ความสัมพันธ์ระหว่างการลงทุนในนวัตกรรมกับความยั่งยืนโดยการมีการวางแผนภาษีเป็นตัวแปรส่งผ่าน

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.2-67-014
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : ความสัมพันธ์ระหว่างการลงทุนในนวัตกรรมกับความยั่งยืนโดยการมีการวางแผนภาษีเป็นตัวแปรส่งผ่าน
บทคัดย่อ :

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการลงทุนในนวัตกรรมกับความยั่งยืนโดยมีการวางแผนภาษีเป็นตัวแปรส่งผ่าน โดยการลงทุนในนวัตกรรมประกอบด้วยนวัตกรรมแบบการแสวงหาความรู้ และนวัตกรรมแบบการใช้องค์ความรู้ มีความสัมพันธ์กับความยั่งยืนของกิจการซึ่งมาจากการคำนวณจากสูตร ซึ่งประกอบด้วยอัตรากำไร การหมุนเวียนสินทรัพย์ อัตราส่วนทางการเงิน และอัตราการรักษาลูกค้า ในการศึกษาครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลจาก บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระหว่างปี 2564 – 2566 จำนวน 394 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานได้แก่ การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression)

ผลการศึกษาพบว่า การลงทุนในนวัตกรรมแบบการใช้องค์ความรู้มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราภาษีเงินนิติบุคคลแท้จริง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

นอกจากนั้นพบว่าการลงทุนในนวัตกรรมไม่ส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อความยั่งยืนของกิจการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

คำสำคัญ : การลงทุนในนวัตกรรม , การแสวงหาความรู้ , การใช้องค์ความรู้ , การวางแผนภาษี , ความยั่งยืนของกิจการ
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : The Relationship Between Innovation and Sustainable by Mediating Role of Tax Planning
Abstract :

This study aimed to investigate the relationship between investment in innovation and sustainability, with tax planning as a mediating variable. Investment in innovation, comprising exploration innovation and exploitative innovation, was linked to business sustainability, which was measured by profit margin, asset turnover, financial leverage, and retention ratio. Data were collected from companies listed on the Stock Exchange of Thailand between 2021 and 2023, sample 493 for data analysis. Multiple regression analysis was employed to test the hypotheses.

The results indicated that exploitative innovation have a positively related to the effective corporate income tax rate (ETR). Investing in innovation does not directly or indirectly have a statistically significant effect on the sustainability of the business.

Keyword : Innovation, Exploration, Exploitation, Sustainable
รูปแบบงานวิจัย : งานวิจัยเชิงปริมาณ
ประเภทงานวิจัย : การวิจัยพื้นฐาน
สาขางานวิจัย : สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กุลชญา แว่นแก้ว
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะบริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยหลัก
(2567)
50 ไม่ระบุ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศฐา วรุณกูล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะบริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยร่วม
50 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2567
1/10/2566 ถึง 30/9/2567
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในหน่วยงาน
งบประมาณส่วนงาน
20,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 20,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023