ความสัมพันธ์ระหว่างความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลของประเทศไทยกับการใช้อินเทอร์เน็ตและการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.2-65-021
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : ความสัมพันธ์ระหว่างความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลของประเทศไทยกับการใช้อินเทอร์เน็ตและการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
บทคัดย่อ :

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันเรามากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามความเหลื่อมล้ำในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลนั้นยังคงปรากฏอยู่ในประเทศไทย พวกเราจึงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าการใช้อินเทอร์เน็ตและการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จะไม่สามารถทำได้หากความเหลื่อมล้ำยังคงปรากฏอยู่ ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลในประเทศไทยและเพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่ส่งผลกระทบของการใช้อินเทอร์เน็ตและการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ชาวไทยที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 55,789 คน งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่และร้อยละ เพื่อเป็นการอธิบายข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับตัวแปร การวิเคราะห์การสมนัยเชิงพหุ เพื่อใช้ในการลดมิติของตัวแปร และสถิติเชิงอ้างอิงได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลในประเทศไทยที่ส่งผลกระทบของการใช้อินเทอร์เน็ตและการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้แก่อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 นอกจากนี้ยังพบอีกว่าปัจจัยทางประชากรศาสตร์ส่งผลกระทบของการใช้อินเทอร์เน็ตและการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านอาชีพ โดยอาชีพที่แตกต่างกันมีผลต่อการใช้อินเทอร์เน็ตและการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และอายุผู้ที่มีอายุมากพบว่าใช้อินเทอร์เน็ตและการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์น้อยกว่าคนในช่วงอายุอื่นๆอันเป็นผลมาจากช่องว่างระหว่างวัย

ดังนั้นผลวิจัยชิ้นนี้ยืนยันความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลที่ยังคงปรากฏอยู่ย่อมส่งผลต่อการใช้อินเทอร์เน็ตและการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เมื่อบุคคลไม่สามารถใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลได้ กิจกรรมทางออนไลน์ต่างๆจะถือเป็นอันสิ้นสุด ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ภาครัฐและภาคเอกชนจะร่วมมือกันในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ และผู้ประกอบการควรมุ่งเน้นในการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดดิจิทัลเพื่อให้ผู้คนเกิดความเชื่อมั่นและหันมาใช้การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้มากขึ้น

คำสำคัญ : ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล , การใช้อินเทอร์เน็ต , การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : The relationship between the digital divide in Thailand on internet use and e-commerce
Abstract :

Digital technology has become more critical in our daily lives over the past few years. However, disparities in the use of digital technology still exist in Thailand. We cannot be denied that Internet use and e-commerce will not be possible to use if the inequality in digital technology persists. Therefore, this research aims to examine the determinants of the digital divide in Thailand and to study the demographic factors that affect Internet use and e-commerce.

The sample consisted of 55,789 Thais who have aged 15 years and over. Quantitative data was in this study. The statistics used in this study consisted of descriptive statistics, frequency, and percentage to explain basic information. The multiple correspondence analysis was used to reduce the dimension of the variable, and inferential statistics and linear regression were used to analyze the relationship between the variables.

The results revealed that the determinants of the digital divide in Thailand that had an impact on Internet use and e-commerce were the devices used to connect to the Internet, statistically significant at the 0.001 level. Moreover, the results also show that demographic factors affect Internet use and e-commerce, mainly employment status; the difference in employment status affects Internet use and e-commerce. According to the generation gap, the result also shows that older people were found to use the Internet and e-commerce less than other age groups.

Thus, this research confirms that the persisting digital divide affects Internet use and e-commerce. When people cannot use digital technology, all online activities will end. Therefore, it is essential that the public and private sectors need to collaborate to develop a digital technology infrastructure to make it accessible to all. The entrepreneurs should focus on developing digital marketing strategies to gain more confidence and engage customers in e-commerce.

Keyword : Digital divide, Internet use, E-commerce
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 อาจารย์ ดร.จักรพงษ์ สุขพันธ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะบริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยหลัก
(2565)
70 ไม่ระบุ
2 อาจารย์ ดร.ประภาพร กิจดำรงธรรม
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะบริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยร่วม
30 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2565
1/10/2564 ถึง 30/9/2565
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในหน่วยงาน
งบประมาณของหน่วยงาน
10,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 10,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
1 กรกฎาคม 2565
วารสารที่ตีพิมพ์ : Asian Review 
ฉบับที่ : 2
หน้า : 78-94
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร : สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
0.6
27 มิถุนายน 2567
วารสารที่ตีพิมพ์ : วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี 
ฉบับที่ : 11(1)
หน้า : 155-176
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
0.8
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023