การใช้บัญชีบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับองค์กรที่สร้างนวัตกรรม

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : OT-67-014
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การใช้บัญชีบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับองค์กรที่สร้างนวัตกรรม
บทคัดย่อ :

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบความแตกต่างของการใช้การบัญชีบริหารเชิงกลยุทธ์ในองค์กรที่สร้างนวัตกรรมด้วยการแสวงหาความรู้เปรียบเทียบกับองค์กรที่สร้างนวัตกรรมด้วยการใช้องค์ความรู้ ในบริษัทที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรม New S-Curve จำนวน 400 ราย เป็นตัวอย่างในการวิจัย ซึ่งทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แล้วทำการจัดกลุ่มโดยมีกลุ่มที่เป็นองค์กรที่สร้างนวัตกรรมด้วยการแสวงหาความรู้ จำนวน 87 ราย กับองค์กรที่สร้างนวัตกรรมด้วยการใช้องค์ความรู้ 107 ราย ผลการศึกษาพบว่า การใช้การบัญชีบริหารเชิงกลยุทธ์ในด้านการบริหารต้นทุน และด้านการวางแผน ควบคุม และการวัดผลการปฏิบัติงาน นั้นไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างองค์กรที่สร้างนวัตกรรมด้วยการแสวงหาความรู้กับองค์กรที่สร้างนวัตกรรมด้วยการใช้องค์ความรู้ แต่การใช้การบัญชีบริหารเชิงกลยุทธ์ ด้านกลยุทธ์ในการตัดสินใจ และการบัญชีด้านลูกค้า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยค่าเฉลี่ยในองค์กรที่สร้างนวัตกรรมด้วยการใช้องค์ความรู้จะสูงกว่าองค์กรที่สร้างนวัตกรรมด้วยการแสวงหาความรู้ และการใช้การบัญชีด้านคู่แข่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยค่าเฉลี่ยในองค์กรที่สร้างนวัตกรรมด้วยการแสวงหาความรู้จะสูงกว่าองค์กรที่สร้างนวัตกรรมด้วยการใช้องค์ความรู้ นอกจากนี้พบว่า การใช้การบัญชีบริหารเชิงกลยุทธ์ การบริหารต้นทุน การบัญชีด้านคู่แข่ง และการบัญชีด้านลูกค้า มีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญ โดยการบัญชีด้านคู่แข่งมีผลต่อผลการดำเนินงานในองค์กรที่สร้างนวัตกรรมด้วยการใช้องค์ความรู้น้อยกว่าองค์กรที่สร้างนวัตกรรมด้วยการแสวงหาความรู้ ด้วยเหตุนี้กิจการจะต้องตระหนักถึงลักษณะการสร้างนวัตกรรมขององค์กร เพื่อเลือกการใช้การบัญชีบริหารเชิงกลยุทธ์ ได้อย่างเหมาะสมและเกิดประโยขน์สูงสุดแก่องค์กร

คำสำคัญ : การบัญชีบริการเชิงกลยุทธ์ , การแสวงหาความรู้ , การใช้องค์ความรู้
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Strategic Management Accounting Applications for Organization Innovation
Abstract :

The purpose of this study was to examine the use of strategic management accounting in organization that approach to exploration and exploitation enhancing organization innovation. The strategic management accounting techniques studied are costing, planning & performance measurement, strategic decision making, competitor accounting, and customer accounting. Survey questionnaires were administered to accounting managers in New S-Curve industries yielding 400 usable responses. Using cluster analysis, the study analysis organizations innovation to exploratory innovation firms 87 cases, and exploitative innovation firms 107 cases. The results showed that the use of strategic management accounting in costing and planning & performance measurement were no significant difference between exploratory innovation firms and exploitative innovation firms. However, the use of strategic management accounting in strategic decision making, competitor accounting, and customer accounting were significant difference between exploratory innovation firms and exploitative innovation firms. The results also reveal that strategic management accounting in costing, competitor accounting and customer accounting had positively influenced performance for exploratory innovation firms and exploitative innovation firms, but competitor accounting had positively influenced performance in exploitative innovation firms less than exploratory innovation firms. The study provides evidence regarding practices that businesses must recognize the nature of organizational innovation for use strategic management accounting appropriately to maximum benefit to organization.

Keyword : Strategic Management Accounting, Exploration, Exploitation
รูปแบบงานวิจัย : งานวิจัยเชิงปริมาณ
ประเภทงานวิจัย : การวิจัยพื้นฐาน
สาขางานวิจัย : สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กุลชญา แว่นแก้ว
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะบริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยหลัก
(2567)
50 ไม่ระบุ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศฐา วรุณกูล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะบริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยร่วม
50 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2567
1/10/2566 ถึง 30/9/2567
ประเภทแหล่งทุน : ทุนส่วนตัว ส่วนตัวของผู้วิจัย
ทุนส่วนตัว
0.00
   รวมจำนวนเงิน : 0.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
1 มีนาคม 2567
วารสารที่ตีพิมพ์ : วารสารวิชาชีพบัญชี 
ฉบับที่ : 20(65)
หน้า : 50-76
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร :
0.8
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023