ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการอบรมเรื่อง มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี (ESPReL Checklist)
วันที่เขียน 23/12/2567 17:50:15     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 14/1/2568 21:51:59
เปิดอ่าน: 45 ครั้ง

ได้เข้าร่วมโครงการอบรม เรื่อง มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี (ESPReL Checklist) ในวันที่ 4 ธันวาคม 2567 ณ ห้องเอกภพวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รับฟังการบรรยายโดย รองศาสตราจารย์ ดร.นัทธี สุรีย์ รักษาการแทน ผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในหัวข้อ "นโยบายส่งเสริมความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับ สารเคมีและการขับเคลื่อน (พ.ศ. 2566 - 2570) และมาตรการส่งเสริมให้เกิดการยกระดับความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ (ESPReL Checklist)" รวมทั้งทำแบบทดสอบ (Post-test) เพื่อรับใบประกาศนียบัตรหลังการอบรม

มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี
ESPReL Checklist )

     ห้องปฏิบัติการอาจเป็นแหล่งเกิดอุบัติภัยรุนแรงที่เกิดจากสารเคมีอันตรายและเป็นประเด็นความเสี่ยงต่อการยอมรับผลการวิจัยในระดับสากล กฎหมายที่สำคัญด้านความปลอดภัย ได้แก่ (1) พรบ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ใช้บังคับสถานประกอบกิจการและนายจ้างทั้งภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจ ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการบริหารและจัดการฯ เพื่อประโยชน์ของลูกจ้าง โดยไม่ใช้บังคับกับราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น (2) แผนยุทธศาสตร์การจัดการสารเคมีแห่งชาติฉบับที่ 4(พ.ศ. 2555-2564) และ ร่างฉบับที่ 5(พ.ศ.2561-2569)

     สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีบทบาทสำคัญในการกำกับดูแลด้านมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการในระดับชาติ โดยมาตรฐานด้านการวิจัย ได้แก่ มาตรฐานการวิจัยในมนุษย์ มาตรฐานการเลี้ยงและใช้สัตว์ทดลองทางวิทยาศาสตร์ มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ มาตรฐานข้อมูลผลการวิจัยในคลังสารสนเทศดิจิทัล มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัย มาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพ จรรยาบรรณวิชาชีพและแนวทางปฏิบัติ และ ระบบการกำกับดูแล และส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย

    ระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี (มอก.2677-2558) มีข้อกำหนด 5 ข้อ ได้แก่ 1.นโยบายความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ 2.การวางแผน 3.การนำไปใช้และการปฏิบัติ 4.การติดตามตรวจสอบและการประเมินผลการปฏิบัติ และ 5.การทบทวนการจัดการ

     กรอบแนวคิดปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการที่เกิดจากความร่วมมือในการพัฒนาของภาคีสมาชิกซึ่งเป็นที่ยอมรับและนำไปใช้ทดลองปฏิบัติปรับปรุงและขยายผล ตาม ESPReL Checklist ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบหลักได้แก่ (1)การบริหารระบบการจัดการความปลอดภัย (2)ระบบการจัดการสารเคมี (3)ระบบการจัดการของเสีย (4)ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์และเครื่องมือ (5)ระบบการป้องกัน และแก้ไขภัยอันตราย (6)การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ และ (7)การจัดการข้อมูลและเอกสาร รวมถึงการทบทวนและปรับปรุงเอกสารให้ทันสมัย โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้สนับสนุนให้มีการใช้งานระบบ Smart Lab Platform ในการบริหารจัดการความปลอดภัยห้องปฏิบัติการภายในมหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลและติดตามเอกสารสาคัญ และสร้างระบบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยแบบกึ่งอัตโนมัติ เพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้งานและยั่งยืนต่อการดำเนินการ

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1541
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
งานวิจัยปวีณา » การพัฒนาตนเองจากการเข้าร่วมอบรมโครงการ Train the Trainer ด้านการจัดการของเสียอันตรายจากห้องปฏิบัติการ สำหรับมหาวิทยาลัยเครือข่ายห้องปฏิบัติการปลอดภัย ภาคเหนือ
บุคลากรที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ วิจัย และบริการ ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมีและสารอันตราย จำเป็นต้อง ทราบถึง การจัดการของเสียสารเคมีและของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการอย่างเป็นระบบ เพื่...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ปวีณา ภูมิสุทธาผล  วันที่เขียน 14/1/2568 10:36:56  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 14/1/2568 21:35:43   เปิดอ่าน 10  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ » การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการด้วยตำราและหนังสือ
การเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการด้วยตำราหรือหนังสือมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับบุคลากรสายวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาที่ต้องการพัฒนาศักยภาพด้านวิชาการและผลงานเขียนเชิงวิช...
ตำรา  ตำแหน่งทางวิชาการ  หนังสือ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ทวีศักดิ์ จันทร์งาม  วันที่เขียน 25/12/2567 16:11:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 13/1/2568 17:03:13   เปิดอ่าน 38  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ » การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการด้วยตำราและหนังสือ
การเขียนหนังสือหรือตำรา จะเป็นส่วนประกอบของเกณฑ์ทางเลือกที่นำเสนอร่วมกับผลงานวิจัยควบคู่กันไป แทนที่จะใช้ผลงานวิจัยเพียงอย่างเดียวที่มีเกณฑ์ในการพิจารณาคุณภาพที่สูงมาก สำหรับการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทา...
ตำรา หนังสือ ตำแหน่งวิชาการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ลัคนา วัฒนะชีวะกุล  วันที่เขียน 20/12/2567 11:38:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 13/1/2568 5:29:45   เปิดอ่าน 153  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง