การพัฒนารูปแบบการพยาบาลทางไกลของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.3-65-002
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : กำลังดำเนินการ
วันที่ดำเนินการ : 1 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 เมษายน 2566
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การพัฒนารูปแบบการพยาบาลทางไกลของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
บทคัดย่อ :

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพยาบาลทางไกลสำหรับผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development; R&D) โดยใช้แนวคิดการพยาบาลทางไกลร่วมกับการใช้กระบวนการพยาบาล (Nursing Process) งานวิจัยมี 2 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1) ศึกษาหลักการแนวคิด ความเป็นไปได้ในการใช้หลักการพยาบาลทางไกลและสำรวจสภาพปัญหาความต้องการของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังผ่านแบบสอบถามการพยาบาลทางไกล และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารและพยาบาลวิชาชีพที่ให้คำปรึกษาผ่านระบบการพยาบาลทางไกล เพื่อค้นหาความเป็นไปได้ในการจัดรูปแบบการพยาบาลทางไกลให้เหมาะสมกับบริบทสถานการณ์ที่เป็นจริง ระยะที่ 2) นำรูปแบบการพยาบาลทางไกลดังกล่าวมาศึกษาถึงประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลทางไกลในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยระเบียบวิธีวิจัยแบบกึ่งทดลอง (ระยะที่ 2 ยังไม่ได้สรุปผลในรายงานการวิจัยฉบับนี้)

ประชากรคือ ผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในอำเภอสันทราย จำนวน 32,880 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 397 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) ทําการศึกษาใน 12 หมู่บ้าน ในเทศบาลตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 10 คนและผู้อำนวยการโรงพยาบาลจำนวน 3 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ทำการศึกษาระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 ผลการศึกษาในระยะที่ 1 ผู้วิจัยศึกษาสภาพการณ?ปัญหาในการใช้บริการและความต้องการการใช้รูปแบบพยาบาลทางไกล ดังนี้ 1) ป?ญหาในการเดินทางมารับบริการ มีปัญหามาก (Mean = 3.50, SD=1.29) 2) ปัญหาการติดตามดูแลจากพยาบาลมีปัญหาปานกลาง (Mean = 2.56, SD=1.03) 3) ปัญหาในการได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลโรคเรื้อรัง มีปัญหาปานกลาง (Mean = 2.56, SD=1.02) 4) ปัญหาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารับการบริการ มีปัญหาปานกลาง (Mean = 2.87, SD=1.26) 5) ปัญหาในช่องทางการติดต่อสื่อสารกับพยาบาล มีปัญหาปานกลาง (Mean = 2.69, SD=1.12) ผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่เข้ารับการสัมภาษณ์ทั้ง 397 รายส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักความหมายของการพยาบาล ทางไกล คิดเป็นร้อยละ 86.1 และมีบางส่วนรู้จัก คิดเป็นร้อยละ 13.9 แต่เมื่อให้กลุ่มตัวอย่างอธิบายความหมายยังไม่สามารถอธิบายได้อย่างถูกต้อง กลุ่มตัวอย่างคิดว่าการใช้สมาร์ทโฟนเพื่อติดต่อสื่อสารกับพยาบาลมีความยุ่งยาก คิดเป็นร้อยละ 45.8 และคิดว่าไม่ยุ่งยาก ร้อยละ 54.2 และจากการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างในพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 10 รายและผู้บริหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดยโยบายจำนวน 3 ราย พบว่า 1) ด้านการให้บริการผ่านรูปแบบการพยาบาลทางไกล มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน แต่ควรมีรูปแบบที่ชัดเจน หรือจัดทำเป็นนโยบายให้แก่พยาบาล และควรมีภาระงานในการให้คำปรึกษาผ่านระบบออนไลน์ด้วย โดยเน้นกระบวนการพยาบาลตามแนวทางปฏิบัติของสภาการพยาบาลในเบื้องต้น 2) ด้านการรักษาความลับ ระหว่างการพยาบาลทางไกลต้องมีการรักษาความลับของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง ที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3) ด้านงบประมาณ ควรมีการจัดทำนโยบายที่ชัดเจนตั้งแต่ระบบโรงพยาบาลแม่ข่าย ลงมาถึงลูกข่าย ดังนั้น รูปแบบการพยาบาลทางไกลในผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย 1) ระบบการพยาบาลทางไกลในการดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง โดยมีโรงพยาบาลสันทรายเป็นแม่ข่าย 2) แอฟพลิเคชันไลน์ ในการกำกับติดตามให้การพยาบาลผู้สูงอายุโรคเรื้อรังตามกระบวนการพยาบาลทั้ง 5 ขั้นตอน 3) คู่มือการปฏิบัติการพยาบาลผ่านรูปแบบการพยาบาลทางไกลในผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง 4) โปรแกรมฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนทักษะสำหรับผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในการใช้รูปแบบการพยาบาลทางไกล

