การออกแบบกระบวนการที่เหมาะสมสำหรับงานฝากและถอนของกองทุนหมู่บ้านพระธาตุเจดีย์เพื่อรองรับการใช้ระบบสารสนเทศทางการเงิน

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.2-64-023
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การออกแบบกระบวนการที่เหมาะสมสำหรับงานฝากและถอนของกองทุนหมู่บ้านพระธาตุเจดีย์เพื่อรองรับการใช้ระบบสารสนเทศทางการเงิน
บทคัดย่อ :

ผลการศึกษาการออกแบบกระบวนการสำหรับงานฝาก-ถอนของกองทุนหมู่บ้านพระธาตุเจดีย์เพื่อรองรับการใช้ระบบสารสนเทศทางการเงิน ผลการสังเกตการณ์พบว่า ในขั้นตอนของกระบวนการรับฝาก ไม่มีการยืนยันความถูกต้องของข้อมูลที่สมบูรณ์ กล่าวคือผู้นำฝากส่วนมาก ไม่กรอกใบนำฝากซึ่งทางผู้ปฏิบัติติงานกองทุนฯ ได้เตรียมไว้แก้สมาชิก เพื่อที่จะใช้เป็นหลักฐานยืนยันกรณีเกิดข้อผิดพลาดในการบันทึกหรือการรับเงิน ซึ่งสอดคล้องกับผลการสัมภาษณ์ของฝั่งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติติงานนอกจากนี้ในกระบวนการกระทบยอด พบปัญหาการบวกเลขจำนวนหลายรายการผิดพลาด จากเหตุดังกล่าว ทางทีมวิจัยจึงได้ศึกษากระบวนการใหม่มาช่วยแก้ปัญหาข้างต้น ซึ่งกระบวนการดังกล่าวได้ผสมผสานการควบคุมภายในของระบบสถาบันการเงินประเภทธนาคารเทคโนโลยี รหัสแท่ง (BarCode)และบริบทของกองทุนหมู่บ้านโดยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1. ขั้นตอนการนำฝาก-ถอน 2. ขั้นตอนการตรวจนับเงินสด 3. ขั้นตอนการบันทึกบัญชี และ 4. ขั้นตอนการกระทบยอดบัญชี ณ สิ้นวัน โดยผลลัพธ์ที่ได้จากการปรับเปลี่ยนกระบวนการพบว่ากระบวนการใหม่สามารถช่วยลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้น และช่วยให้การปิดงบ ณ สิ้นวันได้ลงตัว

คำสำคัญ : การออกแบบระบบ , การออกแบบกระบวนการ , เทคโนโลยีสารสนเทศทางการเงิน , งานฝาก-ถอน , กองทุนหมู่บ้าน
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Designing an Appropriate Deposits Process for Phrathatchedi Village Fund To Support the use of financial information systems.
Abstract :

The study result, on the designing of process for deposit-withdrawal of the Phrathat Chedi Village base on financial information systems, showed that In the process of depositing, there is no complete confirmation of the correctness of the information. that is, most depositors do not fill in the deposit slip which the fund operator has been prepared for members in order to be used as evidence in the event of an error in recording or receiving money. This is consistent with the interview results of the operational staff. In addition, in the reconciliation process There was an error in adding multiple numbers. From that reason, the research team therefore studied a new process to solve the above problem. This process combines the internal control of the banking system, barcode technology and village fund context, It is divided into 4 steps: 1. Deposit-withdrawal process 2. Cash counting process. 3. Accounting process and 4. Account reconciliation process at the end of the day. The results of the process modification found that the new process can be reduced operation errors that occur and balancing statement at the end of the day perfectly.

Keyword : System design, Process design, Financial information technology, Deposit -Withdrawal, Village fund
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 อาจารย์ปัณณวัฒน์ วังอนุสรณ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะบริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยหลัก
(2564)
50 ไม่ระบุ
2 อาจารย์นนท์ ปิ่นเงิน
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะบริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยร่วม
(2564)
50 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2564
1/10/2563 ถึง 30/9/2564
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในหน่วยงาน
งบรายได้คณะบริหารธุรกิจ
25,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 25,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023