สำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วน จังหวัดลำพูน ประจำปีงบประมาณ 2566

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : OLUM.-66-001
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 19 พฤษภาคม 2566 ถึง 14 พฤษภาคม 2567
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : สำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วน จังหวัดลำพูน ประจำปีงบประมาณ 2566
บทคัดย่อ :

การศึกษา เรื่อง “การสำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อประเมินประสิทธิผลในการจัดระบบการให้บริการประชาชน ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการจัดระบบการให้บริการประชาชน ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการจัดระบบบริการสาธารณะ ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน 4) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการบริการประชาชน ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ต่อการบริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน และ 5) เพื่อนําผลการประเมินมาเป็นแนวทางเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์ เป็นเครื่องมือในการศึกษาครั้งนี้ ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้

ประสิทธิผลการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน เมื่อวัดจากผลการดำเนินงาน สรุปได้ว่า ในภาพรวมของโครงการ มีการบรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมายและตัวชี้วัด สูงกว่าเป้าหมาย จำนวน 2 โครงการ เท่ากับเป้าหมาย จำนวน 27 โครงการ และต่ำกว่าเป้าหมาย จำนวน 2 โครงการ

ประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน สรุปได้ว่า 1) ประสิทธิภาพด้านเวลา: มีโครงการดำเนินการแล้วเสร็จเร็วกว่าแผนงานที่กำหนดไว้ จำนวน 4 โครงการ มีการดำเนินการแล้วเสร็จช้ากว่าแผนงานที่กำหนดไว้ จำนวน 3 โครงการ และมีการดำเนินการแล้วเสร็จตรงตามแผนงาน จำนวน 22 โครงการ 2) ประสิทธิภาพด้านต้นทุน: ความสำเร็จของการเบิกจ่ายงบประมาณ อยู่ที่ร้อยละ 77.50 การเบิกจ่ายตรงตามแผนการดำเนินโครงการ คิดเป็นร้อยละ 100 การใช้จ่ายเงินตามกิจกรรมและสามารถทวนสอบได้ คิดเป็นร้อยละ 100 การรายงานทางการเงินรายไตรมาส คิดเป็นร้อยละ 100 ความสำเร็จของผลงานร้อยละ 100 และ 3) ประสิทธิภาพด้านคุณภาพ: ระดับความพึงพอใจของประชาชน อยู่ที่ในระดับมากที่สุด (4.51)

ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีระดับความพึงพอใจเฉลี่ย 4.78 (ระดับมากที่สุด) หรือคิดเป็นร้อยละ 95.6 โดยพบว่า ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ เป็นด้านที่ได้รับความพึงพอใจมากที่สุด ส่วนการประเมินคุณภาพของงานบริการ สรุปว่า คุณภาพของงานบริการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน มีมากกว่าความคาดหวังของประชาชนผู้รับบริการ

ข้อเสนอแนะสำหรับงานบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ดังนี้

1. องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ควรมีนโยบายในการชี้แจงเรื่องขอบเขตของอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ที่สามารถทำได้ให้แก่ประชาชนได้รับรู้เพื่อเป็นการไม่ให้เกิดการเข้าใจผิดของประชาชนในทางที่ไม่ดี จะทำให้เป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดี และสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน

2. องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ควรมีนโยบายในการพัฒนาและเสริมสร้างบุคลากรภายในองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ในเรื่องการจัดทำโครงการ การเขียนโครงการ การตั้งเป้าหมาย การกำหนดตัวชี้วัดของโครงการให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ การติดตาม ประเมินผล และสรุปผลโครงการ ซึ่งจะทำให้เกิดข้อมูลของโครงการที่ถูกต้องเพื่อนำไปใช้ปรับปรุงและพัฒนาโครงการต่อไปในอนาคต

3. องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ควรมีนโยบายในการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาความร่วมมือ การประสานงานที่ดีระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูนกับกลุ่มเครือข่ายต่าง ๆ รวมถึงเพื่อที่จะได้รับข้อมูลโครงการโดยตรงจากกลุ่มเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อนำมาปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

4. องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ควรมีนโยบายในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ และจำนวนคนที่ปฏิบัติงานในแต่ละโครงการให้สอดคล้องและเพียงพอต่อภารกิจของแต่ละโครงการเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพของโครงการมากยิ่งขึ้น

5. องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ควรมีนโยบายในการประชาสัมพันธ์ในส่วนงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูนเชิงรุก และการชี้แจงข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบโดยทั่วกัน รวมถึงการชี้แจงข้อมูลโครงการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมายของโครงการ และขอบเขตในการดำเนินงาน

6. องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ควรมีนโยบายในการพัฒนา เรื่องการประสานงานระหว่างหน่วยงานภายในองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูนให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้กระบวนการดำเนินงานภายในองค์กรเป็นไปได้ด้วยดี

