้อ่านที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการได้ลองอ่านและเผื่อจะลองนำไปประยุกต์ใช้กับงานของตนเองได้ ดังนี้

เคล็ดลับและเทคนิคพิเศษในการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ 

(Tips & Tricks for your smart laboratory)

 

การตกแต่งภาพให้โดนใจได้อย่างโปรด้วย CANVA

     แม้ว่าปัจจุบันจะมีหลายโปรแกรมที่ใช้ในการตกแต่งภาพ แต่ CANVA เป็นแอพลิเคชั่นอีกหนึ่งช่องทางที่ใช้ตกแต่งภาพได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะลบภาพ ย้ายวัตถุในการถ่ายภาพ ที่เราสามารถนำมาปรับใช้ในตกแต่งภาพเพื่อใช้ในการทำสื่อการเรียนการสอนได้

 

เทคนิคการถ่ายภาพปลาเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน

    เทคนิคการถ่ายภาพปลาเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน ใช้อุปกรณ์ที่ใช้สามารถหาได้ง่ายๆ ได้แก่ โคมไฟ โฟมบอร์ด ฟิวเจอร์บอร์ด สีดำ ถาดสีดำ/ขาว มือถือหรือกล้องถ่ายรูป เข็มมุด/เข็ดกลัดปักแมลง พู่กัน ดินน้ำมัน บีกเกอร์ ฟอร์มาลีน ซึ่งมีขั้นตอนการถ่ายภาพ คือ ทำการคัดเลือกตัวอย่างปลา การจัดท่าตัวอย่างและการตรึงครีบ ถ่ายภาพปลาแบบเปียกและแบบแห้ง ภาพที่ถ่ายได้ออกมาจะสวยงาม สามารถนำเทคนิคนี้ไปประยุกต์ใช้ในการถ่ายภาพอื่นๆ เพื่อใช้ประกอบการทำสื่อการสอนอื่น ๆหรือภาพเพื่อใช้ในการเขียนเล่มรายงานวิจัยได้

 

ใช้กล้องจุลทรรศน์อย่างไรเมื่อไฟฟ้าดับ

      เชื่อว่าผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการเคยเจอปัญหาไฟฟ้าดับระหว่างการเรียนการสอนปฏิบัติการที่มีการใช้กล้องจุลทรรศน์ และคาดเดาไม่ได้ว่าไฟฟ้าจะกลับมาใช้งานได้เมื่อไหร่ บางครั้งอาจจะต้องยกเลิกคลาสเรียนไปเลย  ดังนั้นเคล็ดลับที่สามารถช่วยแก้ไขสถานการณ์นี้ได้คือ การใช้แสงไฟจากไฟฉายของโทรศัพท์มือถือเป็นแหล่งกำเนิดแสง  โดยนำไปวางไว้ใต้แท่นวางวัตถุตรงแหล่งกำเนิดแสง จะทำให้สามารถใช้กล้องจุลทรรศน์ได้ต่อ สามารถเห็นลักษณะโครงสร้างสัณฐานของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่กำลังศึกษาภายใต้กล้องได้ ถึงแม้ว่าความสว่างของภาพภายใต้กล้องจุลทรรศน์ที่ได้จะมีความสว่างน้อยกว่าแหล่งกำเนิดแสงของกล้อง แต่ก็สามารถใช้แก้ไขสถานการณ์กรณีไฟดับได้ดีทีเดียว

 

เคล็ดไม่ลับการเก็บอาหารเลี้ยงเชื้อให้เหมาะสมสะดวกใช้งาน

    การเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อสำหรับเพาะเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์เพื่อใช้ในการเรียนการสอนปฏิบัติการของนักศึกษาหรือใช้ในงานวิจัยนั้นหลายครั้งที่ต้องเตรียมไว้ล่วงหน้าไว้ก่อนเพื่อความสะดวกในการนำมาใช้งานหรือให้ทันใช้ในชั่วโมงปฏิบัติการ หรือบางครั้งอาจใช้ไม่หมด จะทิ้งก็คงจะเสียดาย เพราะส่วนผสมที่ใช้เตรียมอาหารก็มีราคาแพงเหลือเกิน ดังนั้นเคล็ดไม่ลับในการเก็บรักษาอาหารเลี้ยงเชื้อให้เหมาะสมและสะดวกใช้งานเช่น

