การส่งเสริมการตลาดและการพัฒนาโมเดลธุรกิจสินค้าชุมชนบ้านโป่งกุ่ม ตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.2-66-025
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การส่งเสริมการตลาดและการพัฒนาโมเดลธุรกิจสินค้าชุมชนบ้านโป่งกุ่ม ตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
บทคัดย่อ :

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาโมเดลธุรกิจและสร้างกลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดเพื่อใช้ในการแข่งขันของธุรกิจชุมชนบ้านโป่งกุ่ม การวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และเอกสารที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการพัฒนาโมเดลธุรกิจพบว่า (1) กลุ่มลูกค้าได้แก่กลุ่มนักท่องเที่ยวในอําเภอดอยสะเก็ดและอําเภอใกล้เคียง (2) คุณค่าที่โดดเด่น ได้แก่ สินค้าที่ผลิตมาจากวัตถุดิบภายของชุมชนที่ปลอดภัย (3) ช่องทาง ได้แก่ การเข้าถึงผ่านสื่อสังคมออนไลน์การขายผ่านหน้าร้าน และการร่วมงานโอทอป (4) การสร้างความสัมพันธ์ ได้แก่ การตลาดสายสัมพันธ์ การตลาดทางตรง การตลาดปากต่อปาก และการบริการลูกค้าด้วยตัวเอง (5) พันธมิตรหลัก ได้แก่ เครือข่ายการท่องเที่ยวในตําบลป่าเมี่ยง เทศบาลตําบลป่าเมี่ยง กลุ่มผู้ผลิตสินค้าชุมชนในตําบลป่าเมี่ยง และบริษัทขนส่งเอกชน (6) กิจกรรมหลัก ได้แก่ การผลิตสินค้า การจําหน่ายสินค้า การพัฒนาคุณภาพสินค้า และการสร้างแบรนด์ (7) ทรัพยากรหลัก ได้แก่ วัตถุดิบ แรงงาน เงินลงทุน และ สื่อการส่งเสริมการตลาด (8) โครงสร้างต้นทุน ได้แก่ ต้นทุนการผลิตประกอบด้วย วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงทางตรง และค่าใช้จ่ายในการผลิตและ (9) รายได้หลักมาจากการขายผ่านหน้าร้าน การขายออนไลน์ การขายในตลาดชุมชน และการร่วมงานแสดงสินค้า ส่วนผลการสร้างกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด พบว่า ชุมชนควรใช้การส่งเสริมการตลาดผ่านเครื่องมือหลัก 5 เครื่องมือ ประกอบด้วย 1) การโฆษณาที่สร้างเรื่องราวสินค้าชุมชนผ่านสื่อออนไลน์ เพื่อเพิ่มช่องทางเข้าถึงลูกค้าและเชื่อมโลกออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน 2) การตลาดทางตรงควรใช้การสื่อสาร ณ จุดขายด้วยการออกบูธร่วมงานแสดงสินค้าโอทอปเพื่อเข้าถึงลูกค้าศึกษาถึงการยอมรับของตลาดและการพบปะพันธมิตรการค้า 3) การส่งเสริมการขายควรใช้การลดราคา และให้ของแถมเพื่อแนะนําสินค้า และช่วยให้เกิดการทดลองซื้อมากขึ้น 4) การประชาสัมพันธ์ควรทําการตลาดเพื่อสังคมโดยเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนและ 5) การใช้พนักงานขายที่ควรให้บริการลูกค้าด้วยตนเองเพื่อการกระตุ้นการขายและให้ข้อมูลสินค้าด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส

คำสำคัญ : โมเดลธุรกิจ , กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด , บ้านโป่งกุ่ม
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title :
Abstract :

This research aimed to develop a business model and create marketing promotion strategies for the competitiveness of Ban Pong Kum community businesses.The research instrument consisted of in-depth interviews, group discussions, relevant documents, and data analysis using content analysis. The result of business model development was found that (1) Customer segments were tourists in Doi Saket District and neighboring districts (2) Value propositions were products made from safe local ingredients (3) Channels were accessed via social media, sales through the store, and joining OTOP fair (4) Customer relationships included customer relationship marketing, direct marketing, word of mouth, and customer service by yourself (5) Key partners were tourism networks in Pa Miang Subdistrict, Pa Miang Municipality, community product producers in Tambon Pa Miang, and private transport companies. (6) Key activities were the production of goods, distribution of goods, product quality development, and brand building. (7) Key resources included raw materials, labor, capital investment, and marketing promotion materials. (8) Cost structure was production costs, consisting of direct materials, direct labor, and manufacturing overhead. and (9) Revenue streams were from selling through community stores, online sales, sellingin the community market, and trade fairs participating. The marketing promotion strategies results indicated that the community should use marketing promotion through 5 main tools, consisting of 1) Advertising that creates storytelling through online media, increase channels, reach customers and connect the online and offline worlds together. 2) Direct marketing should use point of purchase (POP) by setting up a booth at the OTOP trade fair to reach customers and study the market acceptance. 3) Sales promotions should use discounts and free gifts to introduce community products that would create more product trials. 4) Public relations should use corporate social responsibility by participating in community activities, and 5) Personal selling to serve customers themselves to drive sales and provide product information with a smile manner.

Keyword : Business Model, Marketing Promotion strategy, Ban Pong Kum
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อายุส หยู่เย็น
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะบริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยหลัก
(2566)
60 ไม่ระบุ
2 น.ส.บุษบงค์ ฝั้นแจ้ง
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา สำนักงานคณบดีคณะบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยร่วม
40 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2566
1/10/2565 ถึง 30/9/2566
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
งบประมาณของหน่วยงาน
25,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 25,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
วันที่ดำเนินการรายละเอียด
1 กันยายน 2566
ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์ : เชิงพาณิชย์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023