คุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : ชพ.66-นศ.-001
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 พฤศจิกายน 2565 ถึง 31 มีนาคม 2566
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : คุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
บทคัดย่อ :

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของกลุ่มบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของกลุ่มบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของกลุ่มบัณฑิตอาสามาตุภูมิเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรสุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิจำนวน 340 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าความถี่ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบความแตกต่าง โดยใช้ค่าสถิติ t-Test และ One-way ANOVA กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิของศูนย์อำนวยการบริหารชายแดนภาคใต้ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงจากด้านมากไปหาด้านน้อย คือด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงาน ด้านการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ด้านความสัมพันธ์กับสังคม ด้านความสมดุลระหว่างหน่วยงานกับชีวิตส่วนตัว รองลงมา ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงานด้านนโยบายขององค์การ ด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติหน้าที่ ตามลำดับ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศที่แตกต่างกันส่งผลให้คุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิฯ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ในทางตรงกัน อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา พื้นที่ปฏิบัติงาน อายุงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่ทำให้บัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิฯ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ข้อเสนอแนะ ต้องการให้หน่วยงานเพิ่มค่าตอบแทน และสวัสดิการในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้เจ้าหน้าที่บัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

คำสำคัญ : คุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงาน; บัณฑิตอาสา; พัฒนามาตุภูมิ; ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Quality of Life in Operation of Homeland Development Volunteer Graduates Southern Border Provinces Administrative Center.
Abstract :

The purposes of this research were 1) to study the quality of work life of the Motherland Development Volunteer Group graduates, 2) to compare the quality of work life of the Motherland Development Volunteer Group graduates, and 3) to study the recommendations on the quality of life. in the performance of the graduate volunteer group is a quantitative research The sampling population used in this research was a group of 340 Homeland Development Volunteer graduates. The questionnaire was used as a tool for data collection. The statistics used inthe research were frequency, percentage, mean, standard deviation and test differences. By using t-Test and One-way ANOVA statistics, the statistical significance was set at the .05 level. The results showed that Quality of Life in Practice of Homeland Development Volunteer Graduates of the Southern Border Administrative Center The overall picture is at a high level. Sorted from the most to the least, namely the relationship in the organization. in terms of self-potential development social relations on the balance between work and personal life, followed by progress and job security. Organizational policy The aspect with the lowest average was the aspect of adequate and fair compensation. The results of the hypothesis testing found that different genders resulted in the quality of work life of graduates of the Motherland Development Volunteers at a statistically significant difference at the .05 level. Work area, years of work and average monthly income did not make the Motherland Development Volunteer graduates differ significantly at the .05 level. and welfare in various fields in order to strengthen the morale and encouragement of the volunteer graduate staff to develop the motherland more effectively.

Keyword : quality of work life; volunteer graduates; develop the motherland; Southern Border Provinces Administrative Center
รูปแบบงานวิจัย : งานวิจัยเชิงปริมาณ
ประเภทงานวิจัย : การวิจัยพื้นฐาน
สาขางานวิจัย : สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 สุมิตรา มณีโชติ
ประเภทบุคคล : นักศึกษา
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร การเมืองและการปกครองท้องถิ่น
ผู้วิจัยหลัก
(2566)
50 ไม่ระบุ
2 อาจารย์ ดร.เชษฐ์ ใจเพชร
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
ผู้วิจัยร่วม
50 นักวิจัยรุ่นเก่า
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2566
1/10/2565 ถึง 30/9/2566
ประเภทแหล่งทุน : ทุนส่วนตัว ส่วนตัวของผู้วิจัย
0.00
   รวมจำนวนเงิน : 0.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
25 มิถุนายน 2566
วารสารที่ตีพิมพ์ : วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 
ฉบับที่ : 3
หน้า : 1-14
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร :
0.6
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023