  • อุณหภูมิและแสง เก็บอาหารเลี้ยงเชื้อในแนวตั้ง ในที่มืด อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส
  • การติดฉลาก บันทึกวันที่เตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อและวันที่หมดอายุ
  • อายุการใช้งานของอาหาร
  • อาหารบรรจุในขวดหรือหลอดทดลองจะมีอายุประมาณ 3-6 เดือน
  • อาหารบรรจุในจานเพาะเลี้ยง (อาหารแข็ง) จะมีอายุประมาณ 2-4 สัปดาห์เมื่อเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส และจะมีอายุประมาณ 1 สัปดาห์ที่อุณหภูมิห้อง (12-25 องศาเซลเซียส)
  • การเพิ่มอายุการเก็บรักษา ทำได้โดยเก็บรักษาอาหารเลี้ยงเชื้อในถุงพลาสติกปิดสนิทจะช่วยยืดอายุการเก็บรักษาไม่ให้ปนเปื้อนเชื้อในอาหารได้
  • การตรวจสอบ ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของอาหารเลี้ยงเชื้อ เช่น สี การระเหย การปนเปื้อน

 

เทคนิคพิชิตทุนวิจัย

       การขอทุนวิจัยให้สำเร็จมีเทคนิคในการเขียนขอทุนวิจัยพอสังเขป ดังนี้

  • ชื่อโครงการ ต้องกระชับไม่ยืดยาว ชัดเจนว่าโครงการจะทำอะไร และชื่อต้องเข้ากับแหล่งทุน
  • วัตถุประสงค์ของการวิจัย ต้องระบุให้ชัดเจนว่าโครงการวิจัยทำอะไร เข้าไปแก้ไขหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์สถานประกอบการอย่างไร และเรียงลำดับวัตถุประสงค์ตามความสำคัญส่วนมากไม่ควรเกิน 2 ข้อ
  • รายละเอียดความพร้อมของสถานประกอบการ เขียนให้ละเอียดที่สุด โดยระบุความพร้อมของอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรของสถานประกอบการต่อการรองรับการปฏิบัติงานของอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา ระบุความพร้อมของบุคลากรของสถานประกอบการ มีการแต่งตั้ง/มอบหมายบุคลากรของสถานประกอบการให้มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ ระบุความพร้อมของสถานประกอบการแผนการดำเนินงานตลอดโครงการ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ควรมีรูปประกอบ เช่น การลงพื้นที่สถานประกอบการ แผนภารการดำเนินโครงการ และตารางสรุปแผนการดำเนินงาน ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับต้องล้อกับวัตถุประสงค์ ทำอะไรต้องได้อย่างนั้น ผลกระทบต่อการเรียนการสอน อาจารย์ นักศึกษาได้อะไรจากโครงการ มีการบูรณาการเรียนการสอนด้านไหน ผลกระทบกต่อสถานประกอบการด้านใด
  • แผนการดำเนินงานตลอดโครงการและผลที่ได้รับ เขียนให้ละเอียดที่สุด ทั้งในด้านการดำเนินงานวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ควรมีรูปประกอบ เช่น การลงพื้นที่สถานประกอบการ และมีแผนภาพการดำเนินโครงการ และตารางสรุปแผนการดำเนินงาน
  • Roadmap ของโครงการ วาง Roadmap ให้ชัดเจน
  • ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ Output ต้องล้อกับวัตถุประสงค์ ทำอะไรต้องได้อย่างนั้น impact ผลกระทบต่อการเรียนการสอน อาจารย์ นักศึกษาได้อะไรจากโครงการ  มีการบูรณาการเรียนการสอนด้านไหน และโครงการมีผลกระทบต่อสถานประกอบการด้านใด
  • กรอบแนวคิด ต้องอธิบายถึงปัญหาที่เกิดขึ้นของโครงการ อธิบายถึงหลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับโครงการเพื่อโยงถึงแผนภาพกรอบแนวคิด และอธิบานภาพแผนของของกรอบแนวคิดของโครงการ พร้อมทั้งสรุปให้เห็นถึงประโยชน์ของโครงการ