และมีข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ ดังนี้

1. เจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ควรที่จะมีการพัฒนาตนเอง เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการทำงาน โดยเฉพาะการพัฒนาด้านที่จำเป็นต่องานที่ต้องรับผิดชอบเพื่อให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูนมีการพัฒนามากยิ่งขึ้น เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

2. การวางแผนการดำเนินโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการควรพิจารณางบประมาณ และกระบวนการดำเนินงานอย่างรอบคอบและเหมาะสมต่อโครงการ ควรมีการทบทวนรายงานสรุปปัญหาและอุปสรรคที่เคยเกิดขึ้นจากโครงการเดิมของปีที่ผ่านมา เพื่อให้เกิดการพัฒนาของโครงการทำให้โครงการสามารถบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

3. การชี้แจงรายละเอียดของโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการควรมีการชี้แจงรายละเอียดของโครงการให้แก่หน่วยงานเจ้าของพื้นที่ ผู้นำชุมชนและบุคคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ ให้ได้รับข้อมูลโครงการอย่างรวดเร็วและชัดเจน รวมถึงขอความร่วมมือกับหน่วยงาน ผู้นำชุมชนและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในโครงการดังกล่าว ช่วยกระจายข้อมูลโครงการไปยังประชาชนที่ได้รับประโยชน์ในโครงการนั้น ๆ ได้รับทราบข้อมูลอย่างรวดเร็วและชัดเจน รวมถึงรายละเอียดขอบเขตอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูนที่สามารถทำได้ให้แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับรู้

4. ผู้รับผิดชอบโครงการ ควรมีการรับฟังข้อเสนอแนะ ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาร่วมโครงการ ทั้งก่อนดำเนินโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการ และหลังจากการดำเนินโครงการแล้วเสร็จ ซึ่งจะเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการโครงการเพื่อทำให้โครงการสามารถบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงเป็นข้อมูลในการจัดทำโครงการในปีต่อไป

5. กระบวนการการดำเนินงานในโครงการ กิจกรรมที่จัดทำผู้รับผิดชอบโครงการควรที่จะคำนึงถึงวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ประโยชน์ และความคุ้มค่าของโครงการ เพื่อให้กิจกรรมที่ทำเกิดประสิทธิภาพสูง มีประโยชน์และคุ้มค่าต่อกลุ่มเป้าหมายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

6. การจัดทำโครงการ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการควรที่จะมีการเขียนวัตถุประสงค์ในการจัดทำโครงการอย่างชัดเจน มีการกำหนดเป้าหมายของโครงการ มีการกำหนดตัวชี้วัดได้ถูกต้อง และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ มีการระบุกลุ่มเป้าหมายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างชัดเจน ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ แนวทางการปฏิบัติ ทั้งนี้ จำต้องมีวิธีการประเมิน ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ หลังจากดำเนินการเสร็จสิ้นควรมีการจัดทำรายงานสรุปการดำเนินโครงการเพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาโครงการต่อไป รวมถึงหากมีการเปลี่ยนแปลงผู้รับผิดชอบโครงการหรือมีการปรับเปลี่ยนฝ่ายในการรับผิดชอบจะมีฐานข้อมูลในการดำเนินการ เพื่อความต่อเนื่องในการพัฒนาและจัดทำโครงการต่อไป

7. การติดตามและประเมินผลโครงการทุกโครงการ ควรมีการมอบหมายหน้าที่การทำงานให้ชัดเจน มีการติดตามงานในทุกระยะในการดำเนินงาน รวมถึงการทำรายงานสรุปผลการปฏิบัติงานให้ทราบถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของโครงการ ข้อเสนอแนะ ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำโครงการ นำมาเป็นข้อมูลให้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดทำโครงการ หน่วยงานที่รับผิดชอบในการวิเคราะห์ และเพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณและการวางแผนการดำเนินโครงการเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดทำโครงการในครั้งต่อไป ซึ่งจะทำให้โครงการในครั้งต่อไปเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

8. การจัดทำรายงายสรุปของโครงการควรมีแบบฟอร์มเดียวกันทุกโครงการ เพื่อความสะดวกในการประเมินโครงการ และทำให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายโครงการในครั้งต่อไปทำความเข้าใจและสานต่อโครงการได้ง่ายขึ้น

คำสำคัญ : ความพึงพอใจ , ประสิทธิผล , ประสิทธิภาพ , บริการสาธารณะ
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title :
Abstract :
Keyword :
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 รองศาสตราจารย์ ดร.จำเนียร บุญมาก
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะบริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยหลัก
(2566)
50 ไม่ระบุ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฑาภรณ์ ชนะถาวร
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : วิทยาลัยพลังงานทดแทน
ผู้วิจัยร่วม
50 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2566
19/5/2566 ถึง 14/5/2567
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายนอกสถาบัน หน่วยงานให้ทุนวิจัย
องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน
250,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 250,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
วันที่ดำเนินการรายละเอียด
1 ตุลาคม 2566
ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์ : การพัฒนาสาธารณะ
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023