คำสำคัญ : รูปแบบการพยาบาลทางไกล ผู้สูงอายุ โรคเรื้อรัง
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Development of Tele-nursing Model of Chronic Disease Elders in Sansai district, Chiang-Mai Province.
Abstract :

This research aim to Development of Tele-nursing Model of Chronic Disease Elders in Sansai district, Chiang-Mai Province. This research was Research and Development; R&D This aim to Development of Tele-nursing Model of Chronic Disease Elders and used the concept of Tele-nursing with the nursing process in developing. This study composed of 2 phases. phase 1 study the concept of Tele-nursing, using the principles and exploring the problems and needs of the elderly with chronic diseases through the Tele-nursing questionnaire and in-depth interviews with executives and professional nurses who provide consultation via tele-nursing system. To explore the possibility of arranging a tele-nursing model to suit the context of the actual situation. phase 2 to study the effectiveness of the Tele-nursing Model in the elderly with chronic diseases on the quality of life of the elderly using quasi-experimental designed. (Phase 2 requesting research budget from the Association of Nurses on the Elderly Therefore, the results have not been summarized in this research report). The population is 32,880 elderly people with chronic diseases in San Sai District. The sample size total 397 people by simple random sampling. The study was conducted in 12 villages in Mae Faek Subdistrict Municipality, San Sai District, Chiang Mai Province. The samples were 10 professional nurses and 3 hospital directors who were Purposive sampling. The study was conducted between December 2022 and May 2023. Results: the first phase of the study, the researcher studied situation of problems in using the service and the need for using Tele-nursing Model as follows: 1) Travel Problems to Sub-District Health Promoting Hospital, There were very problems (Mean = 3.50, SD = 1.29) 2) The problems of follow-up care from nurses, There were moderate problems (Mean = 2.56, SD = 1.03) 3) The problems gaining knowledge about chronic disease care from nurses, There were moderate problems (Mean = 2.56, SD = 1.02) 4) Problems with travel expenses, There were moderate problems (Mean = 2.87, SD = 1.26). 5) Problems in communication channels with nurses, There were moderate problems (Mean = 2.69, SD = 1.12) 397 elderly people with chronic diseases were interviewed did not know the meaning of Tele- nursing, 86.1%. and some know 13.9 % but when asked to explain the meaning of the sample, still unable to explain correctly. The sample group thought that using smartphones to communicate with nurses was difficult. accounted for 45.8 % and thought it was not difficult 54.2 % and semi-structured in-depth interviews with 10 registered nurses and 3 executives involved in policy-making. it was found that 1) the provision of services through the form of Tele-nursing are suitable for the current situation But there should be a pattern. or make a policy for nurses and should have the workload of online counseling as well Emphasis is placed on the nursing process according to the nursing council. 2) Confidentiality During tele-nursing, the confidentiality of the elderly with chronic illnesses must be maintained. in accordance with the Personal Data Protection Act B.E. 2562 or related laws. 3) budget, a clear policy should be established starting from the host hospital system. down to the client. Therefore, the model of Tele-nursing in the elderly with chronic disease in San Sai District Chiang Mai Province consists of 1) Tele-nursing system for the care of the elderly with chronic illnesses with Sansai Hospital as a host 2) Line application in providing nursing care for the elderly with chronic diseases according to the 5-step nursing process 3) Handbook of nursing practice through a remote nursing model in the elderly with congenital disease. 4)A training program to enhance skills for the elderly with chronic diseases in using the remote nursing model.

Keyword : Tele-nursing Model, Elderly people, Chronic disease
รูปแบบงานวิจัย : งานวิจัยเชิงคุณภาพ
ประเภทงานวิจัย : การพัฒนาทดลอง
สาขางานวิจัย : สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : กิจกรรมด้านการวิจัย
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 อาจารย์เบญจมาศ ถาดแสง
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะพยาบาลศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2565)
50 นักวิจัยรุ่นใหม่
2 อาจารย์ ดร.ปิยะพันธุ์ นันตา
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะศิลปศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
20 นักวิจัยรุ่นเก่า
3 อาจารย์สุทธิลักษณ์ จันทะวัง
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะพยาบาลศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
10 นักวิจัยรุ่นเก่า
4 อาจารย์นภาพร วงศ์วิวัฒนนุกิจ
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะพยาบาลศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
10 นักวิจัยรุ่นเก่า
5 พว.เพลินจิต คำแสน
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : โรงพยาบาลสันทราย จ.เชียงใหม่
ผู้วิจัยร่วม
10 นักวิจัยรุ่นเก่า
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2565
1/5/2565 ถึง 30/4/2566
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ทุนนักวิจัยรุ่นใหม่
20,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 20,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
23 เมษายน 2567
วารสารที่ตีพิมพ์ : วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 
ฉบับที่ : ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 (2024): ( มกราคม - มีนาคม )
หน้า : 76-86
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
0.6
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023