 

รายงานข้อมูลสารเคมีแบบเรียลไทม์ด้วย Looker studio

       ปัญหาของการรายงานข้อมูลสารเคมีที่ล่าช้า ไม่สามารถรายงานผลแบบเรียไทม์ อีกทั้งจัดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล  Looker studio จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการดึงข้อมูลและแสดงรายงานในรูปแบบ dashboard สามารถนำข้อมูลออกมาแสดงในรูปแบบภาพ หรือ Infographic ที่เข้าใจง่าย สวยงาม เป็นระเบียบ เป็นเครื่องมือที่ใช้งานง่ายและไม่เสียค่าใช้จ่าย ดึงข้อมูลแบบเรียลไทม์ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลา สามารถกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลแต่ละส่วนได้และสามารถแชร์ให้ผู้อื่นที่ใช้งานร่วมกันได้ และยังใช้ได้กับทุกอุปกรณ์ วิธีการใช้  Looker studio ในการรายงานข้อมูลสารเคมี ให้ทำการจัดการข้อมูลสารเคมีในไฟล์ MS excel  จากนั้นแปลงไฟล์เป็น google sheet  แล้วนำไปเข้า Looker studio ที่สามารถออกแบบตกแต่งหน้ารายงานสรุปปริมาณสารเคมีภายในห้องปฏิบัติการได้

 

บันทึกคะแนนสอบปฏิบัติการแบบไร้กระดาษ

         การบันทึกคะแนนสอบปฏิบัติ มีวิธีการรูปแบบหนึ่งที่สามารถทำได้ง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัสแบบไร้กระดาษโดยการใช้เครื่องมือใน google sheet ในการสร้างไฟล์คะแนนสอบ โดยใช้ฟังก์ชั่นบนเมนูใน Google sheet เช่น ตัวเลือกคะแนน ชื่อ กำหนดเกณฑ์ในการกรอกคะแนน พอสร้างไฟล์เสร็จ ส่งลิงค์ตั้งไฟล์ให้กับอาจารย์ผู้สอนในกลุ่มไลน์ เพื่อใช้บันทึกคะแนนสอบ เมื่ออาจารย์ลงคะแนนเสร็จก็สามารถแชร์ให้ผู้ประสานงานได้อีกที วิธีการนี้ช่วยทำให้ลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน ลดระยะเวลา ลดความผิดพลาด ลดการใช้กระดาษเป็นศูนย์ และประมวลผลแบบ Real time ได้

 

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
การจัดการของเสียสารเคมีและของเสียอันตราย » การจัดการของเสียสารเคมีและของเสียอันตราย
การจัดการของเสียสารเคมีและของเสียอันตราย ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1.การจัดแยกประเภท 2.การจัดเก็บของเสีย 3.การบันทึกปริมาณของเสีย 4.การรายงานปริมาณของเสีย 5.การเก็บรวบรวมของเสียก่อนนำไปกำจัด
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร  วันที่เขียน 25/12/2567 15:27:30  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/1/2568 19:37:37   เปิดอ่าน 62  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี (ESPReL Checklist) » มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ (ESPReL Checklist)
มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการด้วย ESPReL Checklist ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบหลัก คือ องค์ประกอบที่ 1 การบริหารระบบการจัดการความปลอดภัย องค์ประกอบที่ 2 ระบบการจัดการสารเคมี องค์ประกอบที่ 3 ระบ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร  วันที่เขียน 16/12/2567 15:44:32  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/1/2568 22:17:41   เปิดอ่าน 188  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง